Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7350
Title: ภาพลักษณ์ของวีรบุรุษแบบผู้ร้ายกลับใจที่ปรากฏในสื่อมวลชน
Other Titles: Hero image of the deviant in mass media
Authors: อารยา ถาวรวันชัย
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: หนู เชิญยิ้ม
สุริยัน ศักดิ์ไธสง
การวิเคราะห์เนื้อหา
ภาพลักษณ์
สื่อมวลชน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาพลักษณ์ของวีรบุรุษแบบผู้ร้ายกลับใจที่ปรากฏในสื่อมวลชนคือ เพื่อศึกษาถึงเนื้อหา, วิธีการนำเสนอและศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอกรณีศึกษา 2 กรณี คือ หนู เชิญยิ้ม และสุริยัน ศักดิ์ไธสง, ศึกษาจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสารและความเข้าใจของผู้รับสาร ว่าผู้รับสารได้รับสารตามความหมายที่ผู้ส่งสารต้องการหรือไม่, ศึกษาถึงการตอบรับสารของผู้รับสารประเภทต่างๆ ต่อการนำเสนอภาพลักษณ์ของวีรบุรุษแบบผู้ร้ายที่ปรากฏในสื่อมวลชน ผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏพบว่าผู้ส่งสารได้ใช้กลยุทธ์และวิธีการต่างๆ ในการนำเสนอในการเปิดประเด็น, การปิดประเด็นที่นำเสนอ, การสร้างบรรยากาศในการนำเสนอ และสัดส่วนเนื้อหาในการนำเสนอ โดยในเนื้อหาที่นำเสนอจะกล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำเสนอ รวมทั้งคุณูปการของกรณีศึกษาทั้งสอง ซึ่งรูปแบบของกลยุทธ์และวิธีการที่ผู้ส่งสารใช้นั้นอยู่กับความรุนแรงของความประพฤติเบี่ยงเบน สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอมี 4 ประการคือ ความน่าสนใจของความประพฤติเบี่ยงเบน, สถานภาพในปัจจุบันของผู้ถูกนำเสนอ, แนวคิดหลักในการนำเสนอ, และจุดมุ่งหมายในการนำเสนอของผู้ส่งสาร ในส่วนของผู้ส่งสารนั้นพบว่ากระบวนการเข้ารหัสจะเป็นไปภายใต้จุดมุ่งหมาย, ทัศนคติของผู้ส่งสาร, รวมทั้งตามลักษณะการผลิตงานของสื่อ โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลในการเลือกประเด็นเนื้อหาของผู้ร้ายกลับใจ เช่นความเบี่ยงเบนของประเด็นและตัวบุคคล, คู่แข่งของรายการ, ทัศนคติของผู้ส่งสารต่อความเบี่ยงเบน และแรงกดดันอื่นๆ จากสถาบันและสังคม นอกจากนี้จากการศึกษาการถอดรหัสของผู้รับสารกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียน, ครู, พระสงฆ์, และเจ้าหน้าที่ผู้คุมขังนักโทษ พบว่าผู้รับสารกลุ่มต่างๆ มีความเข้าใจในสารตรงตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร และตีความสารในใจความหลักๆ อย่างเป็นไปตามที่ผู้ส่งสารต้องการ อย่างไรก็ตามผู้รับสารแต่ละกลุ่มก็มีการถอดรหัสสารต่างกันไป ตามภูมิหลังของกลุ่ม เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้คุมขังนักโทษจะมีมุมมองในทางลบ ต่อการกลับใจของกรณีศึกษา ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์จะมีมุมมองในทางบวก ต่อผู้ที่กระทำผิดและพร้อมจะให้อภัยเสมอ
Other Abstract: Studies purposes on the hero lmage of the deviant in mass media is to study by presentation strategies in terms of content are the factors related to the presentation of two case studies, one by Nu Cheonyim, and the other by Suriyan Sakthisong. The study also focused on the purpose of senders in encoding of messages and the decoding of receivers, and how the various purposive receivers respond to the messages. The study examined the strategies and procedures that appeared in the media content by means of content-opening, the conclusion of the presentation, the atmosphere, and of content proportion. The study revealed the benefits of the contents in two case studies. The presentation strategies used depends on the level of deviance. Four factors which influenced the presentation and content were the newsworthiness of deviance, present status of the above studies, the concept behind programmes and newspaper columns, and purpose of the broadcasting teams. For such a team, the encoding procedure was relied on purpose, and attitudes of the broadcasting team and the certain aspects of mass media production. Such factors which influenced the selection of the material included in the consisted of the following level of deviance, competitiveness, attitudes of the broadcasting team and pressure from media organizations, not to mention society of large. In addition, four groups of receivers including, students, teachers, monks, and correction officers were manily able to decoded the message (s) in the way the broadcasters wanted. However, each group decoded the message (s) differently by attributing a connotative meaning to the intended message (s). The group of correction officers would decode the message in negative way, while the group of monks would decode the same message in positive way.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7350
ISBN: 9746368788
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Araya_Th_front.pdf795.08 kBAdobe PDFView/Open
Araya_Th_ch1.pdf975.58 kBAdobe PDFView/Open
Araya_Th_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Araya_Th_ch3.pdf797.76 kBAdobe PDFView/Open
Araya_Th_ch4.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Araya_Th_ch5.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Araya_Th_ch6.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Araya_Th_ch7.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Araya_Th_back.pdf735.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.