Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72196
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพูนสุข บุณย์สวัสดิ์-
dc.contributor.authorสุภรณ์เพ็ญ พันธุ์มณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-02-09T12:49:21Z-
dc.date.available2021-02-09T12:49:21Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743462791-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72196-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสอนพยัญชนะอักษรเบรลล์สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาล โดยใช้แนวคิด พหุปัญญา ประชากร คือ นักเรียนตาบอดเนอนุบาล 3 โรงเรียนการศึกษาคนตาบอด เลือกตัวอย่างประชากรตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนด 16 คน นักเรียนโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดนครราชสีมาจำนวน 8 คนเป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น จำนวน 8 คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาล และ แบบบันทึกพัฒนาการความสามารถในการเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์ มีขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมฯ ดังนี้ ขั้นที่ 1 สร้างโปรแกรมการสอนพยัญชนะอักษรเบรลล์สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดพหุปัญญา ขั้นที่ 2 ทดลองใช้โปรแกรมการสอนพยัญชนะอักษรเบรลล์สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดพหุปัญญา ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลจากผลการวิจัย ขั้นที่ 4 ปรับปรุงโปรแกรมการสอนพยัญชนะอักษรเบรลล์สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดพหุปัญญา ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลเป็นเวลา 14 สัปดาห์ แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การทดสอบก่อนทดลองใช้โปรแกรมฯ 2 สัปดาห์ ระยะที่ 2 การทดลองใช้โปรแกรมฯ 10 สัปดาห์ซึ่งแบ่งกิจกรรมเป็น 3 ช่วงช่วงแรก แนะนำกิจกรรมการลอนพยัญชนะอักษรเบรลล์ตามแนวคิดพหุปัญญ า ช่วงที่ 2 สอนพยัญชนะอักษรเบรลล์พื้นฐาน 28 ตัวอักษร และ ช่วงที่ 3 ทบทวนพยัญชนะอักษรเบรลล์พื้นฐานทั้ง 28 ตัวอักษร ส่วนระยะที่ 3 การทดสอบหลังทดลองใช้โปรแกรมฯ 2 สัปดาห์ การทดสอบก่อนและหลังใช้โปรแกรมฯ ได้ใช้แบบทดสอบวัความสามารถในการเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยมีดังนี้ 1 ) ก่อนการทดลองใช้โปรแกรมฯ นักเรียนตาบอดกลุ่มควบคุม และ กลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .01 2) หลังการทดลองใช้โปรแกรมฯ นักเรียนตาบอดกลุ่มทดลอง มีความสามารถในการเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3) หลังทดลองใช้โปรแกรมฯ นักเรียนตาบอดกลุ่มทดลองมีความสามารถในการเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์สูงกว่าก่อนทดลองใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4) หลังการใช้โปรแกรมปกติ นักเรียนตาบอดกลุ่มควบคุมมีความสามารถในการเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์สูงกว่าก่อนทดลองใช้โปรแกรมปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และโปรแกรมการสอนพยัญชนะอักษรเบรลล์สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาลที่ได้ปรับปรุงแล้ว เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์ สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาล สาระสำคัญในโปรแกรมฯ ประกอบด้วย ความเชื่อพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ ผู้ใช้โปรแกรมฯ และกลุ่มเป้าหมาย โครงสร้างและลักษณะของโปรแกรมฯ และเอกสาร สื่อของโปรแกรมฯ ซึ่งได้แก่ 1) คู่มือการใช้โปรแกรมฯ จำนวน 1 เล่ม 2) แผนการจัดกิจกรรม จำนวน 10 หน่วย และ 3) สื่อของโปรแกรมฯ ได้แก่ แผนผังการเต้นรำฯ แผ่นจำลองแบบตีนตุ๊กแกฯ คีบอร์ด หรือ เปียโน เป็นต้น 4) เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ คือ แบบประเมินความสามารถในการเขียนอ่านพยัญชนะอักษรเบรลล์สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาล และ แฟ้มรวบรวมหลักฐานและผลงานของนักเรียนแต่ละคนen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research used multiple intelligence approach to develop a teaching braille consonants program. The 16 blind preschoolers selected by researcher’rules. Eight blind preschoolers from Nakomratchasima Blind School was the experiment group and 8 preschoolers from Konkaeng Blind School was control group. The method of study consisted of 4 phases namely, studying preliminary information, constructing the program, field testing and revising the program. The duration of field testing was 14 weeks, 2 weeks for pre-testing, 10 week for teaching 28 braille consonants used multiple intelligence activities and 2 week for post-testing. The pretesting and post-testing were measured writing and reading braille consonants skills for blind preschoolers constructed by the researcher. The research results were as follows : 1) Before used a program, the scores on writing and reading braille consonants skills were significantly similar between the experimental group and control group at .01 level. 2) After used a program, the scores on writing and reading braille consonants skills of the experimental group were significantly higher than control group at 0.1 level 3) In experimental group, the scores on writing and reading braille consonants skills after used program were significantly higher before used program at .01 level. 4) In Control group, the scores on writing and reading braille consonants skills after used program were significantly higher than before used program at .01 level. The revised teaching braille consonants program was the guideline for organizing integrated in teaching braille consonants classroom. The content of program consisted of underline theoretical approach, principles, objective, roles and responsibilities of the program user and the students, program structure and features and program materials which were 1) Teacher’s handbook for implement the program 2) Activities Plan : 10 unit 3) Tools of program ; Dancing mapping, Model of braille dot stick and keybord or piano 4) Tools of instructional evaluation ;a form for evaluating writing and reading braille consonants skills, a file for collecting evidences of instructional activities and products of each individual student.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเด็กตาบอดen_US
dc.subjectหนังสือเบรลล์en_US
dc.subjectพหุปัญญาen_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการสอนพยัญชนะอักษรเบรลล์ สำหรับเด็กตาบอดวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดพหุปัญญาen_US
dc.title.alternativeA development of a program on teaching braille consonants for blind preschoolers using multiple intelligences approachen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suponpen_pu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ850.66 kBAdobe PDFView/Open
Suponpen_pu_ch1_p.pdfบทที่ 1966.61 kBAdobe PDFView/Open
Suponpen_pu_ch2_p.pdfบทที่ 21.57 MBAdobe PDFView/Open
Suponpen_pu_ch3_p.pdfบทที่ 31.14 MBAdobe PDFView/Open
Suponpen_pu_ch4_p.pdfบทที่ 41.79 MBAdobe PDFView/Open
Suponpen_pu_ch5_p.pdfบทที่ 5901.36 kBAdobe PDFView/Open
Suponpen_pu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.