Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74276
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์-
dc.contributor.authorกฤษฎาภฤศ ปึงภัทรกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-07-01T08:11:42Z-
dc.date.available2021-07-01T08:11:42Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74276-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนา ศึกษา และวิเคราะห์เครือข่ายการท่องเที่ยวของประเทศไทยผ่านทางทฤษฎีเครือข่าย และค่าความเป็นศูนย์กลางแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการระบุบทบาทหน้าที่ของแต่ละพื้นที่การท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ เครือข่ายการท่องเที่ยวที่ถูกพัฒนาขึ้นจัดเป็นเครือข่ายแบบถ่วงน้ำหนักที่ค่าน้ำหนักของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่การท่องเที่ยวแปรผันตามค่าอัตราการไหลของนักท่องเที่ยวระหว่างพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวต่างๆ เช่น จำนวนแหล่งท่องเที่ยว และที่พักในพื้นที่ท่องเที่ยว จากผลการศึกษา ผู้วิจัยพบว่า กรุงเทพมหานครถือเป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวของประเทศไทยในทุกแง่มุม ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากความพร้อมด้านประชากร และศักยภาพในการสนับสนุนการท่องเที่ยว ในขณะที่จังหวัดรอบนอกของกรุงเทพมหานครมีความสำคัญในเชิงการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยว นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า จังหวัดเชียงใหม่ ปัตตานี ราชบุรี ชลบุรี ร้อยเอ็ด ถือเป็นจุดศูนย์กลางของพื้นที่การท่องเที่ยวรองในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย โดยมีจังหวัดนครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่สำคัญต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่การท่องเที่ยวภายในประเทศen_US
dc.description.abstractalternativeThis research focuses on the development, study, and investigation on Thai tourism network, where Network Theory and several centrality measures are applied to structurally identify the role of each tourism area in such a network. With this piece of information, the tourism authority would be able to devise efficient and sustainable tourism development plans that benefit tourism industry as a whole. Our tourism network is regarded as a weighted one, where link weights are assigned based on tourism flow among tourism areas, taken into account tourism factors such as numbers of attractions and accommodations in each area. Based on the computational results, we find that Bangkok is the most important tourism area in all aspects, and the peripheral areas close to Bangkok are supported area facilitating tourism flow to Bangkok. In addition, Chiangmai, Pattani, Ratburi, Chonburi, and Roi et provinces are identified as the center of tourism area in each region, while Nakhon Ratchasima, Prachuap Khiri Khan, Chumphon, and Nakhon Sawan serve as the gates between these tourism areas.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1302-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการท่องเที่ยว-
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว-
dc.subjectไทย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว-
dc.subjectTravel-
dc.subjectTourism-
dc.subjectThailand -- Description and travel-
dc.titleการศึกษาและวิเคราะห์เครือข่ายการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeStudy and investigation on Thai tourism networken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpisit.ja@chula.ac.th,pisit.jaru@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1302-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
En_6070905121_Krissadapruk Pu.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.