Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74072
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวัฒนา อุทัยรัตน์ | - |
dc.contributor.author | สุรพล เนาวรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-06-24T02:12:08Z | - |
dc.date.available | 2021-06-24T02:12:08Z | - |
dc.date.issued | 2536 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74072 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วนในด้านการบอกทิศทางของอัตราส่วน การเปรียบเทียบอัตราส่วน และการแก้ปัญหาสัดส่วน และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน ชุดโจทย์ตัวเลข กับชุดโจทย์ภาษา ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2535 จำนวน 375 คน ซึ่งได้รับการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด คือ แบบสอบวัดความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน ชุดโจทย์ตัวเลข และชุดโจทย์ภาษา ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 และ 0.89 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์วิธีคิดหาคำตอบเกี่ยวกับการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทำแบบสอบทั้ง 2 ชุดและการสัมภาษณ์นักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน ชุดโจทย์ตัวเลข โดยรวมคิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 74.67 เมื่อพิจารณาความสามารถในแต่ละด้าน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วนสูงสุดด้านการแก้ปัญหาสัดส่วน คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย คือร้อยละ 84.08 รองลงมาคือด้านการเปรียบเทียบอัตราส่วนร้อยละ 72.67 และด้านการบอกทิศทางของอัตราส่วนร้อยละ 66.33 ตามลำดับ นักเรียนมีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน ชุดโจทย์ภาษา โดยรวมคิดเป็นร้อยละเฉลี่ย 86.43 เมื่อพิจารณาความสามารถในแต่ละด้าน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วนสูงสุดด้านการบอกทิศทางของอัตราส่วน คิดเป็นร้อยละเฉลี่ย คือร้อยละ 88.75 รองลงมาคือด้านการแก้ปัญหาสัดส่วนร้อยละ 85.17 และด้านการเปรียบเทียบอัตราส่วนร้อยละ 84.75 วิธีคิดหาคำตอบที่นักเรียนใช้ในการตอบแบบสัมภาษณ์วิธีคิดหาคำตอบเกี่ยวกับการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วนมี 11 วิธี คือ 1) การคูณไขว้ 2) การพิจารณาเศษ 3) การพิจารณาส่วน 4) การตีความหมาย 5) การนำอัตราส่วน 2 จำนวนมาลบกัน 6) การพิจารณาเศษหรือส่วน 7) การพิจารณาผลต่างของเศษหรือส่วน 8) การทำส่วนให้เท่า ค.ร.น. แล้วพิจารณาเศษ 9) การแก้สมการ 10) การเปรียบเทียบโดยการยกตัวอย่างเป็นตัวเลข 11) การเทียบต่อหนึ่งหน่วย 2. ความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน ชุดโจทย์ตัวเลข และความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน ชุดโจทย์ภาษาของนักเรียน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.6532 | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study the ability in proportional reasoning of mathayom suksa two students in the aspect of the directions of ratios, the comparison of ratios and the proportional problems solving and to find the relationship between the scores of mathayom suksa two students’ ability in proportional reasoning about numerical problem test and word problem test. The subjects were 375 mathayom suksa two students multistage randomly selected from secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis during the 1992 academic year. The three research instruments were the ability in proportional reasoning test about numerical problem and word problem with the reliability of 0.87 and 0.89 respectively, and the interview from concerning strategies to get the answer about proportional reasoning. The data were analyzed by means of frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson product moment correlation coefficient. The findings were as follows: 1. Students totally had the ability in proportional reasoning about numerical problem test with 74.67 average percent. When considering in each aspect, it was found that students had the highest ability in proportional reasoning about the proportional problems solving of 84.08 average percent and the directions of the ratios of 66.33 averge percent respectively. Students totally had the ability in proportional reasoning about word problem test with 86.43 average percent. When considering in each aspect, it was found that students had the highest ability in proportional second aspect was the proportional problem solving of 85.17 average percent and the comparison of the ratios of 84.50 average percent. The strategies used by the students in answering the interview of ability in proportional reasoning consisted of 11 strategies: 1) cross multiplication 2) considering the numerator 3) considering the denominator 4) interpreting the meanings 5) subtracting the two ratios 6) considering the numerator or the denominator 7) considering the differences between the numerator and the denominator 8) making the denominator equal to the least common denominator and considering the mumerator 9) solving the equation 10) comparing by numerical examples 11) unit rate. 2. There were significant correlation between the ability of the students in proportional reasoning about numerical test and word problem test at the 0.05 level. The correlation coefficient was 0.6532. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en_US |
dc.subject | ความสามารถทางคณิตศาสตร์ -- การทดสอบ | en_US |
dc.subject | Mathematics -- Study and teaching (Secondary) | en_US |
dc.subject | Mathematical ability -- Testing | en_US |
dc.title | การศึกษาความสามารถในการใช้เหตุผลเชิงสัดส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | A study of ability in proportional reasoning of mathayom suksa two students, Bangkok metropolis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การศึกษาคณิตศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surapol_na_front_p.pdf | 967.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapol_na_ch1_p.pdf | 933.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapol_na_ch2_p.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapol_na_ch3_p.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapol_na_ch4_p.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapol_na_ch5_p.pdf | 986.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surapol_na_back_p.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.