Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75848
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณกร ศรีอาจ-
dc.contributor.authorทิพย์ธิดา ธีรรัฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T05:17:09Z-
dc.date.available2021-09-21T05:17:09Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75848-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractจุดประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแข็งระดับจุลภาคที่พื้นผิวในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันที่ติดกับวัสดุบูรณะอัลคาไซต์ แก้วไอโอโนเมอร์ และคอมโพสิตเรซินชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์  วิธีการวิจัย:  นำชิ้นฟันที่ตัดจากด้านประชิดของฟันกรามน้อยแท้บน จำนวน 30 ชิ้นมาฝังในอะคริลิกแล้ววัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิวด้วยหัวกดนูป เพื่อบันทึกเป็นค่าตั้งต้นและแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม (1)กลุ่มวัสดุแก้วไอโอโนเมอร์ 10 ชิ้น (2)กลุ่มวัสดุอัลคาไซต์ 10 ชิ้น (3)กลุ่มวัสดุคอมโพสิตเรซินชนิดไม่ปลดปล่อยฟลูออไรด์ 10 ชิ้น แล้วจึงนำชิ้นฟันมาสร้างรอยผุจำลอง ทำการวัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิวของรอยผุจำลอง จากนั้นนำชิ้นฟันไปติดกับบล็อกอะคริลิกที่ทำการบูรณะด้านประชิดด้วยวัสดุบูรณะตามกลุ่ม แล้วนำไปผ่านกระบวนการเลียนแบบสภาวะการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างในช่องปากเป็นเวลา 7 วันแล้วจึงนำมาวัดความแข็งผิวระดับจุลภาคที่พื้นผิว คำนวณหาร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวแล้วเปรียบเทียบระหว่าง 3 กลุ่มด้วยสถิติ Kruskal-Wallis Test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และทดสอบความแตกต่างในแต่ละคู่ด้วยสถิติ Mann-Whitney Test โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.017 ซึ่งเป็นระดับนัยสำคัญที่ผ่านการทดสอบ Bonferroni multiple testing correction  ผลการศึกษา: ค่าร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวระดับจุลภาคของกลุ่มวัสดุอัลคาไซต์มีค่าเฉลี่ยอันดับมากที่สุดเป็น 25.5 ส่วนกลุ่มแก้วไอโอโนเมอร์และกลุ่มคอมโพสิตเรซินเป็น 15.5 และ 5.5 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อทำการเปรียบเทียบค่าร้อยละการคืนกลับความแข็งผิวระดับจุลภาคระหว่าง 3 กลุ่มพบว่าทุกกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p <0.017) สรุป: การบูรณะด้วยวัสดุอัลคาไซค์ให้ผลการคืนกลับแร่ธาตุในรอยผุระยะเริ่มต้นของชิ้นฟันได้มากกว่าวัสดุบูรณะแก้วไอโอโนเมอร์และคอมโพสิตเรซินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในห้องปฏิบัติการ  วัสดุอัลคาไซต์จึงถือเป็นวัสดุหนึ่งที่สามารถเลือกใช้ในกรณีที่ต้องบูรณะฟันคลาสทู ในกรณีที่ฟันซี่ข้างเคียงมีรอยผุระยะเริ่มต้นเพื่อยับยั้งการลุกลามของรอยโรคฟันผุ-
dc.description.abstractalternativeObjective: To compare surface microhardness of Alkasite , Glass ionomer cement, and Resin composite of incipient artificial interproximal caries.  Methods: Human enamel specimens were randomly assigned to 3 groups: Alkasite (Cention N®) (n = 10) Glass ionomer cement (EQUIA Forte®) (n = 10) and Composite resin (Filtek Z350) (n = 10). The baseline hardness was determined using Knoop microhardness. Artificial caries was formed in the specimen and put in contact with proximal restorative materials then submitted to 7 days of pH-cycling. Knoop microhardness test was determined after artificial caries formation and pH-cycling. The differences in the percentage of surface hardness recovery among the groups were compared by Kruskal-Wallis Test. Mann-Whitney Test with Bonferroni multiple testing correction was used for between-groups comparisons. Results: There was a significant difference in the percentage of surface hardness recovery between the three groups (p < 0.017).The percentage of surface hardness recovery of the Alkasite group was increased significantly compared to other materials. Conclusion: Alkasite restorations can affect remineralization of incipient artificial interproximal caries to a much greater extent than do glass ionomer cement and resin composite restorations. Alkasite could be an alternative restoration to arrest initial enamel lesions in approximal adjacent surfaces.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.729-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationDentistry-
dc.titleผลของวัสดุบูรณะที่สามารถปลดปล่อยฟลูออไรด์ต่อความแข็งระดับจุลภาคที่พื้นผิวในรอยผุระยะเริ่มต้นของฟันซี่ข้างเคียง : การทดลองในห้องปฏิบัติการ-
dc.title.alternativeThe effects of fluoride-releasing materials on surface microhardness of adjacent initial interproximal caries: in vitro study-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็ก-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.729-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6175819932.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.