Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7286
Title: สภาพการอยู่อาศัยและสภาพสังคมของนักศึกษาในเขตเมืองนครปฐม
Other Titles: Living patterns and social life of students in Nakhon Pathom Urban area
Authors: อำนาจ สังข์ศรีแก้ว
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya@hotmail.com, Kundoldibya.P@Chula.ac.th
Suwattana.T@Chula.ac.th
Subjects: นักศึกษา -- ที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพที่อยู่อาศัยและสภาพสังคมที่เกิดขึ้นจากการพักอาศัยของนักศึกษาในเขตเมืองนครปฐม โดยการสำรวจสภาพปัจจุบัน ทั้งด้านกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพักอาศัย เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาที่พักอาศัยของนักศึกษา ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนำไปใช้ได้ รวมทั้งนำไปปรับใช้กับจังหวัดที่บทบาทด้านการเป็นเมืองการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม ที่พักอาศัยในที่พักอาศัยของมหาวิทยาลัยและที่พักอาศัยของเอกชนในเขตเมืองนครปฐม การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกจากการแบ่งกลุ่มที่พักอาศัยของนักศึกษาเป็น 4 กลุ่ม แล้วจัดเก็บโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 400 ตัวอย่าง จากการศึกษาพบว่านักศึกษาเขตเมืองนครปฐมเป็นนักศึกษาหญิงมากกว่านักศึกษาชาย อายุระหว่าง 18-23 ปี มีผลการเรียนในระดับปานกลาง มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตภาคกลางที่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนครปฐม ด้านสภาพทางเศรษฐกิจ พบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร จะมีสภาพทางเศรษฐกิจดีกว่านักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และนักศึกษาที่พักอาศัยในที่พักของเอกชนจะมีสภาพทางเศรษฐกิจดีกว่านักศึกษาที่พักในที่พักของมหาวิทยาลัย ด้านสภาพทางกายภาพของที่พักอาศัยสามารถแบ่งที่พักอาศัยได้ตามลักษณะของผู้พักอาศัยได้เป็น หอพักชาย หอพักหญิง หอพักรวม และบ้านเช่า โดยที่พักของมหาวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมีเพียงหอพักหญิงและเป็นห้องนอนรวม ในด้านจำนวนพบว่า ที่พักอาศัยประเภทหอพักหญิงมีจำนวนมากที่สุด ห้องพักมีขนาด 16-20 ตรม. มีผู้พักอาศัย 2 คน/ห้อง ในที่พักของเอกชน และ 3 คน/ห้องในที่พักของมหาวิทยาลัย ราคาที่พักแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ที่พักของมหาวิทยาลัยจะมีราคา ไม่เกิน 500 บาท/เดือน และที่พักของเอกชนจะมีราคา 2,100-2,500 บาท/เดือน ระยะทางจากที่พักถึงมหาวิทยาลัยอยู่ในช่วง 0.5-1.5 กม. ด้านการจัดการที่พักอาศัย พบว่า ที่พักของมหาวิทยาลัยจะมีกฎระเบียบมากกว่าที่พักเอกชนและหอพักหญิงจะมีกฎระเบียบมากกว่าที่พักประเภทอื่น ๆ ด้านบริการพบว่า ที่พักของมหาวิทยาลัยจะมีบริการขั้นพื้นฐานครบถ้วนมากกว่าที่พักของเอกชน โดยที่พักเอกชนจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่าที่พักของมหาวิทยาลัย ด้านปัญหาที่เกิดจากการพักอาศัย พบว่าที่พักของมหาวิทยาลัย จะมีระดับของปัญหามากกว่าที่พักของเอกชน โดยปัญหาที่พบร่วมกันของ ที่พักมหาวิทยาลัยและที่พักของเอกชน คือ การส่งเสียงดัง การลักขโมย การเล่นการพนัน การดื่มของมืนเมา และการดูสื่อลามก ส่วนปัญหาที่มีความแตกต่างกันคือ ที่พักของมหาวิทยาลัยจะพบปัญหา ความแออัด และการเข้าพักโดยไม่ได้รับอนุญาต ขณะที่ที่พักของเอกชนจะพบปัญหา บรรยากาศในที่พักไม่เอื้อต่อการเรียน อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้จะพบน้อยมากในที่พักของมหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม นอกจากนี้ยังพบปัญหาที่แม้จะพบไม่มากแต่ควรได้รับการเอาใจใส่ คือ การมีเพศสัมพันธ์ และการพักอาศัยอยู่ร่วมกันของนักศึกษาชายและหญิง ซึ่งจะพบในที่พักอาศัยของเอกชน สำหรับข้อเสนอแนะนั้น ที่พักของมหาวิทยาลัยจะต้องนำกฎระเบียบและบทลงโทษ มาใช้อย่างจริงจัง กับนักศึกษที่ฝ่าฝืน สำหรับที่พักของเอกชน ควรเพิ่มกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาให้รัดกุมมากขึ้น ควรมีการตรวจสอบมาตรฐานจากทางมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการเพิ่มพื้นที่สำหรับการพักผ่อน ส่วนในอนาคตมหาวิทยาลัยควรเพิ่มที่พักอาศัยของนักศึกษา โดยการใช้วิธีนำที่พักของเอกชนทั้งหมดเข้าสู่ระบบ หรือ ให้เอกชนมาลงทุน เพื่อที่ทางมหาวิทยาลัยจะได้สามารถจัดการและควบคุมได้มาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งควรมีการปรับปรุงและบำรุงรักษาที่พักให้มีสภาพดีขึ้น ลดจำนวนคนต่อห้องลง โดยอาจมีการจัดที่พักแบบหอนอนรวม เพื่อทำให้ราคาที่พักอาศัยถูกลง และมีการควบคุมดูแลได้ทั่วถึงมากขึ้น
