Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72137
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรี ขาวเธียร | - |
dc.contributor.advisor | บุญยง โล่ห์วงศ์วัฒน | - |
dc.contributor.author | อรรถพล เพ็ชรพลาย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-05T04:06:11Z | - |
dc.date.available | 2021-02-05T04:06:11Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746384295 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72137 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติของกากตะกอนน้ำมันดิบและขี้เถ้าซึ่งเกิดจากเผากากตะกอนน้ำมันดิบที่อุณำหภูมิ 400⁰ ซ 800⁰ ซ และ 1,200⁰ ซ จากนั้นทำการศึกษาหาวัสดุประสานที่เหาะสมที่สุดในการทำเสถียรกากตะกอนน้ำมันดิบและขี้เถ้าหลังการเผาให้เป็นก้อนแข็ง รวมทั้งประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการกำจัดกากตะกอนน้ำมันดิบด้วยวิธีการดังกล่าว กากตตะกอนน้ำมันดิบที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากการตะกอนที่สะสมอยู่ภายในถังเก็บกักน้ำมันดิบเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีกากตะกอนน้ำมันดิบนี้เกิดขึ้นมากกว่า 5 ล้านลิตรต่อปี วัสดุประสานที่ใช้คือ ปูนซิเมนต์ ,ปูนขาวดิบและปูนขาวดิบผสมปูนซิเมนต์ (1:1 โดยน้ำหนัก) จากการทดสอบหาสมบัติของกากตะกอนน้ำมันดิบและขี้เถ้า โดยใข้วิธีการสกัดสารของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนัก 5 ชนิด คือ อาร์เซนิค, แคดเมีนม, ปรอทและตะกั่ว ในน้ำชะละลาย พบว่า กากตะกอนน้ำมันดิบมีปริมาณมาร์เซนิค น้อยกว่า 0.01 มก./ล, ปรอท 10.95 มก/ล, และตะกั่ว 10.28 มก./ล ขี้เถ้าหลังการเผาที่อุณหภูมิ 400⁰ซ. มีปริมาณอาร์เซนิคน้อยกว่า 0.01 มก./ล. แคดเมียม น้อยกว่า 0.2 มก./ล., ปรอท 0.16 มก./ล. และตะกั่ว 6.20 มก./ล. ขี้เถ้าหลังการเผาที่อุณหภูมิ 800⁰ ซ. มีปริมาณอาร์เซนิค น้อยกว่า 0.01 มก./ล., แคดเมียม 1.82 มก.ล.,โครเมียม น้อยกว่า 0.01 มก./ล., แคดเมียม 11.42 มก./ล., โครเมียม น้อยกว่า 0.2 มก.ล., ปรอท 0.01 มก./ล., และตะกั่ว 2.80 มก./ล., แต่เกณฑ์ค่ามาตรฐานปริมาณโลหะหนักในน้ำชะละลายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดให้มีปริมาณอาร์เซนิคไม่เกิน 5 มก./ล., แคดเมียม ไม่เกิน 1 มก./ล., โครเมียม ไม่เกิน 5 มก./ล., ปรอท ไม่เกิน 0.2 มก./ล., และตะกั่ว ไม่เกิน 5 มก./ล., จากผลการทดสอบจะเห็นว่า ค่าโลหะหนักบางชนิดมีค่าเกินค่ามาตรฐาน ดังนั้น กากตะกอนน้ำมันดิบและขี้เถ้าที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 400⁰ ซ 800⁰ซ และ 1,200⁰ ซ. จัดเป็นของเสียอันตรายชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการบำบัดก่อนนำไปกำจัดด้วยวิธีที่ได้มาตรฐานต่อไป ผลจากการทดสอบหาชนิดและสัดส่วนผสมของวัสดุประสานเบื้องต้น พบว่า ปูนซีเมนต์ เป็นวัสดุประสานที่เหมาะสมที่ทำให้แข็งของขี้เถ้าหลังการเผาที่อุณหภูมิ 400⁰ ซ 800⁰ ซ และ 1,200⁰ ซ. ผ่านเกณฑ์ทดสอบกำลังรับแรงอัด (14 กก./ตร.ซม.) และผ่านเกณฑ์มาตรฐานโลหะหนักในน้ำชะละลาย โดยมีสัดส่วนผสมของปูนซิเมนต์ต่อขี้เถ้าในอัตราร้อยละ 50, 40 และ 20 ตามลำดับ ส่วนกากตะกอนน้ำมันดิบทีนำมาทดสอบผสมกับวัสดุประสานทั้ง 3 ชนิด พบว่า ปูนซิเมนต์และปูนขาวผสดปูนซิเมนต์ที่อัตราส่วนผสมต่อน้ำหนักกากตะกอนน้ำมันดิบ เท่ากับร้อยละ 110 และ 140 สามารถทำให้ก้อนแข็งที่ได้ผ่านเกณฑ์ทดสอบกำลังรับแรงอัด (14 กก./ตร.ซม.) ได้ แต่ในการทดสอบความเข้มข้นของโลหะหนักในน้ำชะละลายกลับไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผลการทดสอบหาสัดส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดพบว่า ที่สัดส่วนผสมปูนซีเมนต์ต่อขี้เถ้าเท่ากับร้อยละ 44, 34 และ 16 โดย น้ำหนัก สามารถทำให้ก้อนตัวอย่างของขี้เถ้าหลังการเผาที่อุณหภูมิ 400⁰ ซ 800⁰ ซ และ 1,200⁰ ซ. ผ่านเกณฑ์การทดสอบกำลังรับแรงอัด (14 กก./ตร.ซม.) และเกณฑ์การทดสอบโลหะหนักในน้ำชะละลายตามมาตรฐานกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้โดยมีค่าใช้จ่ายเบื้องต้นตั้งแต่ขั้นตอนขนส่งกากตะกอนน้ำมันดิบจากโรงกลั่นไปเผา ขั้นตอนการทำเสถียรโดยการทำให้เป็นก้อนแข็งจนถึงขั้นคอนการขนส่งก้อนแข็งไปฝังกลรบเท่ากับ 5,182 บาท, 5,621 บาท และ 6,790 บาท ต่อน้ำหนักหนึ่งตัน กากตะกอนน้ำมันดิบสำหรับอุณหภูมิเผาที่ 400⁰ ซ 800⁰ ซ และ 1,200⁰ ซ. ตามลำดับ จากผลการวิจัยประกอบกับการพิจารณาค่าใช้จ่ายในการบำบัดและกำจัดกากตะกอนน้ำมันดิบตั้งแต่จนถึงขั้นสุดท้ายพบว่า วิธีการบำบัดและกำจัดกากตะกอนน้ำมันดิบที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม และประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด คือ การนำกากตะกอนน้ำมันดิบมาเผาที่อุณหภูมิ 400⁰ ซ. และทำให้เป็นก้อนแข็งโดยใช้ปูน ซีเมนต์เป็นวัสดุประสานให้อัตราส่วนร้อยละ 44 ต่อน้ำหนนักขี้เถ้าก่อนที่จะนำไปฝังกลบในหลุมฝังกลบที่ได้มาตรฐานต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research was made to study the qualities of crude mud and ash Incinerated at different temperatures of 400⁰ c, 800⁰ c , and 1,200⁰ c The determination of best kind of binders for the stabilization and solidifications of crude oil mud and the Incinerated