Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74120
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ | - |
dc.contributor.advisor | สุดาพร ลักษณียนาวิน | - |
dc.contributor.author | อรุณี อรุณเรือง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-06-25T03:54:08Z | - |
dc.date.available | 2021-06-25T03:54:08Z | - |
dc.date.issued | 2533 | - |
dc.identifier.isbn | 9745774499 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74120 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 | en_US |
dc.description.abstract | จากการที่มีผู้สังเกตเห็นว่า เด็กไทยรุ่นใหม่ในปัจจุบันออกเสียงวรรณยุกต์โท เป็นเสียงลอยคล้ายเสียงวรรณยุกต์ตรี ต่างไปจากเสียงวรรณยุกต์โทแบบเดิมที่ใช้กันในกลุ่มผู้ใหญ่ และเด็กบางคนมีลักษณะเช่นนี้ตลอดเวลา แต่บางคนจะมีลักษณะเช่นนี้เฉพาะบางสถานการณ์เท่านั้น งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ที่จะตอบคำถามว่าวรรณยุกต์โทของผู้พูดภาษาไทยกรุงเทพฯ มีการแปรตามอายุของผู้พูด และวัจนลีลา หรือไม่ และถ้ามีลักษณะของการแปรจะเป็นเช่นไร ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอาจารย์ในคณะอักษร และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับอายุ 55-60 ปี และอายุ 35-40 ปี และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนศึกษานารี อายุ 15-20 ปี รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยการสัมภาษณ์พูดคุยซึ่งจัดว่าเป็นลีลาที่ไม่เป็นทางการและการอ่านบทความ ซึ่งจัดเป็นการลีลาที่เป็นทางการ จากผลวิเคราะห์ ผู้วิจัยพบว่า มีรูปแปรวรรณยุกต์โท 5 รูปแปร ได้แก่ รูปแปรวรรณยุกต์กลาง-ตก , สูง-ตก, กลาง-ขึ้น-กลาง, กลาง-ขึ้น-ตก และ กลางระดับ-ตกข้างท้าย การใช้รูปแปรทั้ง 5 รูป เหล่านี้ พบว่าต่างกันตามอายุของผู้พูดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น.01 โดยในกลุ่มอายุ 55-60 ปี ใช้รูปแปรวรรณยุกต์กลาง-ตก มากที่สุด ส่วนในกลุ่มอายุ 35 - 40 ปี ใช้รูปแปรวรรณยุกต์กลาง-ตก มากที่สุดเหมือนกันแต่ได้ใช้รูปแปรวรรณยุกต์สูง-ตก มากจนเป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัด ในขณะที่กลุ่มอายุ 15-20 ปี ใช้รูปแบบแปiวรรณยุกต์กลาง-ขึ้น-กลาง ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ มากที่สุด ส่วนการแปรตามวัจนลีลา กลุ่มผู้ใหญ่ทั้ง 2 กลุ่ม มีการใช้รูปวรรณยุกต์เหมือนและแตกต่างจากกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ดังนี้ คือ ทุกกลุ่มอายุมีการใช้รูปแปร กลาง-ตก ในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อมีความเป็นทางการเพิ่มขึ้น และมีการใช้รูปแปร กลาง-ขึ้น-กลาง ในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อมีความเป็นทางการลดลง แต่กลุ่มผู้ใหญ่ทั้ง 2 กลุ่มมีความถี่ในการใช้รูปแปร กลาง-ตก มากกว่า กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ และกลุ่มเด็กรุ่นใหม่มีความถี่ในการใช้รูปแปร กลาง-ขึ้น-กลาง มากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่ การวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ใหญ่ใช้รูปวรรณยุกต์โทแตกต่างไปจากกลุ่มเด็กรุ่นใหม่อย่างเห็นได้ชัดจึงทำให้คนกลุ่มนี้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของรูปวรรณยุกต์โทของเด็กรุ่นใหม่ได้ชัดเจนอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน รูปแปร กลาง-ตก ยังคงเป็นรูปแบบที่ใช้มากที่สุด แต่ในอนาคต คาดว่า เสียงวรรณยุกต์แบบเด็กรุ่นใหม่อาจจะเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในภาษาไทยกรุงเทพฯ งานวิจัยนี้ เป็นงานที่ริเริ่มการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเสียงวรรณยุกต์ที่กำลังดำเนินอยู่ในภาษาไทยกรุงเทพฯ ยังมีเสียงวรรณยุกต์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ และอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงอีก ซึ่งน่าจะมีการศึกษาค้นคว้าต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | It has been observed that the falling tone in Bangkok Thai pronounced by the young generation seems to be different from that pronounced by the old generation: the pitch is higher and thus becomes very much like the high tone. Moreover, some of the young allegedly use "the new tone" all the time but others use it in some situations. The objective of this study is to find out whether the falling tone of Bangkok Thai speakers varies by age and style, and if it does, what the variation is like. The data were collected in informal conversational style and formal reading style from a sample of 30 persons selected from teachers in the Faculty of Arts and the Faculty of Education, Chulalongkorn University, aged 55-60 and 35-40 years and high-school students from Suksanaree School, aged 15-20 years. The analysis shows that the falling tone consists of five variants: mid-fall, high-fall, mid-rise-mid, mid-rise-fall and mid-level-fall. The use of the falling tone is found to vary significantly according to the age of speakers. (P=.01) The mid-fall is mostly used by the speakers aged 55-60 and 35-40 years but the latter group also uses the high-fall variant considerably. The mid-rise-mid, "the new tone", is mostly used by the speakers aged 15-20 years. As for stylistic variation, it is found that the old and middle-age groups' use of the falling tone variants is both similar and different from the young generation; i.e., according to formality, the rate of the mid-fall increases and that of the mid-rise-mid decreases. However, both the old generation groups use the mid-fall variant in a higher percentage than the young generation, and the latter use the mid-rise-mid variant more than the other two groups. It is shown that the tonal variants of the old generation are obviously different from those of the young generation. So it enables the old generation to observe the change of the falling tone variants of the young. However, nowadays the mid-fall is still the most commonly used one Bangkok Thai. But in the future the falling tone variant of the young generation may be the most frequently used in Bangkok Thai. This study is the beginning of a study of tonal change in progress in Bangkok Thai. Other Thai tones may be in process of change and should investigated. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษาไทย -- เสียงวรรณยุกต์ | en_US |
dc.subject | ภาษาไทยมาตรฐาน | en_US |
dc.subject | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา | en_US |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลงทางภาษา | en_US |
dc.subject | Thai language -- Tone | en_US |
dc.subject | Thai language -- Usage | en_US |
dc.subject | Linguistic change | en_US |
dc.title | การแปรของวรรณยุกต์โทในภาษาไทยกรุงเทพฯ ตามระดับอายุผู้พูด | en_US |
dc.title.alternative | Variation of the falling tone by age of speakers of Bangkok Thai | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | amaraprasithrathsint@gmail.com | - |
dc.email.advisor | Sudaporn.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arunee_ar_front_p.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_ar_ch1_p.pdf | 811.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_ar_ch2_p.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_ar_ch3_p.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_ar_ch4_p.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_ar_ch5_p.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_ar_ch6_p.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_ar_ch7_p.pdf | 819.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Arunee_ar_back_p.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.