Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72178
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธงชัย พรรณสวัสดิ์-
dc.contributor.authorอภิรดี ดวงใจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-02-08T07:46:33Z-
dc.date.available2021-02-08T07:46:33Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741305303-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72178-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractการศึกษาผลของอุณหภูมิและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มีต่อการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพในช่วงเมโสฟิลิกด้วยกระบวนการเอสบีอาร์แบบแอนแอโรปีก/แอโรบิกนี้ ประกอบด้วยการทดลอง 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสที่อุณหภูมิคงที่ที่ 20, 25, 30, 32.5 และ 35° ซ. ส่วนที่สองเป็นการศึกษาผลของการเพิ่มและลดอุณหภูมิทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปและแบบเฉียบพลันที่มีต่อการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าซีโอดี 300 มก./ล. และค่าฟอสฟอรัส 15 มก./ล ในโตรเจนที่เติมเขาระบบมีปริมาณสูงกว่าความต้องการ ของเซลล์ประมาณ 2-4 มก./ล. ถังปฏิกรณ์ที่ใช้เป็นแบบเอสปีอาร์ขนาด 16.8 ลิตรซึ่งควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติโดยมีอัตราส่วนน้ำที่เติม (Vf) ต่อน้ำค้างถัง (V0) เท่ากับ 2:1 วัฏจักรการทำงานที่ใช้เท่ากับ 12 ชม. ประกอบด้วยขั้นตอนแอนแอโรบิก 4 ชม. 50 นาทีขั้นตอนแอโรปีก 6 ชม. ตกตะกอน 1 ชม. และระบายน้ำใสออก 10 นาที เดินระบบที่ค่าอายุสลัดจ์ประมาณ 10 วันโดยระบายสลัดจ์ออกที่ปลายขั้นตอนแอโรบิก การทดลองส่วนแรกพบว่าที่อุณหภูมิตํ่าระบบสามารถกำจัดฟอสฟอรัสได้ดกว่า และมิค่าลัดส่วนฟอสฟอรัสในสลัดจ์สูงกว่าที่อุณหภูมิสูง กล่าวคือที่อุณหภูมิ 20, 25, 30, 32.5 และ 35°ซ.ประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสเท่ากับร้อยละ 97, 58, 40, 28 และ 20 ตามลำดับ และค่าลัดส่วนฟอสฟอรัสในเซลล์เท่ากับร้อยละ 14.8, 10.4, 8.2, 6.2 และ 3.4 ของน้ำหนักเซลล์แห้งตามลำดับ สัดส่วนฟอสฟอรัสในเชลล์ที่อุณหภูมิตํ่ามีค่ามากกว่าที่อุณหภูมิสูงแสดงว่าพีเอโอ (phosphoms accumulating organisms, PAOs) สามารถทำงานได้ดีและจับใช้ฟอสฟอรัสสะสมไว้ในเซลล์ได้มาก ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีกรองของระบบเท่ากับร้อยละ 98, 97, 99, 93 และ 91 ตามลำดับ ที่อุณหภูมิ 20-30°ซ.การกำจัดชีโอดีกรองส่วนใหญ่เกิดขึ้นในขั้นตอนแอนแอโรบิก ส่วนที่อุณหภูมิ 35°ซ. เกิดขึ้นในขั้นตอนแอโรบิก ปริมาณเอ็มแอลเอสเอสและเอ็มแอลวีเอสเอสมีค่าลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยมีค่าเท่ากับ 2003, 1658, 1210, 1043 และ 783 มก./ล. และ 1281, 1266, 957, 853 และ 640 มก./ล. ตามลำดับ ที่อุณหภูมิสูงสลัดจ์ตกตะกอนได้ไม่ดีโดยค่าเอสวีไอที่สถานะคงตัวมีค่าเท่ากับ 50, 36, 52, 166 และ 260 มล./ก. ตามลำดับ การทดลองส่วนที่สองพบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิของระบบแบบเฉียบพลัน (ช่วง 20-35°ซ.) ประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสของระบบลดลง โดยระบบยังสามารถกำจัดฟอสฟอรัสได้เมื่ออุณหภูมิของระบบเพิ่มขึ้นรวมไม่เกิน 10° ซ. เมื่ออุณหภูมิเพิ่มถึง 35°ซ. ระบบไม่สามารถกำจัดฟอสฟอรัสใต้อีกต่อไป การเพิ่มอุณหภูมิของระบบแบบค่อยเป็นค่อยไปในช่วง 25-35° ซ. พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสของระบบลดลงเช่นกัน แต่พีเอโอสามารถปรับตัวกับการเพิ่มอุณหภูมิแบบนี้ได้โดยที่ 35°ซ.