Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74123
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | น้อมศรี เคท | - |
dc.contributor.author | สมบัติ วงษ์อยู่น้อย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-06-25T04:19:59Z | - |
dc.date.available | 2021-06-25T04:19:59Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.issn | 9745670952 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74123 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสมองด้านจำนวน ด้านภาษา ด้านเหตุผล ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านความจำ ด้านการรับรู้ทางตา และด้านความคล่องแคล่วในการใช้คำกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบ 2 ชุด ชุดแรกคือแบบทดสอบความสามารถทางสมองซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ฉบับ คือแบบทดสอบความสามารถด้านจำนวน ด้านภาษา ด้านเหตุผล ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านความจำ ด้านการรับรู้ทางตา และด้านความคล่องแคล่วในการใช้คำ ชุดที่สองคือแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลพบุรีจำนวน 304 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) ความสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation) และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นชั้น (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัย 1. ความสามารถด้านจำนวนมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .7009 2. ความสามารถด้านเหตุผล มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .6597 3. ความสามารถด้านความคล่องแคล่วในการใช้คำ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .06210 4. ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .5197 5. ความสามารถด้านภาษา มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .4943 6. ความสามารถด้านความจำ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .4670 7. ความสามารถด้านการรับรู้ทางตา มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .4648 8. ความสามารถด้านจำนวน ด้านภาษา ด้านเหตุผล ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านความจำ ด้านการรับรู้ทางตา และด้านความคล่องแคล่วในการใช้คำ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .76905 9. ในการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตัวพยากรณ์ที่ดี ได้แก่ ความสามารถด้านจำนวน (X1) ด้านเหตุผล (X2) ด้านความคล่องแคล่วในการใช้คำ (X3) ด้านมิติสัมพันธ์ (X4) และด้านการรับรู้ทางตา (X5) สมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ในรูปคะแนนดิบ (YC) และคะแนนมาตรฐาน (ZC) มีดังนี้ YC = 4.26444 + .36758X1 + .17833 X2 + .13264 X3 + .10715 X4 + .09995 X5 ZC = .36113 Z1 + .20055 Z2 + .17006 Z3 + .10479 Z4 + .09596 Z5 | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes The purposes of this study were to study the relationships between mental abilities : number, verbal, reasoning, space, memory, perceptual, word-fluency and mathematics learning achievement of Prathom Suksa five students. Procedures Two sets of tests used in this study were the mental abilities tests which comprised of number ability test, verbal ability, reasoning ability, space ability, memory ability, perceptual ability, word-fluency ability and mathematics learning achievement test. Subjects used in this study were 304 Prathom Suksa five students in schools under the jurisdiction of the office of Lopburi provincial primary education. The Pearson’s Product Moment Correlation, Multiple Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis were used to analyze the data. Results 1. There was a significant relationship between the number ability and the mathematics learning achievement at the .01 level; the correlation coefficient was .7009. 2. There was a significant relationship between the resoning ability and the mathematics learning achievement at the .01 level; the correlation coefficient was .6597 3. There was a significant relationship between the word fluency ability and the mathematics learning achievement at the .01 level; the correlation coefficient was .6210. 4. There was a significant relationship between the space ability and mathematics learning achievement at the .01 level; the correlation coefficient was .5197 5. There was a significant relationship between the verbal ability and the mathematics learning achievement at the .01 level; the correlation coefficient was .4943. 6. There was a significant relationship between the memory ability and the mathematics learning achievement at the .01 level; the correlation coefficient was .4670. 7. There was a significant relationship between the perceptual ability and the mathematics learning achievement at the .01 level; the correlation coefficient was .4648 8. There was a significant relationship between mental abilities; number, verbal, reasoning, space, memory, perceptual and word-fluency and mathematics learning achievement at the .01 level; the multiple correlation coefficient were .76905. 9. The best predictative variables for estimating the mathematics learning achievement of Prathom Suksa five students were : number (X1), reasoning (X2), word-fluency (X3), space (X4) and perceptual (X5). The predication equation found for estimating the mathematics learning achievement in forms of raw score (YC) and standard score (ZC) were as follows: YC = 4.26444 + .36758X1 + .17833 X2 + .13264 X3 + .10715 X4 + .09995 X5 ZC = .36113 Z1 + .20055 Z2 + .17006 Z3 + .10479 Z4 + .09596 Z5 | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1986.69 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การทดสอบความสามารถ | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en_US |
dc.subject | Ability -- Testing | en_US |
dc.subject | Mathematics -- Study and teaching (Elementary) | en_US |
dc.subject | Academic achievement | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางสมอง กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 | en_US |
dc.title.alternative | Relationships between mental abilities and mathematics learning achievement of prathom suksa five students | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ประถมศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1986.69 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sombat_wo_front_p.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sombat_wo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sombat_wo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sombat_wo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sombat_wo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sombat_wo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sombat_wo_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 9.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.