Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7585
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิรงรอง รามสูต รณะนันทน์-
dc.contributor.authorจิตติญาดา เหรียญมณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-07-16T02:55:05Z-
dc.date.available2008-07-16T02:55:05Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741762925-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7585-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมและการกลั่นกรองเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งในการวิจัยอาศัยวิธีการเก็บข้อมูลโดยการสำรวจ มีเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยอาศัยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าภาพและเนื้อหาที่กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าไม่เหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ คือ ภาพและเนื้อหาลามกอนาจาร ภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง เว็บไซต์ที่มีการใช้ภาษาไม่เหมาะสม และเว็บไซต์เกี่ยวกับอบายมุข หรือสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม ซึ่งหมวดหมู่ที่กลุ่มตัวอย่างมองว่ามีความไม่เหมาะสมในระดับสูง คือ ภาพและเนื้อหาลามกอนาจาร อันมีลักษณะร่วมที่เห็นได้ชัดเจน คือ การมีนัยยะของความไม่ปกติ วิตถาร และเว็บไซต์เกี่ยวกับอบายมุข หรือสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม ที่มีลักษณะร่วม คือ เป็นเว็บไซต์ที่อาจส่งผลกระทบต่อสถาบันสำคัญๆของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง และเว็บไซต์ที่มีการใช้ภาษาไม่เหมาะสมนั้น กลุ่มตัวอย่างมีการประเมินความไม่เหมาะสมอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของการประเมินผลกระทบโดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลที่สาม พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการประเมินว่าเด็กและเยาวชนจะได้รับผลกระทบจากการเปิดรับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมมากกว่าที่ตนเองจะได้รับ ด้านการกลั่นกรองเนื้อหา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการให้มีการควบคุมเนื้อหา เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่มีการแพร่กระจายกว้างขวาง โดยผู้ที่ควรมีอำนาจในการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ เว็บมาสเตอร์หรือผู้ดูและเว็บไซต์ ส่วนวิธีการกลั่นกรองเนื้อหาทั้ง 4 วิธี ได้แก่ การจัดประเภทและติดป้ายเนื้อหา การแบ่งเนื้อหาออกเป็นระดับตามวัยของผู้เข้าชม การปิดกั้นโดยผู้ใช้ โดยอาศัยซอฟท์แวร์กลั่นกรอง และวิธีการปิดกั้นโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือผู้ควบคุมเครือข่ายนั้น ควรนำมาใช้ร่วมกันทุกวิธีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากแต่ละวิธีสามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านลักษณะสังคมประชากร สรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากและมีสถานภาพสมรสจะมีการประเมินความไม่เหมาะสมของภาพและเนื้อหาประเภทต่างๆในระดับที่สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยและมีสถานภาพโสด ส่วนในด้านการกลั่นกรองเนื้อหาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยจะให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลตนเอง แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากจะให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของวิธีการ โดยเน้นการควบคุมจากภาครัฐ ซึ่งจากผลการวิจัยทำให้ได้ข้อสรุปในภาพรวมว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีทัศนคติความไปในทางอำนาจนิยมมากกว่าการเขาไปมีส่วนร่วมในการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมen
dc.description.abstractalternativeTo study the opinion of Thai Internet users about the type of content they deemed inappropriate and the filtering of such content on the Internet. Data collection for the study was done through a questionnaire-based survey of 400 sampled Internet users and in-depth interviews of 30 users. The study finds that there are four categories of Internet content that the sampled users considered inappropriate - sexual obscenity, violence, harsh language, and immoral or illegal behaviors. Sexually obscene content received the highest disapproval particularly those with abnormalcy and perverseness. Meanwhile, websites depicting immoral or illegal behaviors would rank high on the disapproval scale if they concern important national institutions such as the monarchy. As for the websites with violent content and crude language, the rate of disapproval is comparatively low. With respect to the assessment of impact of inappropriate content using the third-person effect theoretical framework, the study finds that the sampled users feel that children and young users are susceptible to greater effects from exposure to such content than they themselves would, in all categories of content. In regard to the filtering of content, the study finds that most sampled users prefer that there be some type of content regulation as the Internet is a widely diffused medium. Webmaster was rated as the person most suitable for the job. Furthermore, the studied users feel that all methods of content filtering - labelling and classification of content, content rating in accordance with the viewers' age, user-based filtering through software, and blocking by ISPs or network providers-should all be used to achieve the highest effectiveness and to complement each other. Lastly, concerning the relationship between the users' opinion and their socio-demographic attributes, the sampled users who are older and married tend to give higher level of disapproval to all types of content than those who are younger and single. As for their views on content filtering, the study finds that the younger sampled users tend to rate self-regulation higher while the older ones tend to emphasize the effectiveness of state control. This leads to a general conclusion that the attitude of Thai Internet users towards content regulation reflect a trend towards authoritarianism rather than liberalism and public participation in dealing with inappropriate content.en
dc.format.extent2929243 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอินเตอร์เน็ตen
dc.subjectผู้ใช้อินเตอร์เน็ตen
dc.subjectสังคมประกิตen
dc.subjectอินเตอร์เน็ต -- แง่สังคมen
dc.titleความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และการกลั่นกรองเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตen
dc.title.alternativeOpinion of Thai Internet users about problematic content and content filtering on Interneten
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPirongrong.R@chula.ac.th-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jittiyada.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.