Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75260
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณา ตุลยธัญ-
dc.contributor.authorขจี บุญดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-26T14:22:38Z-
dc.date.available2021-08-26T14:22:38Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75260-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีกายภาพของแป๋ง(flour) และสตาร์ช(starch ) จากกระจับพันธุ์เขาแหลม(Trapa bispinosa Roxb.) โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกได้ศึกษาผลของวิธีการโม่ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งจากกระจับ มีปัจจัยที่ศึกษาคือ การเตรียมวัตถุดิบ ได้แก่ การแช่แข็งและการลวก การโม่ ได้แก่ การโม่แห้งและการโม่เปียก และชนิดของเครื่องโม่ ได้แก่ Stone mill และ Ball mill ส่วนที่ 2 ศึกษาการสกัดสตาร์ชและสมบัติทางเคมีกายภาพของสตาร์ชจากกระจับ ผลการทดลองในส่วนแรก แสดงให้เห็นว่า การโม่แห้งร่วมกับการโม่ด้วย Ball mill ให้แป๋งที่มีปริมาณผลผลิตสูงกว่าวิธีการโม่แบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0 .05) การลวกวัตถุดิบมีผลให้แป๋งขาวกว่าการแช่แข็งและค่าการดูดขับนำของแป้งสูงกว่าการโม่แห้งมีผลให้แป้งขาวกว่าการโม่เปียกและมี'ปริมาณโปรตีนสูงกว่า ส่วนแป้งที่โม่ด้วย Ball mill มีขนาดอนุกาคละเอียดกว่าโม่ด้วย Stone mill แต่มีการดูดขับนํ้ามันได้ตํ่ากว่า นอกจากนี้ยังพบว่าทั้ง 3 ปัจจัยที่ศึกษามีผลต่อความสามารถในการย่อยแป้งด้วยเอนไซม์ glucoamylase อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0 .01) โดยในแต่ละปัจจัยพบว่า การลวก การโม่แห้งและ Ball mill ให้แป้งที่ถูกย่อยด้วยเอนไซม์ได้ดีกว่า แสดงว่าสตาร์ชถูกทำลายหรือเกิดการเจลาติไนซ์มากกว่า โดยวิธีการลวกวัตถุดิบร่วมกับการโม่แห้งและโม่ด้วย Ball mill ให้แป้งที่มีสมบัติด้าน ความหนืดและความแข็งแรงของเจลตํ่าสุด ในขณะที่วิธีการโม่โดยแช่แข็งวัตถุดิบร่วมกับโม่เปียกและโม่ด้วย Stone mill ให้ค่าสูงสุด จึงเลือกแป้งจากวิธีการโม่โดยแช่แข็งวัตถุดิบร่วมกับโม่เปียกและโม่ด้วย Stone mill เพื่อสกัดสตาร์ชต่อไป การสกัดสตาร์ชจากเมล็ดกระจับสดและแป้งกระจับ สารละลายที่ใช้สกัด คือ นํ้าหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ (0.2%) พบว่า การสกัดสตาร์ชจากเมล็ดกระจับด้วยนํ้า ให้ปริมาณผลผลิตสตาร์ชสูงสุดและสตาร์ชที่สกัดได้ขาวที่สุด โดยมีปริมาณโปรตีนตํ่าและมีปริมาณสตาร์ชและอะมีโลสสูง 0.11, 98.18 และ 29.62 %db ตามลำดับ เม็ดสตาร์ชมีลักษณะ Birefringence ชัดเจน การกระจายขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 15.19-69.02 µm และ โครงสร้างผลึก จาก X-ray diffraction เป็นผลึก แบบ C เช่นเดียวกับแป้งถั่วเขียว กำลังการพองตัวและการละลายตํ่า มีการพองตัวแบบ 2 ขั้น เมื่อศึกษาสมบัติด้านความหนืดของสตาร์ชจากกระจับ(6% db) ด้วย Brabender viscoamylograph พบว่า มีลักษณะกราฟแบบ C หรือ แบบสตาร์ชที่มีการพองตัวน้อย(Restricted swelling starches) เมื่อเปรียบเทียบสมบัติด้านความหนืดของสตาร์ชจากกระจับและสตาร์ชถั่วเขียวที่ความเข้มข้น 6, 7 และ 8 % db พบว่า ในสตาร์ชทั้ง 2 ชนิด เมื่อเพิ่มความเข้มข้นสูงขึ้น ค่า set back มีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่ค่า pasting temperature มีแนวโน้มลดลง และที่ความเข้มข้นเท่ากันสตาร์ชจากกระจับมี pasting temperature สูงกว่าสตาร์ชถั่วเขียว แต่มีค่า set back ตํ่ากว่าสตาร์ชถั่วเขียวen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to investigate physicochemical properties of flour and starch from water chestnut Trapa bispinosa Roxb. The study was divided into 2 sections. In the first part, effects of milling methods on physicochemical properties of the flour were studied by two raw material preparation methods (blanching and freezing), two milling types(dry milling and wet milling) and two mill types (Ball mill and stone mill). Then the second part was the study of starch extraction and its physicochemical properties. Results showed that dry milling by Bali mill gave significantly higher yield of flour than other milling methods(p<0.05). Blanching compared to freezing of water chestnut seeds, resulted in higher whiteness and water absorption of the flour. Dry milling gave with higher protein content and whiteness of flour than wet milling. It was found that flour, which was milled by Ball mill, had finer particle size, but had lower oil absorption. Moreover,.all those 3 parameters had significant effects (p<0.01) on glucoamylase susceptibility of the flour. Each of parameter showed that blanching, dry milling and ball mill resulted in higher glucoamylase susceptibility, which indicated higher starch damaged or gelatinized. Therefore, blanching with dry milling by ball mill resulted in the lowest pasting properties and gel strength of flour, while freezing with wet milling by stone mill gave the highest gel strength and pasting properties. The flour produced by freezing with wet milling by stone mill was selected for further study. The study of starch extraction from water chestnut seeds and water chestnut flour with water or sodium hydroxide solution (0.2%) showed that starch, extracted from water chestnut seeds by water , gave highest yield and whiteness. This starch contained low protein, high starch and amylose content of 0.11, 98.18 and 29.62 %db, respectively. Particle size distribution was 15.19-69.02 µm. Its starch granule showed clear birefringence structure and X-ray diffraction pattern was C type pattern, which was the same as of mung bean starch. Water chestnut starch had low swelling power and. Its also exhibited 2-stage swelling, study of pasting properties of starch (6%db) showed that its Brabender viscoamylograph pattern was the type C (restricted swelling starches).Comparing pasting properties of water chestnut starch and mung bean starch at 6, 7 and 8% db, both starches indicated that increasing concentration resulted increasing set back 1 but decreasing pasting temperature. At the same concentration, water chestnut starch had higher pasting temperature, but lower set back than mung bean starch.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระจับ-
dc.subjectแป้ง-
dc.titleผลของวิธีการโม่ต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของแป้งจากกระจับ Trapa bispinosa Roxben_US
dc.title.alternativeEffects of milling methods on physicochemical properties of flour from water chestnut Trapa bispinosa Roxb.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางอาหารen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khajee_bo_front_p.pdf835.06 kBAdobe PDFView/Open
Khajee_bo_ch1_p.pdf637.09 kBAdobe PDFView/Open
Khajee_bo_ch2_p.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Khajee_bo_ch3_p.pdf851.53 kBAdobe PDFView/Open
Khajee_bo_ch4_p.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Khajee_bo_ch5_p.pdf653.36 kBAdobe PDFView/Open
Khajee_bo_back_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.