Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72506
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรางค์ โค้วตระกูล | - |
dc.contributor.author | สุข เดชชัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-02T02:35:32Z | - |
dc.date.available | 2021-03-02T02:35:32Z | - |
dc.date.issued | 2506 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72506 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2506 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะยาว (Longitudinal Study) เพื่อวิเคราะห์ตัวการที่มีอิทธิพลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนวัยรุ่น ๘ คน สำหรับการศึกษานี้นักเรียนที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของนักเรียนเก่ง ๒ คนตัวแทนนักเรียนปานกลาง ๔ คนตัวแทนนักเรียนที่เรียนอ่อน ๒ คนรวมเป็นนักเรียนชาย ๔ คนนักเรียนหญิง ๔ คนการรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงจากบันทึกรายงานการตรวจสุขภาพของนายแพทย์การเยี่ยมบ้านนักเรียนและสัมภาษณ์ผู้ปกครอง สัมภาษณ์อาจารย์ประจำชั้น สัมภาษณ์อาจารย์คนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องใช้แบบสอบถามนักเรียนในห้องสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้นักเรียนเขียนอัตชีวประวัติและบุคคลที่ข้าพเจ้าต้องการเป็นเหมือน ทดสอบสังคมมิติ ทดสอบความคิดเห็นของนักเรียนต่อเพื่อนๆ ในห้องโดยใช้คำถาม “ใครเอ๋ย” และ Semantic Differential Test ทดสอบความสามารถทางสติปัญญา ศึกษาผลการสอนกลางปีและปลายปีศึกษาความตั้งใจเรียนของนักเรียนโดยอาจารย์ประจำวิชา ผู้ปกครองและอาจารย์ประจำชั้น ศึกษาทัศนคติและความสนใจของนักเรียนต่อวิชาต่างๆ ประเมินความประพฤติของนักเรียนโดยนักเรียนเอง ผู้ปกครองและอาจารย์ประจำชั้น การอภิปรายข้อมูลที่ได้มาตามกรอบของการวิเคราะห์ตัวการที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนของอาจารย์ Prescott ซึ่งได้แก่ตัวการทางร่างกาย ตัวการทางความรัก ตัวการทางวัฒนธรรมและการอบรมทางบ้าน ตัวการทางความสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนวัยเดียวกัน ตัวการทางการพัฒนาแห่งตน ตัวการทางการปรับตน จากผลของการศึกษาพบว่านักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนสำหรับการศึกษานี้ทั้งชายและหญิงมีระดับสติปัญาไม่แตกต่างกันมากแต่ความสัมฤทธิ์ผลของการเรียนแตกต่างกันมากนักเรียนชายคู่หนึ่งมีระดับสติปัญญาเท่ากันคนหนึ่งมีความสัมฤทธิ์ผลทากงการเรียนสูงเมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียนทั้งหลายแต่อีคนหนึ่งความสัมฤทธิ์ผลอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกับนักเรียนหญิงคนหนึ่งมีระดับสติปัญญาเท่ากับนักเรียนหญิงที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของนักเรียนปานกลางของห้องแต่มีความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนต่ำที่สุดจากการวิเคราะห์ตัวการที่มีอิทธิพลต่อความสัมฤทธิ์ผลของการเรียนนักเรียนวัยรุ่น ๘ คนนี้ ปรากฎว่าตัวการทางร่างกายเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของนักเรียนหญิงวัยรุ่น ๓ คนตัวการทางความรักระหว่างบิดามารดาและบุตรเป็นอุปสรรคต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนชายวัยรุ่นหนึ่งคนและนักเรียนหญิงวัยรุ่น ๒ คนตัวการทางวัฒนธรรมและการอบรมหาบ้านเป็นอุปสรรคต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนชายวัยรุ่น ๓ คนและนักเรียนหญิงวัยรุ่น ๒ คนนอกจากนี้ความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนชาย ๒ คนและหญิงหนึ่งคนยังขึ้นอยู่กับกตัวการทางการพัฒนาแห่งตนคือความตั้งใจสนใจและทัศนคติต่อการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลนักเรียนวัยรุ่นชายที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนของการศึกษา ๒ คนมีปัญหาเกี่ยวกับความสัมพัธธ์ในหมู่เพื่อนวัยเดียวกันซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียด้วยตัวการการปรับตนเป็นอุปสรรคต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนหญิงวัยรุ่นที่เรียนปานกลางหนึ่งคน จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าตัวการทั้งหกนี้มีอิทธิพลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนที่ทำการศึกษาทุกคนและมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดบางตัวการเป็นอุปสรรคต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนตัวการเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนแต่คนไม่เหมือนกันตัวการที่ส่งเสริมความสัมฤทธิ์ผลทางการ เรียนของนักเรียนคนหนึ่งแต่อาจกลับเป็นอุปสรรคต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนอีกคนหนึ่งและในทำนองเดียวกันตัวการที่เป็นอุปสรรคต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนคนหนึ่งอาจกลับเป็นตัวการที่ส่งเสริมความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนอีกคนหนึ่งนอกจากนี้ตัวการเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนมากน้อยต่างกันไป | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1963.1 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- ไทย | - |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย | - |
dc.subject | วัยรุ่น -- ไทย | - |
dc.subject | Academic achievement -- Thailand | - |
dc.subject | High school students -- Thailand | - |
dc.subject | Teenagers -- Thailand | - |
dc.title | การศึกษาตัวการที่มีอิทธิพลต่อความสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนวัยรุ่นแปดคน | en_US |
dc.title.alternative | Study of factors influence academic achievement of eight adolescents | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1963.1 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suk_Da_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suk_Da_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suk_Da_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suk_Da_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 29.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suk_Da_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 7.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suk_Da_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Suk_Da_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.