Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74893
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิพัฒน์ พัฒนไพบูลย์-
dc.contributor.advisorเจียมจิตค์ บุญสม-
dc.contributor.authorธันยกร จินต์ประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-08-13T08:24:54Z-
dc.date.available2021-08-13T08:24:54Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.issn9745844616-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74893-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractความหลากหลายของชนิดและมวลชีวภาพของพันธุ์ไม้น้ำในบึงบอระเพ็ด ภายหลังการจัดการเชิงประมง พ.ศ. 2535 โดยทำการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2536 ศึกษาจำนวนชนิด, การแพร่กระจาย, ผลผลิตมวลชีวภาพและความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และดัชนีความหลาก หลาย โดยวิธีการวางแปลงตัวอย่างแบบถาวร ขนาด 1 ตารางเมตร จำนวน 5 แปลงต่อสถานี ในบริเวณ 6 สถานีที่มีสภาพแตกต่างกัน ผลการศึกษาพบพันธุ์ไม้น้ำ 32 ชนิด ใน 22 วงศ์ จำแนกเป็นพืชลอยน้ำ 7 ชนิด พืชที่มีใบลอยน้ำ 3 ชนิด พืชใต้น้ำ 5 ชนิด และพืชโผล่พ้นน้ำ 17 ชนิด ผลผลิตมวลชีวภาพรวมโดยน้ำหนักแห้งตลอดปี 2194 กรัม/ตารางเมตร ผลผลิตเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 182.9 กรัม/ตารางเมตร พืชที่มีใบลอยน้ำจะให้ผลผลิตมวลชีวภาพสูงที่สุด รองลงมาคือพืชลอยน้ำโผล่พ้นน้ำและจมใต้น้ำตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลชีวภาพของพืชลอยน้ำมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับความโปร่งใส อุณหภูมิ และมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับ pH และแอมโมเนีย อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ส่วนพืชที่มีใบลอยน้ำได้แก่บัวหลวง มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับความโปร่งใส คาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิ และไนเตรท และมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับออกซิเจนละลาย pH และแอมโมเนีย สำหรับพืชจมใต้น้ำได้แก่ ดีปลีน้ำ มีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับออกซิเจนละลาย pH แอมโมเนีย ไนเตรท และฟอสเฟต และสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับ ความโปร่งใสและคาร์บอนไดออกไซด์อิสระ ส่วนพืชโผล่พ้นน้ำคือเอื้องเพ็ดม้า พบว่ามีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับความลึก สำหรับการแพร่กระจายของพันธ์ไม้น้ำพบว่า ในบริเวณที่ต้นพืชโผล่พ้นน้ำเช่น กก เอื้องเพ็ดม้า จะมีการแพร่กระจายสูง ส่วนในตอนกลางบึงพบดีปลีน้ำ บัวหลวงและสาหร่ายชนิด ๆ มีการแพร่กระจายสูง-
dc.description.abstractalternativeSpecies diversity and biomass of aquatic plants in Bung-Boraped after 1992 fishery management program has been studied in 6 different geographic sites during October 1992 – October 1993, by using all fixed quadrat in five replication. Aquatic plants were collected monthly to identify species, distribution, species diversity and biomass. The correlation between population parameters and physico-chemical factors of water and soils were determined. Results indicated that 32 species of aquatic plants in 22 families (7 floating, 3 floating level, 5 submerged and 17 emerged) were found during this study period. The sum of biomass product were 2, 194 gram dry weight/m². The biomass fluctuation of some floating dominance species (S. cucullata, E. crassipes and J. repens) significantly correlated positively with transparency and temperature but correlated negatively with pH and ammonia (p<0.05). For floating leaved (N. nucifera) biomass change positively correlated with transparency, CO₂, temperature and nitrate, but negatively correlated with dissolved oxygen, pH, and ammonia (p < 0.05). Submerged (P. malaianus) biomass change positively correlated with dissolved oxygen, pH, ammonia, nitrate and phosphate, but negatively correlated with transparency (p < 0.05). Emerged (P. tomentosum) biomass change positively correlated with depth. An increase of water depth caused less distribution emerged and submerged plants, on the other hand, floating and floating leaved plant were higher distribution.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพืชน้ำ -- ไทย -- นครสวรรค์en_US
dc.subjectนิเวศวิทยาน้ำจืดen_US
dc.subjectความหลากหลายทางชีวภาพen_US
dc.subjectบึงบอระเพ็ด (นครสวรรค์)en_US
dc.titleความหลากหลายของชนิดและมวลชีวภาพของพันธุ์ไม้น้ำในบึงบอระเพ็ดภายหลังการจัดการเชิงประมง พ.ศ. 2535en_US
dc.title.alternativeSpecies diversity and biomass of aquatic plants in Bung Boraped after the 1992 fishery managementen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanyakorn_jy_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Tanyakorn_jy_ch1_p.pdfบทที่ 1722.85 kBAdobe PDFView/Open
Tanyakorn_jy_ch2_p.pdfบทที่ 21.15 MBAdobe PDFView/Open
Tanyakorn_jy_ch3_p.pdfบทที่ 31.18 MBAdobe PDFView/Open
Tanyakorn_jy_ch4_p.pdfบทที่ 42.56 MBAdobe PDFView/Open
Tanyakorn_jy_ch5_p.pdfบทที่ 51.47 MBAdobe PDFView/Open
Tanyakorn_jy_ch6_p.pdfบทที่ 6681.18 kBAdobe PDFView/Open
Tanyakorn_jy_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.