Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7556
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา บวรกิติวงศ์-
dc.contributor.authorน้ำเพชร ช่วงทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-07-14T09:47:34Z-
dc.date.available2008-07-14T09:47:34Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741438729-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7556-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดรูปแบบการคิดของเยาวชนไทยตามกรอบแนวคิดของ Sternberg J. Robert สำรวจรูปแบบการคิดของเยาวชนไทย หาปกติวิสัยการคิดของเยาวชนไทย เปรียบเทียบความแตกต่างของรูปแบบการคิดระหว่างบุคคลที่มีภูมิหลังต่างกันในด้านเพศ ประเภทของโรงเรียนและภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือเยาวชนไทยที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และ ปวช.ปี 1-3 จำนวน 1466 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสำรวจรูปแบบการคิดของ Sternberg & Wagner 1991 แบบสำรวจมีพิสัยความเที่ยงเท่ากับ 0.7-0.9 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามด้วยโปรแกรม SPSS 11.0 และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL 8.53 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดรูปแบบการคิดของเยาวชนไทย มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับองค์ประกอบที่วัด (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.6 ถึง1.0 มีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(Confirmatory factor analysis) พบว่าโมเดลการวัดรูปแบบการคิด ทั้ง 13 โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.791-0.925 2) โดยส่วนใหญ่เยาวชนไทยมีรูปแบบการคิดในระดับสูง (คะแนน = 5) ในรูปแบบการคิดแบบมุ่งในสิ่งเดียว (ร้อยละ 20.74) แบบคิดเรียงลำดับ (ร้อยละ 31.34) แบบคิดหลายอย่างพร้อมกัน(ร้อยละ 32.22) แบบจัดสรรขาดระเบียบ (ร้อยละ 31.57) แบบชอบสร้างกฎเกณฑ์ (ร้อยละ 31.52) แบบเก่งบริหารจัดการ (ร้อยละ 33.09) แบบมองภาพรวม(ร้อยละ 32.39) แบบมองเฉพาะเจาะจง (ร้อยละ 31.00) แบบยึดถือตนเอง(ร้อยละ 29.84) แบบคิดแบบร่วมมือ (ร้อยละ 29.84) แบบเสรีนิยม (ร้อยละ 30.35) และแบบอนุรักษ์นิยม (ร้อยละ28.60) และในระดับปานกลาง (คะแนน =4) ในรูปแบบการคิดแบบชำนาญวินิจฉัย (ร้อยละ 32.18) 3) เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบการคิดของเยาวชนไทยที่มีภูมิหลังต่างกันพบว่าค่าเฉลี่ยของรูปแบบการคิดของเพศหญิงและชายนั้นแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญ .05 ในรูปแบบทำหลายอย่างพร้อมกัน รูปแบบจัดสรรขาดระเบียบ รูปแบบเก่งบริหารจัดการ รูปแบบมองภาพรวม รูปแบบมองเฉพาะเจาะจง รูปแบบมุ่งตนเองและรูปแบบอนุรักษ์นิยม ค่าเฉลี่ยของรูปแบบการคิดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้แตกต่างจากภาคกลางอย่างมีระดับนัยสำคัญ .05 ในรูปแบบดังต่อไปนี้ รูปแบบคิดเรียงลำดับ รูปแบบจัดสรรขาดระเบียบ รูปแบบชอบสร้างกฎเกณฑ์ รูปแบบเก่งบริหารจัดการ รูปแบบมองภาพรวม รูปแบบมองเฉพาะเจาะจง รูปแบบมุ่งตนเอง และรูปแบบอนุรักษ์นิยม และค่าเฉลี่ยของรูปแบบการคิดของเยาวชนที่ศึกษาในประเภทของโรงเรียนที่ต่างกันนั้นแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญ .05 ในรูปแบบทำหลายอย่างพร้อมกัน รูปแบบจัดสรรขาดระเบียบ รูปแบบเก่งบริหารจัดการ รูปแบบมองภาพรวม รูปแบบมองเฉพาะเจาะจง รูปแบบมุ่งตนเองและรูปแบบอนุรักษ์นิยมen
dc.description.abstractalternativeThis research purposes were to develop the thinking styles scale based on Sternberg J.Robert's concept, to check the quality of thinking styles scale in term validity and reliability, to survey the thinking styles of Thai juvenile based on Sternberg J.Robert's concept, to compare the difference of thinking styles among Thai juveniles with different background of sex, school type, and region , and to construct norms. The research participants were 1466 Thai juvenile studying in the upper secondary education (Mathayom 4-6) and vocational education (year 1-3) he research samples were randomed by using multi-stage random sampling. The research data were collected by the thinking styles scale based on Sternberg & Wagner's concept Descriptive statistics, MANOVA were employed to analyze the collected data via SPSS for Windows version11 and confirmatory factor analysis was also employed to analyze the collected data via LISREL version 8.53. The research findings were as follow: 1) The thinking styles scale was proved to have good qualities specifically, the scale had a content validity. The index of consistency (IOC) ranged from 0.6 to1.0. The construct validity was confirmed by confirmatory factor analysis which was consistent with empirical data. The reliability of thinking styles scale as estimated by alpha Cronbach coefficient was in the range of 0.791 to 0.925 2) Almost Thai juvenile had Thinking styles of Monarchic (28.74%) Hierarchic (31.34%) Oligarchic (32.22%) Anarchic (31.57%) Legislative (31.52%) Executive (33.09%) Judicial (32.18%) Global (32.39%) Local (31.00%) Internal (29.84%) External (29.84%) Liberal (30.35%) and Conservative (28.60%) 3) when the research compared Thinking styles among Thai juvenile with different background. It was found that mean of Thinking styles of Women and Men was different at 0.5 level of statistical significance in the styles of Oligarchic, Anarchic, Executive, Global, Local, Internal, and Conservative. For the region, it was found that almost thinking styles of Thai juvenile in the northeast and the south were different than the other regions at o.5 level of statistical significance in the styles of Hierachic , Anarchic, Global, Local, Internal, and Conservative, and It was found that mean of Thinking styles of different school categories was different at 0.5 level of statistical significance in the styles of Oligarchic, Anarchich, Executive, Global, Local, Internal, and Conservative.en
dc.format.extent4324550 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความคิดและการคิดen
dc.titleการวิเคราะห์รูปแบบการคิดของเยาวชนไทยen
dc.title.alternativeAn analysis of thinking styles of Thai juvenilesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchada.b@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Namphet_Sh.pdf4.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.