Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74801
Title: การศึกษาการใช้โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ที่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: A study of using supportive educative program at home on self-care behaviors of schizophrenic patients in community, Chaam District, Petchburi Province
Authors: นริศรา หวนนิช
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ความวิตกกังวล
ผู้ป่วยจิตเภท
ผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแลที่บ้าน
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
Anxiety
Schizophrenics
Schizophrenics -- Home care
Self-care, Health
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการศึกษาอิสระเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังการใช้โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ที่บ้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ที่บ้าน ซึ่งได้รับการตรวจความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีเนื้อหาครอบคลุมการดำเนินกิจกรรมหลัก ๆ คือ การสร้างสัมพันธภาพ การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก และการให้ความรู้จำเป็นที่เกี่ยวข้องคับการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน เช่น โรคจิตเภท การรักษาด้วยยาทางจิต การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตครอบครัว และ การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมดูแลตนเอง ซึ่งมีค่าความเที่ยงอัลฟาของ ครอนบาค เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที (Dependent t-test) ผลการศึกษาที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ที่บ้าน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสนับสนุนและให้ความรู้ที่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t = -26.215, -20.119, -16.123, -10.896 และ -22.235 ตามลำดับ)
Other Abstract: The purposes of this independent study were to compare self-care behaviors scores of schizophrenic patients before and after the utilization of educative supportive program at home. The samples were 20 patients with schizophrenic who met the inclusion criteria and residing in community, Chaam District, Petchburi Province. The study instrument was educative supportive program at home which was validated by three professional experts. The main activities of this program composed of nurse-patients relationship, counseling and providing essential knowledge related to caring patients at home such as schizophrenia, psychotropic treatment, and environmental management to promote family mental health, and relapse prevention. Data were collected using self-care behavior interview that had Chronbach alpha reliability coefficient as of .86. The dependent t-test was used in data analysis to test the study hypothesis. Major findings were as follows: Self-care behaviors of schizophrenia patients after the utilization of educative supportive program at home were significantly higher than that before at p .05 (t = -26.215, -20.119, -16.123, -10.896 และ -22.235).
Description: สารนิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74801
Type: Independent Study
Appears in Collections:Nurse - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narissara_hu_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ851.94 kBAdobe PDFView/Open
Narissara_hu_ch1_p.pdfบทที่ 11.53 MBAdobe PDFView/Open
Narissara_hu_ch2_p.pdfบทที่ 23.17 MBAdobe PDFView/Open
Narissara_hu_ch3_p.pdfบทที่ 32.24 MBAdobe PDFView/Open
Narissara_hu_ch4_p.pdfบทที่ 4703.4 kBAdobe PDFView/Open
Narissara_hu_ch5_p.pdfบทที่ 51.17 MBAdobe PDFView/Open
Narissara_hu_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.