Other Abstract: The objective of this research is to study the living patterns and social conditions that result from students' living in the Nakhon Pathom urban area. The study is performed through the survey of the present condition in terms of physical, social and economic aspects as well as the problems that result from being a resident, for further development of students' living condition. These advantages can be adopted and used by the private and public sectors as well as the province which has its role in education. The population of this study is Silapakorn's and Rajabhat Nakhon Pathom's students, who stay in the university's dormitories and private dormitories outside the university. The random sampling method is used for selecting 4 groups of accommodation. It is used for the data gathering of 400 samples. The study found that there are more female students than male students aged between 18-23 years old. They have achieved average study results and lived in the central part which its bordening Nakhon Pathom. In economic terms, the research finds that Silapakorn University students usually have better financial support than Rajabhat Nakhon Pathom University students. Furthermore, students, who stay in private dormitories, have better financial support than those who stay in university dormitories. Accommodation is physically divided according to the students characteristics as follows : male dormitory, female dormitory, mixed dormitory and rented house. There is only one female university's dormitory in the Rajabhat Nakhon Pathom University and it is not a separated room. In terms of the number of dormitories the research found that most dormitories are female dormitory. The study also found that most dormitories have an area of 16-20 square meters for each room. There are 2 persons/room in private dormitories and 3 persons/room in university dormitories. The renting rate of the university's dormitory does not exceed 500 baht / month. Whereas the renting rate of private dormitories is between 2,001-2,500 baht / month. The distance from the dormitory to the university is 0.5-1.5 kilometers. In terms of dormitory management, the study found that female dormitories require more rules than others. The study also found that the university's dormitories provide more basic services than private dormitories. However, private dormitories provide more facilities than the university's dormitories. In terms of the number of problems found from being a resident, there are more problems in the university's dormitories than private dormitories. The problems that found in the university's dormitories and private dormitories are related to the stealing property, gambling, drink binges and watching pornographic films. The problems of the university's dormitories are different. The problems are that the dormitories are too crowded and the students stay without any permission. On the other hand, the private dormitories problem is that the atmosphere of the dormitory is not suitable for the students to study. However, most problems occurs less in Rajabhat Nakhon Pathom University dormitories. Moreover, a serious problem that must be taken care of is related to sex and male and female students living together. These problems are found in private dormitories. The suggestion for these problems is that the private dormitories should apply more rules that concerning with the resident students. There should have examined of the university's and concerned department's standard to increase the place for ralaxation. The university should be strong discipline applied to those who break the rules and allow more investment from the private sector to invest in building dormitories under the university's regulations. Thus the dormitories will be under the same mangement system and standards. A better condition of accommodation should be achieved and maintained. The number of tenants should be reduced by arranging combined bedrooms in order to lower the rent rate and easier to control.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7286
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.183
ISBN: 9741770294
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.183
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amnaj.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.