Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72399
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐนิภา คุปรัตน์-
dc.contributor.authorสนิท เจริญธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-02-25T02:46:12Z-
dc.date.available2021-02-25T02:46:12Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745679682-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72399-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาบุคลากร ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบุคลากร ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหาร จำนวน 73 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 146 คน จากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดและกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด ส่งแบบสอบถามไป 219 ฉบับ ได้รับคืนมา 203 เป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ เพื่อใช้ในการวิจัยจำนวน 193 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.13 จากผู้บริหาร 67 ฉบับ ศึกษานิเทศก์ 126 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ สรุปผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด สรุปได้ดังนี้ 1.1 การหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ เห็นว่ามีการปฏิบัติจริงในระดับน้อย และควรปฏิบัติในระดับมากที่สุด 1.2 การวางแผนพัฒนาบุคลากร ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ เห็นว่ามีการปฏิบัติจริงในระดับน้อย และควรปฏิบัติในระดับมากที่สุด 1.3 การดำเนินการพัฒนาบุคลากร ความคิดเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เห็นว่ามีการปฏิบัติจริงในระดับมาก และควรปฏิบัติในระดับมากที่สุด 1.4 การประเมินและติดตามผลการพัฒนาบุคลากร ความเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ เห็นว่ามีการปฏิบัติจริงในระดับน้อย และควรปฏิบัติในระดับมาก 2. ความคิดเห็นของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากร ความเห็นโดยส่วนรวมของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ มีความเห็นว่า มีปัญหาน้อยเกือบทุกข้อ นอกจากเรื่องการสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาบุคลากร มีปัญหาในระดับมาก 3. การพัฒนาบุคลากรของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด ควรดำเนินการตามกระบวนการพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ ๆ 5 ขั้นตอนดังนี้ 3.1 การหาความจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร 3.2 การวางแผนพัฒนาบุคลากร 3.3 การเตรียมการพัฒนาบุคลากร 3.4 การดำเนินการพัฒนาบุคลากร 3.5 การประเมินผลและติดตามผลการพัฒนาบุคลากร-
dc.description.abstractalternativeThe Purposes : 1. To study the opinions of administrators and supervisors concerning the process of personnel development of the Office of the Provincial Primary Education. 2. To study the opinions of administrators and supervisors concerning the problems and obstacles of personnel development of the Office of the Provincial Primary Education. 3. To advise personnel development of the office of the Provincial Primary Education Research Procedure : Population used in this research were 73 administrators and 140 Supervisors of the office of the Provincial Primary Education. The instrument used in this research was a questionnaire constructed by the researcher. The questionnaire consisted of three types : a check-list, a rating scale and open-ended questions. Two hundred and nineteen copies were distributed to the samples and 203 copies were returned. There were 193 perfect copies or 88.13 percentage ; 67 copies from administrators and 126 copies from supervisors The data were analyzed through the Statistical Package for the Social Science (SPSS), using percentage, arithmatic means  (x̄) standard deviations (S.D.), and frequency. Finding : 1. Opinions of the administrators and supervisors concerning the process of personnel development of the Office of Provincial Primary Education could be summarised as follows: 1.1 Needs assessment of personnel development. The administrators and supervisors were of the general opinion that there were the actual needs assessments at the low level and those which should be conducted at the highest level. 1.2 Personnel development planning. Both administrators and supervisors opinion that there were the actual planning on personnel development at the low level and those which should be conducted at the highest level. 1.3 Personnel development operation. The administrators and supervisors alike possessed the general opinion that there were the actual personnel development operations at the high level and those which should be carried out at the highest level. 1.4 Personnel development evaluation and follow-up study. The overall opinion of the administrators and supervisors presumed that there were the actual evaluation and follow-up study of personnel development at the low level and those which should be conducted at the high level. 2. As regards the problem of personnel development obstacles, the administrators and supervisors alike had a general opinion that there was a very few problems on almost every point, excluding the problem of budget allocation which possessed a high level of problem. 3. The process for personnel development administration of the Office of Provincial Primary Education should be conducted along the following four major steps; 3.1 Needs assessment of personnel development 3.2 Personnel development planning 3.3 Personnel development preparation 3.4 Personnel development operation 3.5 Personnel development evaluation and follow-up study-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1987.177-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษา -- การฝึกอบรม-
dc.subjectการพัฒนาบุคลากร -- ไทย-
dc.subjectTeachers -- Training of -- Thailand-
dc.titleความคิดเห็นของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับ การพัฒนา บุคลากรของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด-
dc.title.alternativeOpinions of administrators and supervisors concerning personnel development of the office of the provincial primary education-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1987.177-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanit_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ928.95 kBAdobe PDFView/Open
Sanit_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1833.9 kBAdobe PDFView/Open
Sanit_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.39 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3733.07 kBAdobe PDFView/Open
Sanit_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.92 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.01 MBAdobe PDFView/Open
Sanit_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.