Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73629
Title: | ความเสี่ยงในการสะสมโลหะหนักของผักคะน้า(Brassica oleracea L.var. alboglabra Bailey)และผักกาดหอม(Lactuca sativa var.crispa) เมื่อใช้กากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนร่วมกับแกลบในพื้นที่การเกษตรจังหวัดปทุมธานี |
Other Titles: | Risk to heavy metal accumulation by chinese kale (Brassica oleracea L.var. alboglabra Bailey) and lettuce (Lactuca sativa var.crispa) treated with sewage sludge and rice husk in Pathum Thani agricultural area |
Authors: | คมกฤช ภาคย์ทองสุข |
Advisors: | อรวรรณ ศิริรัตน์พิริยะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Orawan.Si@Chula.ac.th,Orawan.Si@chula.ac.th |
Subjects: | คะน้า พืช -- ปริมาณโลหะหนัก โลหะหนัก Plants -- Heavy metal content Heavy metals Collard greens |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การนำกากตะกอนน้ำเสียจากโรงบำบัดน้ำเสียชุมชน กรุงเทพมหานคร (ชุมชนห้วยขวาง) มากำจัดร่วม กับแกลบ โดยนำมาใช้ประโยชน์เสมือนธาตุอาหารพืช ในการเพาะปลูกผักคะน้า เพื่อพิจารณาถึงความเสี่ยง ต่อโลหะหนัก (ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง นิเกิล แมงกานีส สังกะสี เหล็ก) ที่สะสมในส่วนเหนือดินและส่วน ใต้ดินของพืชทั้ง 2 ชนิด ดำเนินการศึกษาวิจัยในภาคสนาม ที่พื้นที่การเกษตรจังหวัดปทุมธานี โดยวางแผน การทดลองแบบ 2 x 4 factorial in - completely randomize สำหรับพืชทั้ง 2 ชนิด พืชแต่ละชนิดจะมีตำ รับทดลอง 7 ตำรับทดลอง (ควบคุม ปุ๋ยเคมี (สูตร 25-7-7 อัตรา 96 กิโลกรัม/ไร่) กากตะกอนอัตรา 3,200 กิโลกรัม/ไร่ กากตะกอนอัตรา 3 ซ้ำ จากการทดลองพบว่า กากตะกอนน้ำเสียมีศักยภาพเพียงพอต่อการนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นแหล่ง ธาตุอาหารพืช การเดินกากตะกอนอัตรา 3,200 กิโลกรัม/ไร่ และการเติมกากตะกอนอัตรา 3,200 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับแกลบ 320 640 960 และ 1,280 กิโลกรัม/ไร่ ทำให้ผลผลิตของผักคะน้าและผักกาดหอม สูงกว่าค่าเฉลี่ยผลผลิตจากพื้นที่การเกษตรจังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ผลผลิตของผักคะน้า ไม่มีความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างตำรับทดลองทั้งหมด นอกจากนี้แล้วการเติมกากตะกอนร่วมกับแกลบทุกอัตราก็ ไม่มีผลทำให้ผลผลิตผักคะน้าแตกต่างกับการเติมกากตะกอนเพียงอย่างเดียว สำหรับผักกาดหอมนั้นผลผลิต ผักกาดหอมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างตำรับทดลอง โดยการเติมกากตะกอนร่วมกับแกลบอัตราต่าง ๆ มีผลทำให้ผลผลิตผักกาดหอมลดลงกว่าการเติมกากตะกอนการลดลงของผลผลิตนี้จะลด ลงตามอัตราการเติมแกลบที่เพิ่มขึ้นจึงกล่าวได้ว่า การเติมแกลบลงไปร่วมกับกากตะกอนนั้น ไม่มีผลต่อการ เพิ่มผลผลิตพืชทั้ง 2 ชนิดให้สูงกว่าการเติมกากตะกอนเพียงอย่างเดียว การสะสมโลหะหนักของผักคะน้าและผักกาดหอม พบว่าผักกาดหอมมีแนวโน้มการสะสมโลหะหนักทั้ง 7 ธาตุที่ตรวจพบสูงกว่าผักคะน้า การเติมแกลบที่อัตราเติมทั้ง 4 อัตราร่วมกับกากตะกอนนั้น เมื่อเปรียบเทียบ กับการเติมเฉพาะกากตะกอนแล้ว ไม่พบความแตกต่างของการสะสมโลหะหนักในส่วนเหนือดินและส่วนใต้ดินของพืชทั้ง 2 ชนิดได้เด่นชัด อย่างไรก็ตามโลหะหนักทุกธาตุที่ตรวจพบ ก็อยู่ในระดับที่ยอมรับให้มีได้ทั่ว ไปในพืช อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภคเมื่อเทียบกับปริมาณที่ยอมรับให้ปนเปื้อนในอาหารและบริโภคได้ สูงสุดในแต่ละวันของ FAO/WHO ส่วนตะกั่ว แคดเมียม และนิเกิลนั้น ตรวจไม่พบในทุกส่วนของพืชทั้ง 2 ชนิด |
Other Abstract: | Use of sewage sludge from Bangkok domestic wastewater treatment plant (Huay Kawng Community) for utilization as fertilizer to grow Chinese Kale Brassica oleracea L. var. alboglabra Bailey) and Lettuce (Lactuca sativa var. crispa) with consideration on risk of heavy metal (lPb, Cd, Ni, Mn, Zn, Cu, Fe) accumulation in shoot and root system of plants. Field experiment was 2 x 4 factorial in – completely randomize with 3 replication of 7 treatment for each plant (control, fertilizer (25-7-7 at 96 kg/rai), sewage sludge (3,200 kg/rai), sewage sludge (3,200 Kg/rai ) with rice 320, 640, 960 and 1,280 kg/rai). The results showed that sewage sludge had adequate potential for utilization as fertilizer. Applied the sludge 3,200 kg/rai and the sludge 3,200 kg/rai together with rice husk 320 640 960 and 1,280 kg/rai to soil gave Chinese Kale and Lettuce products higher than that of Pathum thani’s average product value. Non significant difference among treatments of Chinese Kale product. Applied the sludge gave Chinese Kale product equal to apply the Sludge together with rice husk 4 rates. In case of Lettuce, it had significant difference in Production among treatments. Lettuce product was decreased after applied the sludge together with rice husk 4 rates. In case of Lettuce, it had significant difference in production among treatments. Lettuce product was decreased after applied the sludge with rice husk than applied only the sludge. This decreasing was followed with the increasing rate of rice husk application. In general, applied sewage sludge with or without rice husk had no effected on increasing Vegetables product. Lettuce had tendency to accumulate the heavy metals higher than Chinese Kale. There Had no difference of heavy metals accumulation rice husk at 4 rates. However, the quantity of heavy metals in vegetables were lower than heavy metals permissible value for vegetable. This quantity also was safe for consumer compared with heavy metal acceptable daily intake (ADI,RAO/WHO). In addition, Pb, Cd and Ni accumulated in vegetables were too less to detect. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73629 |
ISBN: | 9745814105 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Komkrit_bh_front_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Komkrit_bh_ch1_p.pdf | 753.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Komkrit_bh_ch2_p.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Komkrit_bh_ch3_p.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Komkrit_bh_ch4_p.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Komkrit_bh_ch5_p.pdf | 892.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Komkrit_bh_back_p.pdf | 3.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.