Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74154
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิต บุญบงการ-
dc.contributor.advisorแสง สงวนเรือง,-
dc.contributor.authorจุมพล หนิมพานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-25T07:44:46Z-
dc.date.available2021-06-25T07:44:46Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.issn9745664464-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74154-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ ประการที่หนึ่งเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสิน กำหนดนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ประการที่สองเพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการที่ชนชั้นนำทางการเมืองโดยเฉพาะทางตัวแทนโรงงานน้ำตาลตลอดจนผู้ที่ส่งน้ำตาลเป็นสินค้าออก ตัวแทนชาวไร้อ้อยและทางราชการใช้อำนาจอิทธิพลในการผลักดันนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายให้ออกมาอยู่ในแนวที่ตนต้องการคือ ทำให้เป้าหมายของตนที่ตั้งไว้บรรลุผล วิธีการศึกษาทำโดยวิธีการวิจัยเอกสารโดยมีสมมติฐานในการศึกษาดังนี้คือ ในการกำหนดนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ชนชั้นนำทางการเมืองต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วมน่าจะได้รับอิทธิพลจากปัจจัยในการตัดสินกำหนดนโยบายดังกล่าวต่างกันและต่างพยายามใช้อำนาจอิทธิพลที่ตนมีผลักดันนโยบายให้ออกมาอยู่ในแนวที่ตนต้องการด้วยรูปแบบวิธีการต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเหนือสิ่งอื่นใด ผลการศึกษาปรากฏว่า (1)ในส่วนที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายในช่วงปี พ.ศ. 2522-2525 ซึ่งในการศึกษานี้เน้นเฉพาะปัจจัยทางเศรษฐกิจนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้กล่าวคือ ในการกำหนดนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายในช่วงปี พ.ศ. 2522-2525 ชนชั้นนำทางการเมืองที่มีส่วนร่วมต่างได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางเศรษฐกิจในการกำหนดนโยบายดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้เพราะ จากการศึกษาพบว่า ในการกำหนดนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาล ชนชั้นนำทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากทางชาวไร่อ้อย ตัวแทนจากโรงงานน้ำตาล ตลอดจนผู้ที่ส่งน้ำตาลเป็นสินค้าออกและตัวแทนจากทางราชการจะได้มีการนำปัจจัยทางเศรษฐกิจคือ ตัวเลขต้นทุนการผลิตอ้อยและตัวเลขตนทุนการผลิตน้ำตาลที่ได้มีการ ประมาณมาจากคณะอนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ เป็นต้น มาพิจารณาวิเคราะห์กันอย่างละเอียดรอบคอบทุกครั้งก่อนที่จะนำปัจจัยทางเศรษฐกิจดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณานโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายให้พิจารณาตัดสินชี้ขาดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในขั้นสุดท้าย (2)ในส่วนที่เกี่ยวกับความพยายามใช้อำนาจอิทธิพลของบรรดาชนชั้นนำทางการเมืองต่าง ๆ เพื่อผลักดันนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายในช่วงปี พ.ศ. 2522-2525 ให้ออกมาอยู่ในแนวทางตนต้องการ ทั้งนี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเหนืออื่นใด ในส่วนนี้อีกเช่นกัน เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพราะในแต่ละขั้นตอนของการกำหนดนโยบายดังกล่าวชนชั้นนำทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากชาวไร่อ้อย ตัวแทนจากโรงงานน้ำตาล ตลอดจนผู้ทีส่งน้ำตาลเป็นสินค้าออกและตัวแทนจากรัฐบาลต่างได้พยายามใช้อำนาจอิทธิพลที่ตนมี โดยสรุปดังนี้คือ (2.1) กรณีการใช้อำนาจอิทธิพลของตัวแทนขาวไร่อ้อย เพื่อให้นโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการรับซื้ออ้อยเป็นประโยชน์กับฝ่ายตนมากที่สุด ทางตัวแทนชาวไร่อ้อยได้พยายามใช้อำนาจอิทธิพลที่ตนมีในรูปของการชักชวนคือการให้ข่าวสารข้อมูลผ่านฝ่ายการเมืองระดับสูง ผ่านกลไกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายนี้ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติผ่านนักการเมืองและพรรคการเมืองที่มีนโยบายช่วยเหลือพวกตนและผ่านสื่อมวลชนที่มีความเห็นใจในความเดือดร้อนของฝ่ายตน แต่เมื่อเห็นว่าการใช้อำนาจอิทธิพลในรูปดังกล่าวคือการชักชวนหรือการให้ข่าวสารข้อมูลไม่ได้ผล ทางตัวแทนชาวไร่อ้อยก็จะใช้อำนาจอิทธิพลในรูปของความกดดัน เช่นการชุมนุมประท้วงตลอดจนสร้างสถานการณ์สลับกันไป การที่ทางตัวแทนชาวไร่อ้อยสามารถใช้อำนาจอิทธิพลไม่ว่าจะผ่านบุคคล องค์การ สถาบันใดก็ตามได้ผลระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในขั้นรวบรวมข่าวสารข้อมูลและขั้นยกร่างนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายน่าจะเป็นเพราะบรรดาตัวแทนชาวไร่อ้อยรู้จักวิธีที่จะเข้าถึงบุคคลสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินกำหนดนโยบายดังกล่าวโดยตรงประกอบกับทางตัวแทนชาวไร้อ้อยเองก็มีความสามารถในการใช้ทรัพยากรทางการเมืองไม่ว่าจะในเรื่องของความสามารถที่จะนำพลังความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวไร่อ้อยที่มีอยู่เป็นจำนวนมากเข้าต่อรองกับรัฐ กลไกของรัฐหรือการรู้จักรู้วิธีการเข้าพบบุคคลสำคัญที่มีอำนาจหน้าที่ที่สามารถช่วยพวกตนเหล่านี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้การใช้อำนาจอิทธิพลของตัวแทนชาวไร่อ้อยได้ผลในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในบางขั้นตอนของการกำหนดนโยบาย อาทิ เช่น ขั้นนำนโยบายไปปฏิบัติ ทางตัวแทนชาวไร่อ้อยประสบปัญหาในแง่ที่ไม่สามารถจะใช้อำนาจอิทธิพลที่ตนมีในขั้นนี้ให้ได้ผลอย่างเต็มที่ได้ ทั้งนี้นอกจากจะเป็นเพราะตัวแทนขาว ไร่อ้อยบางคนมีผลประโยชน์ร่วมกับทางโรงงานน้ำตาลตลอดจนผู้ที่ส่งน้ำตาลเป็นสินค้าออกแล้วความสามารถในการใช้ทรัพยากรทางการเมืองของทางตัวแทนชาวไร่อ้อยเองก็สู้กรณีของทางตัวแทนโรงงานน้ำตาลตลอดจนผู้ที่ส่งน้ำตาลเป็นสินค้าออกไม่ได้ (2.2) กรณีการใช้อำนาจอิทธิพลของทางตัวแทนโรงงานน้ำตาลตลอดจนผู้ส่งน้ำตาลเป็นสินค้าออก เพื่อให้นโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ทั้งที่ขายเป็นกระสอบและขายเป็นกิโลกรัมในลักษณะที่ได้ราคา เป็นต้นออกมาเป็นประโยชน์กับฝ่ายตนมากที่สุด ทางตัวแทนดังกล่าวได้พยายามใช้อำนาจอิทธิพลที่ตนมีในรูปของการชักชวนคือการให้ข่าวสารข้อมูล ความร่วมมือตลอดจนการรายงานความเดือดร้อนผ่านฝ่ายการเมืองระดับสูงผ่านกลไกรัฐทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ในกรณีที่เห็นว่าการใช้อำนาจอิทธิพลในรูปดังกล่าวคือการชักชวนหือการให้ข่าวสารข้อมูลไม่ได้ผล ทางตัวแทนโรงงานน้ำตาลก็จะใช้อำนาจอิทธิพลในรูปของความกดดัน เช่น การขู่ว่าน้ำตาลจะขาดตลาดบ้าง เป็นต้น การที่ทางตัวแทนโรงงานน้ำตาลตลอดจนผู้ที่ส่งน้ำตาลเป็นสินค้าออกสามารถใช้อำนาจอิทธิพลที่ตนมีไม่ว่าจะโดยการผ่านบุคคล องค์การ สถาบันใดก็ตามที่ได้ผลในขั้นตอนของการกำหนดนโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะขึ้นอยู่กับบรรดาตัวแทนดังกล่าว รู้จักใช้ความสัมพันธ์รูปแบบต่าง ๆ ที่ตนมีโดยเฉพาะกับทางฝ่ายการเมืองระดับสูงและกับกลไกรัฐให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตนมากที่สุดได้ อีกส่วนหนึ่งน่าจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้าถึงบุคคล องค์การตลอดจนสถาบันเหล่านั้นตลอดรวมถึงความสามารถในการใช้ทรัพยากรทางการเมืองไม่ว่าจะในเรื่องของการรู้จักวิธีการเข้าพบบุคคลสำคัญ การมีศิลปะในการใช้อำนาจอิทธิพล เป็นต้น (2.3) กรณีการใช้อำนาจอิทธิพลของทางราชการ เพื่อให้นโยบายการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายที่กำหนดออกมาเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทางรัฐบาลหรือทางราชการได้พยายามใช้อำนาจอิทธิพลที่ตนมีตามกฎหมาย เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือให้ข้อคิดเห็นเสมอ ในบางกรณีที่เห็นว่าการประชุมจะหาข้อยุติได้ยาก ก็จะใช้วิธีการเจรจาประนีประนอมจนทุกฝ่ายพอใจ โดยดำเนินการในลักษณะนี้ในแทบทุกขั้นตอนของการกำหนดนโยบาย ยกเว้นในขั้นนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติที่ทางราชการมักจะใช้อำนาจและบทลงโทษตามกฎหมายนั้น ๆ กับโรงงานน้ำตาลตลอดจนผู้ที่ส่งน้ำตาลเป็นสินค้าออกค่อนข้างรุนแรงทั้งนี้เพราะไม่พยายามปฏิบัติตามนโยบายและมาตราการที่กำหนดไว้ โดยสรุป การศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นว่าการกำหนดนโยบายในกรณีของประเทศไทยยังคงเป็นเรื่องของชนชั้นนำทางการเมือง-
dc.description.abstractalternativeThe objecttives of this study are as follows : 1) to study factors that influence policy formulation regarding sugar production and distribution ; 2) to study the ways in which political elites, particularly those representing sugar factories, sugar exporters, sugarcane planters, etc, exercise their power and influence in order that policies concerning sugar industry would be beneficial to them. The research methodology is basically by means of documentary research. The hypothesis of this study was that : in order to formulate sugar production and distribution policies, the political elites involved were influenced by different factors and each of them tried to exercise their power and influence in order that the policies concerning sugar industry would benefit their own interest. The findings of this study were as follows : 1)Concerning the factors influencing the policies on sugar production and distribution during the years 1979-1982, the results of the study proved to be in accordance with the hypothesis. In order to formulate sugar production and distribution policies during the years 1979-1982, the political elites involved were influenced by economic factors. According to the study, policy formulation regarding sugar production and distribution was based on various economic factors nanely, the cost of sugarcane planting, cost of sugar production estimated by various committees or task forces. Careful analysis was made before presenting recommendations to the Committee on Policy Formulation prior to the cabinet’s approval. 2) Regarding the power and influence exercised by political elites to formulate sugar production and distribution policies to safeguard their own interests, the findings of the study also proved to be in accordance with the hypothesis. Findings can be summarized as follows. 