ash were also carried out. The crude oil mud using in the study was collected from the bottom of a crude oil tank at about 5 years fo accumulation and estimated that the amount of crude oil mud generated would Increase to over 5 million liters a year. The binders used in this study were Portland cement , lime , and a mixture of lime and Portland cement at a ratio of1:1 by weight. The muds and incinerated ashes, after leaching be the Department of Industrial Works’s method showed that the mud had arsenic less than 0.01 mg/I., cadmium 2.64 mg/l., chromium 4.80 mg./l., mercury 10.95 mg./l., and lead 10.28 mg./l.: the incinerated ash at 400⁰ c had arsenic less than 0.01 mg./l., cadmium 2.20 mg./l., chromium less than 0.2 mg./l., mercury 0.16 mg./l., and lead 6.20 mg./l., : the incinerated ash at 800⁰ c .had arsenic less than 0.01 mg./l., cadmium 1.83 mg./l., chromium less than 0.2 mg./l., mercury 0.14 mg./l., and lead 3.40 mg./l.; and the incinerated ash at 1,200⁰ c Han arsenic less than 0.01 mg./l., 1.42 mg./l., chromium . less than 0.2 mg./l., mercury 0.10 mg./l., and 2.8 mg./l. According to the heavy metais standard in leaching solution of the Department of industrial Works. Arsenic, cadmium, chromium, mercury and lead should not be more than 5 mg./l., 1 mg./l., 5 mg./l., 0.2 mg./l., and 5 mg./l. respectively, and from the leachability test, some heavy metal contents exceeded the standard. Therefore. These crude oil mud and the incinerated ash are classified as hazardous wastes which should be treated before burying them in secure landfill. The result of the tests indicated that portland cement was a suitabie binder for ash incinerated at 400⁰ c, 800⁰ c , 1,200⁰ c and the proportions of portiand cement to ash were found to be 50, 40, and 20 percent by weight respectively, and they could pass both the compressive strength (14kg./sq.cm.) and the content of heavy metais in leaching solution standards. For the crude oil mud, with three types of binders, it showed that only the crude oil mud mixed with Portland cement, and with lime and portiand cement (1:1 by weight) at 110 and 140 percent respectively could pass the compressive strength tests (14 kg./sq.cm.). but for the heavy metals in leaching solution, they did not meet the Department of lndustrial Works. In the optimization tests, the best proportions of portiand cement to ash in this experiment were 44 percent ; 34 percent and 16 percent for ash Incinerated at 400⁰ c , 800⁰ c, and 1,200⁰ crespectively, and all of them could pass both the compressive strength (14 kg./sq.cm.).and the heavy metais standards. The costs for transportation, incineration, solidification and disposal were estimated at about 5,182 , 5,621 and 6,790 Baht per ton of crude oil mud bincinerated at 400⁰ c , 80 ⁰ c and 1,200⁰ c Respectively. When taking the result of this research and the final disposal costs into considerations, the mo9st suitable and economical process was a mixing of incinerated ash of 400⁰ c with Portland cement as a binder and at the ratio of 44 percent by weight of Portland cerment to ash before burying them in landfill. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรงงาน -- การกำจัดของเสีย | - |
dc.subject | กากตะกอนน้ำเสีย | - |
dc.subject | Factories -- Waste disposal | - |
dc.subject | Sewage sludge | - |
dc.title | การทำเสถียรกากตะกอนน้ำมันดิบด้วยวิธีการเผาแล้วทำให้เป็นก้อนแข็ง | en_US |
dc.title.alternative | Stabilization of crude oil mud by incineration and solidification | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Athapol_pe_front_p.pdf | หน้าปก และ บทคัดย่อ | 962.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
Athapol_pe_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 304.55 kB | Adobe PDF | View/Open |
Athapol_pe_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 215.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
Athapol_pe_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Athapol_pe_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Athapol_pe_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 3.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Athapol_pe_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 310.64 kB | Adobe PDF | View/Open |
Athapol_pe_ch7_p.pdf | บทที่ 7 | 201.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Athapol_pe_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 7.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.