Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72957
Title: การสื่อสารทางสังคมเชิงปัญญาผ่านการเล่าเรื่องเพื่อชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนของวิถีชีวิตออร์แกนิก
Other Titles: Social cognitive communication through narrative for sustainable learning community of organic ways of life
Authors: ชญานิษฐ์ วิวัฒนวานิช โอยามา
Advisors: จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
การใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Communication in community development
Organic living
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมผ่านการเล่าเรื่องของคนต้นแบบ (2) เพื่อศึกษาการสื่อสารของชุมชนแห่งการเรียนรู้ในเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคม (3) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ทางการสื่อสาร ปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมที่เป็นสาเหตุและอุปสรรคของการมีวิถีชีวิตออร์แกนิกเพื่อเสนอแบบจำลองเชิงแนวคิด (Conceptual model) ทางการสื่อสารสำหรับการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมอย่างยั่งยืนผ่านการเล่าเรื่อง ผลการวิจัยพบว่า (1) ความแตกต่างของพื้นฐานคนต้นแบบวิถีชีวิตออร์แกนิกทำให้เกิดการขับเคลื่อนที่หลากหลาย แต่อยู่บนพื้นฐานวิธีคิดเพื่อการใช้ชีวิตในแนวทางที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุลเหมือนกัน (2) มิติความหมายวิถีชีวิตออร์แกนิกของคนต้นแบบมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนมากไปกว่าแนวคิดเกษตรออร์แกนิก (3) ลักษณะการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนวิถีขีวิตออร์แกนิกของเครือข่ายมีลักษณะเป็นการร่วมออกแบบบนพื้นฐานความหลากหลายของสมาชิก ทำให้เกิดวิธีการใหม่ๆ บนพลังของความร่วมมือ (4) แบบจำลองเชิงสาเหตุของการมีวิถีชีวิตออร์แกนิกของคนในเครือข่าย พบว่า ความน่าเชื่อถือของคนต้นแบบเป็นสาเหตุประแรกที่ส่งผลไปยังสาเหตุอื่นๆ เพื่อให้เกิดการใช้วิถีชีวิตออร์แกนิกในชีวิตประจำวัน งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า วิถีชีวิตออร์แกนิกซึ่งเป็นนวัตกรรมสังคมตั้งอยู่บนรากฐานวิธีคิดของการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล สามารถนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและไปถึงระดับความเป็นสาธารณะ (The Common) ได้ หากให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเพราะผู้ฟังเรื่องเล่าสามารถกลายมาเป็นผู้เล่าเรื่องได้เอง แต่อย่างไรก็ตาม การสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนวิถีชีวิตออร์แกนิกจะต้องสื่อสารไปถึงระดับฐานรากวิธีคิดแม้ว่าความหลากหลายของคนในสังคมจะทำให้เกิดความแตกต่างของหนทาง (Output) แต่ผลลัพธ์ (Outcome) จะต้องสอดคล้องกับการอยู่ร่วมกับธรรมชาติเพื่อความเป็นสาธารณะเหมือนกัน
Other Abstract: This research aimed to (1) study social innovation driven through narrative by Organic ways of life role models (2) study communication for driving social innovation of Organic ways of life community networks (3) create communication conceptual model for driving social innovation (Organic ways of life). In-depth interviews with 13 Organic ways of life role models were conducted to find the communication used in driving social innovation and the meaning of Organic Ways of life. Findings show that (1) background differences of role models caused variety of communication ways to mobilize social innovation, but every way communicated on the basis of living in balance with the nature (2) role models defined ‘Organic ways of life’, which aimed for sustainable development, beyond what was found in the meaning of ‘Organic agriculture’ (3) Co-creating Organic ways of life was found as a communication way to mobilize social innovation by community network members (4) Causal model found that Role model credibility is an antecedent variable to other variables which lead to having Organic ways of life in daily practice. Finding from the research indicate that Organic ways of life as social innovation rooted on the basis of living in balance with the nature, could lead to sustainable development with the level of the common (benefit to all). In order to do so, human has to be at the center because they all have the ability to be an Organic ways of life role model. Despite diversity in the society which made different outputs, communicating to the rooted of the concept is crucial in order to bring out the same living in balance with the nature outcome.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72957
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.829
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.829
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Com_5685102328_Thesis_2018.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.