Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7567
Title: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างโมเดลลิสเรล 3 แบบที่ใช้ในการศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
Other Titles: A comparison of efficiency among three LISREL models used in studying the variable correlated with longitudinal change in mathematics achievement
Authors: ประสิทธิ์ ไชยกาล
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: ลิสเรลโมเดล
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลลิสเรล 3 แบบ ที่ใช้ในการศึกษาตัวแปรที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ได้แก่ โมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลพื้นฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาว โมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้ตัวเดียว และโมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้หลายตัวกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 606 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบวัดความถนัดทางการเรียนคณิตศาสตร์ การดำเนินการเก็บข้อมูลเป็นลักษณะการเก็บข้อมูลระยะยาว โดยดำเนินการวัดตัวแปรด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ 3 ครั้ง และวัดตัวแปรด้านความถนัดทางคณิตศาสตร์ 1 ครั้ง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า โมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้หลายตัว มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเพราะโมเดลมีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด และสามารถให้ผลการทดสอบที่สามารถบ่งชี้ได้ว่า ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงมีความไม่แปรเปลี่ยน รองลงไปคือ โมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลพื้นฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาว และโมเดลลิสเรลที่มีการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้ตัวเดียว ตามลำดับ สำหรับโมเดลการวัดการเปลี่ยนแปลงระยะยาว พบว่า โมเดลการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาวที่วัดด้วยตัวบ่งชี้หลายตัว มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เพราะโมเดลสามารถประมาณค่าพารามิเตอร์ที่บ่งชี้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาได้ และโมเดลมีความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดด้วย รองลงไปคือโมเดลการวัดการเปลี่ยนแปลงในรูปโมเดลพื้นฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบระยะยาว ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the model efficiency among three LISREL models used to study the correlate of longitudinal change in mathematics achievement. These models were the LISREL measurement model of change based on the basic longitudinal factor analysis, the two LISREL measurement models of change using longitudinal factor analysis with single indicator and several indicators. The sample consisted of 606 prathom suksa 6 students in Bangkok Metropolis. The research instruments were mathematics achievement test, attitude scale towards mathematics and mathematics aptitude test. Longitudinal data were collected by measuring mathematics achievement and attitude towards mathematics for three time points and measuring aptitude for one time point. The major finding were as follows: the LISREL measurement model of change using longitudinal factor analysis with several indicators was the best efficient one among the three LISREL models, because the test results of stationarity of correlation coefficients between the correlates and the longitudinal changes were not significant and the error of the model was the lowest; followed by the LISREL measurement model of change based on the basic longitudinal factor analysis and the LISREL measurement model of change using longitudinal factor analysis with single indicator respectively. For measurement of longitudinal change, the measurement model of change using longitudinal factor analysis with several indicators was the best efficient, because this model gave the estimates of the parameters that accounted for overall change using longitudinal factor analysis with single indicator and the measurement model of change based on the longitudinal factor analysis with several indicators respectively
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7567
ISBN: 9746364219
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasit_Ch_back.pdf918.12 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ch_ch5.pdf810.98 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ch_ch4.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ch_ch3.pdf987.76 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ch_ch2.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ch_ch1.pdf841.47 kBAdobe PDFView/Open
Prasit_Ch_front.pdf827.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.