ระบบยังคงกำจัดฟอสฟอรัสได้อยู่อย่างน้อยก็ในช่วงสั้น ๆ ในการลดอุณหภูมิของระบบแบบค่อยเป็นค่อยไป (ช่วง 30-20°ซ.) พบว่าประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสของระบบเพิ่มขึ้นแต่ไม่มากนัก ส่วนการลดอุณหภูมิแบบเฉียบพลัน(ช่วง 35-20°ซ.) พบว่าพีเอโอสามารถปรับตัวกับการลดอุณหภูมิแบบเฉียบพลันได้โดยมี การปลดปล่อยและจับใช้ฟอสฟอรัสสูงขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeTwo experimental set-ups were investigated to study the effects of temperature and its changes in the mesophilic range on biological phosphorus removal. Two automatic temperature-controlled SBR reactors of 16.8 I capacity with Vf:V0 ratio of 2:1 were run as the anaerobic/aerobic process. The 12 hours cycle time consisted of 290 minutes anaerobic phase, 360 minutes aerobic phase, 60 minutes sedimentation and 10 minute withdrawal phase. A 11.2 I. synthetic wastewater which had 300 mg/l COD and 15 mg/l p was fed to the system in the first 5 minutes of anaerobic phase. Excess sludge was withdrawn at the end of aerobic condition to get an approximate 10 days SRT. The first experiment, consisting of 5 runs, revealed that phosphorus removal efficiency decreased at higher temperature. At the 20, 25, 30, 32.5 and 35℃ steady state conditions, the 97, 58, 40, 28 and 20 % of P removal efficiency and 14.8, 10.4, 8.2, 6.2 and 3.4 % of P content in MLVSS were found, respectively. This showed that PAOs proliferated better at lower temperature. The COD removal efficiencies were 98, 97, 99, 93 and 91 %, respectively. At 20-30℃, COD was mainly removed in anaerobic phase, whereas at 3 5℃ large portion of COD was removed in aerobic phase. MLSS and MLVSS at the said temperatures were 2003, 1658, 1210, 1040 and 783 mg/l. and 1281, 1266, 957, 853 and 640 mg/l, respectively. It was also observed that the temperature affected the sludge settleability as well, which can be shown by the SVI of 50, 36, 52,166 and 260 ml/g, respectively. After the first experiment or the steady state study at the said temperatures, four subsequent experiments, i.e. sudden(shock) increase, gradual increase, gradual decrease and sudden(shock) decrease of temperature, were studied. In the temperature-shock experiments (in the range of 20-35℃) , the temperature was changed by 5℃ at a time and maintained at such value for 10 cycles before moving to the next 5℃ higher/lower level. For the gradually temperature-changing pattern, the temperature was changed 1℃ a day. It was found that the p removal efficiency decreased when the temperature increased, and p removal was not found when the temperature was suddenly raised from 30℃ to 35℃. The removal efficiency of p slightly increased when the temperature decreased by 1℃ a day. It was also found that PAOs could acclimatize to sudden drop of temperature, resulting in higher P-release and P-uptake, especially at 20℃en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดฟอสฟอรัสen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการเอสบีอาร์en_US
dc.titleผลของอุณหภูมิและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ที่มีต่อการกำจัดฟอสฟอรัสทางชีวภาพ ในช่วงอุณหภูมิเมโสฟิลิกen_US
dc.title.alternativeEffects of temperature and its changes on biological phosphorus removal in mesophilic rangeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apiradee_do_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ884.05 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_do_ch1_p.pdfบทที่ 1653.66 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_do_ch2_p.pdfบทที่ 21.34 MBAdobe PDFView/Open
Apiradee_do_ch3_p.pdfบทที่ 31.1 MBAdobe PDFView/Open
Apiradee_do_ch4_p.pdfบทที่ 44.9 MBAdobe PDFView/Open
Apiradee_do_ch5_p.pdfบทที่ 5661.27 kBAdobe PDFView/Open
Apiradee_do_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.