Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72259
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาดา บวรกิติวงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | ทรงศิริ แต้สมบัติ | - |
dc.contributor.author | เอกภพ ยานะวิมุติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-11T12:06:52Z | - |
dc.date.available | 2021-02-11T12:06:52Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743466797 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72259 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนระหว่างวิธีบ๊อกซ์และเจนกิ้นส์ที่ใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้างกับวิธีบ๊อกซ์และเจนกิ้นส์ที่ใช้ตัวบ่งชี้นำ ในกาพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาทางการศึกษาที่ไม่คงที่ โดยพยากรณ์ล่วงหน้า 5 ช่วงเวลา และตรวจสอบผลการพยากรณ์โดยใช้ค่าวัดความถูกต้องของการพยากรณ์ 6 ค่า ได้แก่ RMSE, MAPE, MdAPE, MdRAE, GMRAE และ Percent Better เป็นเกณฑ์ ฐานข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ฐานข้อมูลของบำเพ็ญ ปิดชิด (2540) และเก็บรวบรวมเพิ่มเติมจากบันทึกสถิติ เป็นชุดของข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน 4 ชุดที่มีลักษณะที่ไม่คงที่ ได้แก่ ปริมาณการยืมหนังสือ ทั่วไป หนังสือสำรอง วิทยานิพนธ์ และผู้เข้าใช้บริการ จำนวน 90, 48, 90 และ 90 ช่วงเวลา ตามลำดับ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่แสดงแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤดูกาลด้วยกราฟและการวิเคราะห์การถดถอย การพยากรณ์ด้วยการวิเคราะห์อนุกรมเวลาวิธีบ๊อกซ์และเจนกิ้นส์ที่ใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง วิธีบ๊อกซ์และเจนกิ้นส์ที่ใช้ตัวบ่งชี้นำและวิธีบ๊อกซ์และเจนกิ้นส์ และตรวจสอบผลการพยากรณ์แต่ละวิธีด้วยค่าวัดความถูกต้องของการพยากรณ์ 6 ค่า ผลจากการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณการยืมหนังสือทั่วไปมีแนวโน้มแบบควอดราติก และมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤดูกาล อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการรวมโมเดลแบบบวก ปริมาณการยืมหนังสือสำรองมีแนวโน้มแบบเส้นตรงและมีการ เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤดูกาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีการรวมโมเดลแบบบวก ปริมาณการยืมวิทยานิพนธ์ และ ผู้เข้าใช้บริการมีแนวโน้มแบบควอดราติก และมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤดูกาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการ รวมโมเดลแบบคูณ 2. ผลการวิเคราะห์อนุกรมเวลาปริมาณการยืมสิ่งพิมพ์ พบว่าโมเดลที่เหมาะสมกับข้อมูลปริมาณการยืมหนังสือทั่วไป คือ IMA(2,1)xSARI(1,1)12 ค่าพยากรณ์ในเดือนธันวาคม 2542 ถึงเดือนเมษายน 2543 ได้ค่าพยากรณ์ดังนี้ 7,105, 8,020, 8,903, 4,906 และ 5,364 เล่ม ตามลำดับ โมเดลที่เหมาะสมกับข้อมูลปริมาณการยืมหนังสือสำรอง คือ ARI(1,1)xSARI(1,1)12 ค่าพยากรณ์ในเดือน มิถุนายน 2539 ถึงเดือนตุลาคม 2539 ได้ค่าพยากรณ์ตังนี้ 169, 335, 410, 264 และ 162 เล่ม ตามลำดับ โมเดลที่เหมาะสมกับข้อมูลปริมาณการยืมวิทยานิพนธ์ คือ ARI(2,2)xSARI(1,1)12 ค่าพยากรณ์ในเดือนธันวาคม 2542 ถึงเดือนเมษายน 2543 ได้ค่าพยากรณ์ดังนี้8,871, 9,445, 9,989, 10,281 และ 9,240 เล่ม ตามลำดับ 3. ผลการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณการยืมหนังสือทั่วไป และหนังสือสำรองด้วยวิธีบ๊อกซ์และเจนกิ้นส์ และผลการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลาปริมาณการยืมวิทยานิพนธ์ด้วยวิธีบ๊อกซ์และเจนกิ้นส์ที่ใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง มีขนาดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aimed at comparison of errors between Box-Jenkins using structural equation model method and Box-Jenkins using leading indicator method in forecasting educational time series data with nonstationary in 5 lead times forecasting, and at checking the forecasting results using 6 corrected measures of forecasting; RMSE, MAPE, MdAPE, MdRAE, GMFtAE and Percent Better as criteria. Data base used in this study was Bumpen Pidchid’s, and the researcher collected the more up to date data from the Educational Information Center, Faculty of Education, Chulalongkorn University. The research instrument was data recording form. The data were analyzed using graph and regression analysis to check for secular trends and seasonal variations, then applying Box-Jenkins using structural equation model, Box-Jenkins using leading indicator, and Box-Jenkins methods to forecast and check for 6 errors. The research findings were as follows : 1. General books in circulation showed quadratic trend and seasonal variation at .05 significance level, and the integrated model was additive. Reserved books in circulation showed linear trend and seasonal variation at .01 significance level, and the integrated model was additive. Theses in circulation and visitors showed quadratic trend and seasonal variation at .05 significance level, and the integrated model was multiplicative. 2. The results of three data sets showed that the appropriate model for general books in circulation was IMA(2,1)xSARI(1,1)12, and forecasted values in December 2542 to April 2543 would be 7,105, 8,020, 8,903, 4,906 and 5,364, respectively. The appropriate model for reserved books in circulation was ARI(1,1)xSARI(1,1)l2, and forecasted values in June 2539 to October 2539 would be 169, 335, 410, 264 and 162, respectively. The appropriate model for theses in circulation was ARI(2,2)xSARI(1,1)12, and forecast values in December 2542 to April 2543 would be 8,871, 9,445, 9,989, 10,281 and 9,240, respectively. 3. The forecasting results from Box-Jenkins method used in forecasting general books and reserved books in circulation and the Box-Jenkins using structural equation model method used เท forecasting theses in circulation had the least error. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พยากรณ์ | en_US |
dc.subject | พยากรณ์แบบบอกซ์-เจนกินส์ | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน (คณิตศาสตร์) | en_US |
dc.title | การเปรียบเทียบความคาดเคลื่อนในการพยากรณ์ ข้อมูลอนุกรมเวลาทางการศึกษาที่ไม่คงที่ ระหว่างเทคนิคบ๊อกซ์และเจนกิ้นส์ ที่ใช้โมเดลสมการเชิงโครงสร้างและตัวบ่งชี้นำ | en_US |
dc.title.alternative | A comparison of errors in forecasting educational time series data with nonstationary between box-jenkins techniques using structural equation model and leading indicator | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถิติการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Suchada.B@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Akaphop_ya_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 900.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Akaphop_ya_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 887.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Akaphop_ya_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Akaphop_ya_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 784.93 kB | Adobe PDF | View/Open |
Akaphop_ya_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Akaphop_ya_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 924.53 kB | Adobe PDF | View/Open |
Akaphop_ya_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.