Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74633
Title: ลักษณะเฉพาะของโรงปฏิบัติการนำทางเอนกประสงค์สำหรับกระบวนการ ทางเทคโนโลยีชีวภาพ
Other Titles: Characteristics of general purpose pilot laboratory for biotechnological processes
Authors: ไสว โลจนะศุภฤกษ์
Advisors: สุรพงศ์ นวังคสัตถศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เทคโนโลยีชีวภาพ
ห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้คือ เพื่อรวมหลักเกณฑ์และพัฒนาวิธีในการจัดสร้างลักษณะเฉพาะของโรงปฏิบัติการนำทางลักษณะเอนกประสงค์สำหรับกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ สำหรับได้ว่าปัจจุบันสำคัญที่มีผลต่อโครงร่างอาคารคือสภาพปราศจากเชื้อและการกักกันจุลชีพ วิธีการเบื้องต้นประกอบด้วยการจำแนกและจัดกลุ่มหน้าที่ของพื้นที่การทำงาน กำหนดขั้นความสะอาดแต่ละพื้นที่ จัดวางผังพื้นที่ตามระดับความสะอาด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของหน้าที่ระหว่างพื้นที่แต่ละพื้นที่ และสุดท้ายปรับการจัดวางพื้นที่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การใช้งาน มีพื้นที่สำคัญสามชนิดในโรงปฏิบัติการนำทางได้แก่ พื้นที่กระบวนการทั่วไปเป็นอาคารปิดความสูง 6 เมตรตรงกลาง เป็นห้องโถงเปิดโล่งตลอดความสูงอาคาร ขนาดพื้นที่ 12 ตร.ม.ต่อหน่วยปฏิบัติการ พื้นที่ปราศจากเชื้อ เป็นโมดูลห้องสะอาดความสูง 3-4 เมตร ระดับชั้นความสะอาด 10,000 ขนาด พื้นที่ 30 ตร.ม. ต่อหน่วยปฏิบัติการ พื้นที่กักกันจุลชีพเป็นโมดูลเช่นเดียวกับห้องสะอาดในพื้นที่ปราศจากเชื้อที่มีระบบความดันเป็นค่าลบ ประกอบด้วยอย่างน้อย 2 โมดูลติดต่อกัน มีกลไกป้องกันและฆ่าเชื้อวัสดุทั้งหมดที่ออกมาได้แก่ ชุดกรองอากาศและชุดเผาละอองไอ ถังฆ่าเชื้อ และเตาอบฆ่าเชื้อ ลักษณะเฉพาะที่สำคัญทางอุปกรณ์คือการออกแบบทางสุขลักษณะ อุปกรณ์ที่เป็นแกนหลักได้แก่ ถังหมัก เป็นชุดของถังหมักมาตรฐานขนาด 1-10, 11-100 และ 1,000 ลิตรถังผสม เครื่องฆ่าเชื้อแบบต่อเนื่อง เครื่องแยกแบบแรงหนีศูนย์กลาง เครื่องแยกแบบเยื่อบาง และเครื่องบดย่อยสลายเซลล์ ขนาดความจุเทียบเท่าสูงสุดของแต่ละอุปกรณ์เท่ากับ 1 ลบ.ม. ต่อหนึ่งปฏิบัติการ สาธารณูปโภคต่อ 1 ลบ.ม. สารอาหารได้แก่ ระบบผลิตและแจกจ่ายน้ำบริสุทธิ์ขนาด 3.34 ลบ.ม. น้ำบริสุทธิ์สูงยิ่ง 2 ลบ.ม. ไอน้ำสะอาดที่อุณหภูมิ135 ◦ซ. ความดัน 45 psig ขนาด 640 กก. ไอน้ำต่อชั่วโมง พลังงานไฟฟ้าสำหรับกระบวนการ 27 กิโลวัตต์ อากาศสะอาดอัดขนาด 2 ลบ.ม.ต่อนาที
Other Abstract: The purposes of this thesis are, to integrate guidelines and to develop method in establishing characteristics of a general purpose pilot laboratory forbiotechnological process. The conclusion is that the major factors influencing the building configuration are sterility and containment. The basic method consists of functional classification and grouping of working area, definition of the cleanliness in each area, area planning base on the level of cleanliness, analysis of the functional relationship between each area, and final arrangement of the area to suit operational needs. There are three main types of area in the pilot laboratory, namely, the general process area which is a closed building with 6 metre height and a full height open area in the middle with 12 sq.m. per unit operation, the sterile area which is a module of clean room class 10,000 with 3-4 metre height and area sizing of 30 sq.m. per unit operation, the containment area, similar to clean room module of sterile area with negative pressure system consisting of at least 2 conjugating modules with sterilization system for sterilizing all output, filter with incinerator for aerosol, kill tank and autoclave. The major characteristic of equipment is hygeinic design features. The basic equipments are, a set of standard fermenter sizing 1-10, 11 - 100 and 1,000 litre, mixing tanks, continuous sterilizers, centrifuges, membrane separation equipments, and homogenizers. Each equipment has maximal equivalent capacity of 1 cu.m. per operation. The uitility per 1 cu.m. substrate are, production and distribution system of, purified water capacity 3.34 cu.m, ultra purified water capacity 2 cu.m., clean steam at temperature 135 ◦C pressure 45 psig capacity 640 kg. per hour, electrical power for processing 27 kw., clean compressed air capacity 2 cu.m. per minute.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74633
ISSN: 9745840947
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawai_lo_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.12 MBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch1_p.pdfบทที่ 11.02 MBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch2_p.pdfบทที่ 21.84 MBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch3_p.pdfบทที่ 3956.69 kBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch4_p.pdfบทที่ 4697.62 kBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch5_p.pdfบทที่ 5718.84 kBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch6_p.pdfบทที่ 61.58 MBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch7_p.pdfบทที่ 71.51 MBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch8_p.pdfบทที่ 8920.86 kBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch9_p.pdfบทที่ 92.24 MBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch10_p.pdfบทที่ 10822.34 kBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch11_p.pdfบทที่ 111.3 MBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch12_p.pdfบทที่ 12772.51 kBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_ch13_p.pdfบทที่ 13822.28 kBAdobe PDFView/Open
Sawai_lo_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.