Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72129
Title: ตัวประกอบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลของรัฐ
Other Titles: Factor competencies of emergency department nurses, governmental hospitals
Authors: อรทัย ปึงวงศานุรักษ์
Advisors: พนิดา ดามาพงศ์
สุวิณี วิวัฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Panida.D@Chula.ac.th
suvinee_w@yahoo.com
Subjects: ผู้นำ
โรงพยาบาล -- บริการพยาบาลฉุกเฉิน
การดูแล
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวประกอบและตัวแปรที่อธิบายตัวประกอบสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ ที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 1031 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ประเมินระดับความสำคัญของรายการสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .9867 วิเคราะห์โดยการสะกัดตัวประกอบด้วยวิธี ตัวประกอบภาพพจน์ หมุนแกนตัวประกอบแบบออโธกอรนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ : สมรรถนะที่สำคัญตามการประเมินของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประกอบด้วย มีค่าความแปรปรวนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 56.0 ดังนี้ 1.ตัวประกอบด้านการประเมินอาการในภาวะฉุกเฉิน เป็นตัวประกอบสมรรถนะ ที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุดคือ ร้อยละ 39.5 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 29 ตัวแปร 2. ตัวประกอบด้านภาวะผู้นำ เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.4 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 16 ตัวแปร 3. ตัวประกอบด้านกฏหมาย จริยธรรม และการจัดการบริการฉุกเฉิน เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.8 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 20 ตัวแปร 4. ตัวประกอบด้านการปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉิน เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.6 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 21 ตัวแปร 5. ตัวประกอบด้านการปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉินในภาวะวิกฤติ เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 1.9 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 9 ตัวแปร 6. ตัวประกอบด้านการบริหารงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 1.6 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 6 ตัวแปร 7. ตัวประกอบด้านการวางแผนพยาบาลฉุกเฉิน เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 1.2 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบ 7 ตัวแปร 8. ตัวประกอบด้านวิชาการพยาบาลฉุกเฉิน เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 1.1 มีตัวแปรที่บรรยายตัวประกอบทั้งหมด 7 ตัวแปร 9. ตัวประกอบด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง เป็นตัวประกอบสมรรถนะที่สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 0.9 มีตัวแปรที่ช่วยบรรยายตัวประกอบ 3 ตัวแปร
Other Abstract: The purposes of this research were to study the factor competencies of emergency department nurses and the variables which described those major factors. The participants in this study were 1031 emergency department nurses. Governmental hospitals all over the country, who had been at least one year of experience. The instrument was a rating scale on frequencies of important competencies of emergency department nurses. The reliability of the instrument, calculated by the Cranach Alpha Coefficient was .9867. The data were analysed by Image Factoring method, Orthogonal rotated axis by Varimax method, Orthogonal rotated axis by Varimax method. The major findings were as follows: Nine significant factiors competencies of emergency nurses were determined: 1) Emergency Symptom Assessment, a major factor of emergency nurse’s competencies, which described by 29 items, items, accounted for 39.5 percent of total variances, 2) Leadership. Which described by 16 items, accounted for 4.4 percent of total variances, 3) Law, Ethics and Emergency Operation Management, which described by 20 items, accounted for 2.8 percent of total variances, 4) Emergency Nursing Practice, which described by 21 items, accounted for 206 percent of total variances, 5) Emergency Nursing in Critical III Patient, which described by 9 items, accounted for 1.9 percent of total variances, 6) Management in Emergency Department, which described by 6 items , accounted for 1.6 percent of total variances, 7) Planning in Emergency Nursing, which described by 7 items, accounted for 1.2 percent of total variances, 8) Academic in Emergency Nursing, which described by 7 items, accounted for 1.1 percent of total variances 9) Advanced Life Support, which described by 3 items, accounted for 0.9 percent of total variances. The total variance of these factors is 56.0 percent accumulative.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72129
ISBN: 9746386611
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orathai_pu_front_p.pdf728.61 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_pu_ch1_p.pdf521.09 kBAdobe PDFView/Open
Orathai_pu_ch2_p.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_pu_ch3_p.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_pu_ch4_p.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_pu_ch5_p.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Orathai_pu_back_p.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.