Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72387
Title: การเพิ่มอัตราผลผลิต P(3HB-co-3HV) โดยการเลี้ยง Alcaligenes sp. A-O4 แบบกึ่งต่อเนื่องเพื่อให้มีความหนาแน่นเซลล์สูง
Other Titles: Increase productivity of P(3HB-co-3HV) by fed-batch cultivation for high cell density of Alcaligenes sp. A-O4
Authors: อดิศักดิ์ หิรัญรัตนากร
Advisors: ส่งศรี กุลปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: P(3HB-co-3HV)
Alcaligenes sp. A-O4
Fed-batch
High cell density
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การผลิตโคพอลิเมอร์ P(3HB-co-3HV) โดย Alcaligenes sp.สายพันธ์ A-04 ในระดับขวดเขย่า และในถังหมักขนาด 5 ลิตรแบบแบช พบว่าเมื่อเลี้ยงเชื้อในอาหารสำหรับเตรียมกล้าเชื้อ มีการเจริญในช่วงการเจริญแบบทวีคูณอยุ่ระหว่างชั่วโมงที่ 18-30 น้ำหนักเซลล์สูงสุดในชั่วโมง36 เมื่อนำกล้าเชื้ออายุ 18 24 30 และ 36 ชั่วโมง มาเลี้ยงในอาหารเพื่อการผลิตโคพอลิเมอร์ ได้ผลว่ากล้าเชื้อที่เหมาะสมคือกล้าเชื้ออายุ 24 ชั่วโมง ภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงเชื้อในถังหมักแบบแบช ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้แก่ปริมาณกล้าเชื้อเท่ากับ 1.7 กรัมต่อลิตร ได้พบว่าการผลิต P(3HB-co-3HV) โดยมีการควบคุมค่าความเป็นกรดด่าง ได้อัตราผลผลิตสูงกว่าเมื่อไม่ควบคุมค่าความเป็นกรดด่าง โดยค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสม เท่ากับ 7.0 องค์ประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อ และภาวะการเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสม มีดังนี้ อัตราส่วนของแหล่งคาร์บอนผสมซึ่งได้แก่ ฟรักโตสและกรดวาเลอริก เท่ากับ 18:2 กรัมต่อลิตร ปริมาณแอมโมเนียมซัลเฟตเท่ากับ 1.0 กรัมต่อลิตร อัตรส่วน KH₂PO₄: Na₂HPO₄ เท่ากับ 1.0:0.3 กรัมต่อลิตร ปริมาณแมกนีเซียมซัลเฟต เท่ากับ 0.1 กรัมต่อลิตร อัตราการให้อากาศเท่ากับ 1.8 ปริมาณอากาศต่อปริมาตรอาหารต่อนาที อัตราการกวน เท่ากับ 600 รอบต่อนาที ได้ค่าความหนาแน่นเซลล์สูงสุดเท่ากับ 10.91 กรัมต่อลิตร ปริมาณโคพอลิเมอร์สูงสุดเท่ากับ 5.94 กรัมต่อลิตรในชั่วโมงที่ 36 ได้อัตราผลผลิตเท่ากับ 0.16 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง เมื่อนำค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ที่ได้จากการเลี้ยงเชื้อในถังหมักแบบแบช ได้แก่ อัตราการเจริญจำเพาะ เท่ากับ 0.1 ต่อชั่วโมง มวลเซลล์ที่ไม่ร่วมพอลิเมอร์ เท่ากับ 4.09 กรัมต่อลิตร ผลผลิตมวลเซลล์ต่อสารอาหารที่ใช้เท่ากับ 0.54 กรัมต่อกรัมมาคำนาณเพื่อหาอัตราการเติมสารอาหารได้ค่าอัตราการเติมสารอาหารเท่ากับ 4.52 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ในการเลี้ยงเชื้อ Alcaligenes sp. A-04 แบบเฟตแบชในถังหมักขนาด 5 ลิตร ซึ่งบรรจุอาหารเลี้ยงเชื้อปริมาณ 2.0 ลิตร เมื่อเติมสารอาหารเฉพาะแหล่งคาร์บอน พบว่าความหนาแน่นเซลล์ ปริมาณโคพอลิเมอร์ และอัตราผลผลิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อเติมสารอาหารที่มีทั่งแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนโดยมีอัตราส่วน C/N ตั้งแต่ 5-300 โมลต่อโมล พบว่าอัตราส่วนของ C/N ที่เหมาะสม เท่ากับ 100 โมลต่อโมล พบว่าความหนาแน่นของเซลล์ และการผลิตโคพอลิเมอร์เพิ่มขึ้นได้แก่ ความหนาแน่นของเซลล์เท่ากับ 12.66 กรัมต่อลิตร ปริมาณ P(3HB-co-3HV) เท่ากับ 7.89 กรัมต่อลิตร และอัตราผลผลิตเท่ากับ 0.22 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง พบว่าอัตราส่วนของ C/N มีผลต่อองค์ประกอบของโคพอลิเมอร์ โดยอัตราส่วนของ C/N ที่มีค่าสูงทำให้สัดส่วนของดมโนเมอร์ 3HV สูงขึ้น เมื่อเติมสารอาหารที่ประกอบด้วยแหล่งคาร์บอน แหล่งไนโตรเจน และแร่ธาตุที่จำเป็น โดยเติมแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนทุก 6 ชั่วโมง ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 12-42 เติมแร่ธาตุที่จำเป็น ที่ชั่วโมงที่ 12 และ 30 มีผลทำให้ความหนาแน่นของเซลล์ และการผลิตโคพอลิเมอร์ P(3HB-co-3HV) โดย Alcaligenes sp. A-04 เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คือ ความหนาแน่นของเซลล์เพิ่มขึ้นเป็น 24.38 กรัมต่อลิตร ได้ปริมาณโคพอลิเมอร์เพิ่มขึ้นเป็น 15.28 กรัมต่อลิตร คิดเป็น 62 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักเซลล์แห้ง และได้อัตราผลผลิต เพิ่มขึ้นเป็น 0.42 กรัมต่อลิตรต่อชั่วโมง