2.1) For the case of using the power and influence from those representing sugarcane planters, it was discovered that sugarcane planters exercised the power and influence in the form of giving information disseminating strategies to lobby top political elites. Various means of dissemination of information were channelled through politicians and political parties who were inclined to render support and through mass mass media who were were sympathetic to their cause. If these strategies were found not to be effective, sugarcane planters tended to use other means such as, staging demonstrations or creating political unrest and etc., The reason, why the sugarcane planters were rather successful in exercising their power and influence particularly in the step of intelligence and drafting sugar production and distribution policies, was that the sugarcane planters knew how to approach important policy-makers directly. Also they themselves were capable of handling political resources, for example; they were able to mobilize a great number of sugarcane planters to bargain with government and government agencies, to persuade those in authorities to render support. All of this worked towards their benefits. However, there were obstacles in implementing the policies. Problems arose when representatives of sugarcane planters were not able to exercise their power and influence to the fullest extent. This was due to the fact that some of them had joint interest with sugar factory groups and sugar exporters. Moreover they were more experienced than those of the representatives of sugar manufacturers and sugar exporters in dealing with political resources. 2.2) As for the case of using the power and influence from those representing sugar factories and exporters, it was discovered that these elites also exercised their power and influence in the form of giving information, disseminating strategies through the channel of top political elites, government agencies concerned with policy formulation and policy implementation. When these strategies failed to be effective, they would resort to other means such as threatening to stop distributing sugar into the market and etc., The reasons why this group was successful in exercising their power were due to their strategies of establishing direct contact with top political elites and government agencies concerned who were likely to render support. Also it was because of their ability to handle political resources, such as, having direct contact with the policy-makers, organization and then ingenuity in exercising influence over important authorities etc., 2.3)For the case of using the power and influence from those government agencies, it was discovered that government agencies attempted to invite all parties concerned with policy formulation regarding sugar production and distribution for consultation. Whenever the resolution could not be easily reached, the government agencies would use certain way of negotiating and compromising with all parties. These means were employed in almost all steps with the exception of the step in which the policies were implemented. The government was able to exercise its authority within the law on those sugar manufacturers as well as exporters when they failed to implement the government policies. In conclusion, the study has pointed out that policy making still depends on Thai political elites.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1986.72-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร -- นโยบายของรัฐen_US
dc.subjectชนชั้นนำen_US
dc.subjectกลุ่มอิทธิพลen_US
dc.subjectชนชั้นทางสังคม -- ไทยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมน้ำตาลen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectAgricultural extension work -- Government policyen_US
dc.subjectElite (Social sciences)en_US
dc.subjectPressure groupsen_US
dc.subjectSocial classes -- Thailanden_US
dc.subjectSugar tradeen_US
dc.titleชนชั้นนำทางการเมืองไทยกับการกำหนดนโยบาย : ศึกษาเฉพาะกรณีการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย 2522-2525en_US
dc.title.alternativeThai political elites and policy making : a case study of sugar production and distribution, 1979-1982en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1986.72-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jumpol_ni_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ2.29 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch1_p.pdfบทที่ 13.03 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch2_p.pdfบทที่ 23.77 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch3_p.pdfบทที่ 33.69 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch4_p.pdfบทที่ 44.6 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch5_p.pdfบทที่ 53.64 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch6_p.pdfบทที่ 67.42 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch7_p.pdfบทที่ 78.28 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch8_p.pdfบทที่ 85.42 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_ch9_p.pdfบทที่ 92.33 MBAdobe PDFView/Open
Jumpol_ni_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.