Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7508
Title: การเปรียบเทียบประสิทธิผลของแผ่นยาชาลิโดเคนที่ผลิตเองในประเทศกับแผ่นยาชาลิโดเคนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในการลดความเจ็บปวดจากการแทงเข็มฉีดยาและการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน
Other Titles: Comparison of the efficacy of the locally made and the commercial intraoral lidocaine patches in reducing pain caused by needle insertion and scaling and root planing
Authors: วิพุธสินี เตือนอารีย์
Advisors: ศานุตม์ สุทธิพิศาล
สุพจน์ ตามสายลม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: sanutm@hotmail.com
tusuphot@hotmail.com
Subjects: ยาระงับความรู้สึก
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยาชาลิโดเคนชนิดแผ่นแปะ (เดนติแพทช์) เป็นยาชาเฉพาะที่สำหรับภายนอกที่มีผลการศึกษายืนยันว่ามีประสิทธิผลดีในการลดความเจ็บปวดจากการแทงเข็มฉีดยาและทำให้เกิดการชาของผิวเยื่อเมือกช่องปากเพียงพอสำหรับทันตกรรมบำบัดบางชนิดได้ แต่ยาชาเฉพาะที่ชนิดนี้ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีราคาสูงและยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของแผ่นยาชาลิโดเคนที่ผลิตเองในประเทศโดยภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปรียบเทียบกับแผ่นยาชาลิโดเคนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดหรือเดนติแพทช์ในการลดความเจ็บปวดที่เกิดจากการแทงเข็มฉีดยาและการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน โดยเป็นการศึกษาแบบ single-blind, randomized, split-mouth, clinical trial ในกลุ่มตัวอย่างชายและหญิงอายุ 30-50 ปี จำนวน 22 คน ที่มีร่องลึกปริทันต์ของฟันกรามน้อยทั้งสองข้างของขากรรไกรบน 4-7 มิลลิเมตรและมีค่าดัชนีหินน้ำลายไม่น้อยกว่า 2 โดยทำการประเมินความเจ็บปวดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสเกลเวอร์เบิลเพน (VPS) และสเกลวิชวลอะนาลอก (VAS) ผลการวิจัยพบว่าในการทดสอบด้วยการแทงเข็มฉีดยาด้านแก้มได้ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวด VPS และ VAS จากกลุ่มที่ใช้แผ่นยาชาลิโดเคนเท่ากับ 0.36-+0.49 และ 6.2045-+1.5450 และกลุ่มที่ใช้เดนติแพทช์เท่ากับ 0.32-+0.48 และ 4.9545-+1.4880 ตามลำดับ เมื่อทดสอบด้วยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันด้านแก้มพบว่าได้ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวด VPS และ VAS จากกลุ่มที่ใช้แผ่นยาชาลิโดเคนเท่ากับ 1.09-+0.53 และ 22.2045-+3.0932 และกลุ่มที่ใช้เดนติแพทช์เท่ากับ 1.18-+0.66 และ 20.9091-+3.2610 ตามลำดับ ส่วนการทดสอบการแทงเข็มฉีดยาด้านเพดานพบว่าทั้งกลุ่มที่ใช้แผ่นยาชาลิโดเคนและเดนติแพทช์ให้ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวด VPS เท่ากันคือ 1.45-+0.51 ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวด VAS เท่ากับ 25.0682-+2.4520 และ 25.8182-+ 2.3760 สำหรับกลุ่มที่ใช้แผ่นยาชาลิโดเคนและเดนติแพทช์ตามลำดับ สำหรับการทดสอบด้านเพดานด้วยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันพบว่ากลุ่มที่ใช่แผ่นยาชาลิโดเคนให้ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวด VPS และ VAS เท่ากับ 1.50-+0.51 และ 31.5000-+3.0428 ส่วนกลุ่มที่ใช้เดนติแพทช์ให้ค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวด VPS และ VAS เท่ากับ 1.55-+0.60 และ 35.4545-+2.4846 ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความเจ็บปวดที่ประเมินได้จากแต่ละการทดสอบระหว่างกลุ่มที่ใช้แผ่นยาชาลิโดเคนที่ผลิตเองกับเดนติแพทช์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Wilcoxon signed-rank testจึงสรุปได้ว่าแผ่นยาชาลิโดเคนที่ผลิตเองในประเทศกับแผ่นยาชาลิโดเคนที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดจากการแทงเข็มฉีดยาและการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The development of lidocaine-containing bioadhesives or DentiPatch[superscriptTM] has allowed for the creation of a novel transoral topical anesthetics used to alleviate pain caused by needle insertion and selected superficial dental procedures. However, DentiPatch[superscriptTM] is expensive and is not available in Thailand. The purpose of the present study was to compare the efficacy of the intraoral lidocaine patches locally made in the laboratory of Department of Industrial Pharmacy. Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University (LP). with the commercially available ones or DentiPatch[superscriptTM] (DP) in reducing pain caused by needle insertion (NI) and scaling and root planing (SRP.) This single-blind, randomized, split-mouth, clinical trial recruited twenty-two subjects possessing premolars in both quadrants of maxilla with each tooth having probing depths of 4-7 mm and calculus index score of at least 2. The tests included LBN (LP placed buccally prior to NI), DBN (DP placed buccally prior to NI), LBS (LP placed buccally prior to SRP). DBS (DP placed buccally prior to SRP), LPN (LP placed palatally prior to NI), DPN (DP placed palatally prior to NI), LPS (LP placed palatally prior to SRP) and DPS (DP placed palatally prior to SRP). The subjects were asked to rate their degree of pain using a 5-point Verbal Pain Scale (VPS) and a 100-mm Visual Analog Scale (VAS). The data were analysed statistically by Wilcoxon signed-rank test. The results showed that the perception of pain represented as mean VPS and VAS was comparable following application of LP and DP for every test. The means of VPS and VAS scores following LBN, DBN, LBS, DBS, LPN, DPN, LPS and DPS were 0.36-+0.49 and 6.2045-+1.5450, 0.32-+0.48 and 4.9545-+1.4880, 1.09-+0.53 and 22.2045-+3.0932, 1.18-+0.66 and 20.9091-+3.2610, 1.45-+0.51 and 25.0682-+2.4520, 1.45-+0.51 and 25.8182-+2.3760, 1.50-+0.51 and 31.5000-+3.0428 and 1.55-+0.06 and 35.4545-+2.4846, respectively. Therefore, it may be concluded that the locally made intraorallidocaine patch provides sufficient anesthesia for reducing pain caused by needle insertion and scaling and root planing, and its analgesic efficacy is as effective as the commercially available one with no statistical significant difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปริทันตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7508
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1213
ISBN: 9745323799
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1213
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiputsinee_Tu.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.