Other Abstract: The production of copolymer of P(3HB-co-3HV) in flask and batch culture in a 5 L, jar fermenter by Alcaligenes sp. A-04 was investigated. The exponential growth phase of Alcaligenes sp. A-04 grown in seed culture medium was at 18-30 h. of cultivation period, the maximum cell mass was shown at 36 h. Seed culture of 24 h. was suitable for copolymer production, compared to that of 18, 24, 30 and 36 h. seed culture. The optimal cultivation condition of Alcaligenes sp. A-04 for P(3HB-co-3HV) production in a fermenter was studied. The suitable inoculum size was 1.7 g/l of 24 h. seed culture. At 30℃ , higher productivity of P(3HB-co-3HV) was obtained with pH controlled at 7.0 compared with that of uncontrolled pH cultivation. The optimal medium composition and culture condition were as followed : fructose and valeric acid was 18:2 g/l, 1.0 g/l of ammonium sulfate, 1.0:0.3 g/l of KH₂PO₄0.1 g/l of MgSO₄7H₂O , aeration rate at 1.8 vvm. And agitation speed at 600 rpm. Under this cultivation condition, the maximum cell density was 10.91 g/l and copolymer content was 5.94 g/l at 36 h of cultivation with productivity of 0.16 g/l/h. Feed rate of fresh medium was 4.52 ml/h calculated based on the parameters obtained from batch cultivation i.e. specific growth rate( µ ); 0.1 h⁻¹, residual cell mass (X1); 0.4 g/l and biomass yield (Yx/s) ; 0.54 g/g . When applied the suitable cultivation condition to fed batch cultivation of Alcaligenes sp. A-04 in a 5L. fermenter, with feeding of carbon source only; cell density, copolymer content and productivity was slightly increased. With carbon and nitrogen source feeding at C/N ratio of 5-300 mole/mole, higher (12.66 g/l) , P(3HB-co-3HV) content (7.89 g/l) and higher productivity (0.22 h⁻¹)were achieved with C/N ratio of 100 mole/mole. It was also found that the composition of copolymer was affected by C/N ratio of culture medium; higher C/N ratio resulted in higher 3HV monomer . In the experiment of feeding carbon and nitrogen source every 6 h. from 12-24 h. and feeding essential elements at 12 and 30 h, the cell density and copolymer of P(3HB-co-3HV) production by Alcaligenes sp. A-04 was remarkably increased i.e. the cell density was increased to 24.38 g/l, P(3HB-co-3HV)content was increased to 15.28 g/l or 62% by cell dry weight and the productivity was increased to 0.42 g/l.h.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72387
ISBN: 9743322094
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adisak_hi_front_p.pdf921.15 kBAdobe PDFView/Open
Adisak_hi_ch1_p.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_hi_ch2_p.pdf922.41 kBAdobe PDFView/Open
Adisak_hi_ch3_p.pdf6.12 MBAdobe PDFView/Open
Adisak_hi_ch4_p.pdf845.18 kBAdobe PDFView/Open
Adisak_hi_back_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.