Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76077
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประภัสสร จันทร์สถิตย์พร-
dc.contributor.authorสุชัญญา วัฒนะศักดิ์ประภา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:12:01Z-
dc.date.available2021-09-21T06:12:01Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76077-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะเชิงเนื้อหาและการนำเสนอของรายการอาสาพาไปหลง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหารายการอาสาพาไปหลงในปี 2561-2562 ที่เผยแพร่ผ่านยูทูบช่องอาสาพาไปหลง - asapapailong จำนวน 40 ตอน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้ชมรายการอาสาพาไปหลง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ชมรายการอาสาพาไปหลง จำนวน 400 คน และการสนทนากลุ่มจากผู้ชมรายการอาสาพาไปหลง จำนวน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า รายการอาสาพาไปหลงเป็นรายการท่องเที่ยวบนสื่อออนไลน์เผยแพร่ผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งนี้ช่องทางที่นิยมมากที่สุด คือ ยูทูบ ซึ่งจากการวิเคราะห์เนื้อหารายการอาสาพาไปหลงด้านคุณลักษณะเชิงเนื้อหา พบว่า รายการอาสาพาไปหลงส่วนใหญ่มีเนื้อหาการเดินทางออกนอกประเทศมากกว่าการเดินทางภายในประเทศ ซึ่งเป็นการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากกว่าแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เน้นการถ่ายทอดประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวที่ทำให้เห็นถึงประสบการณ์ร่วมและความรู้สึกของผู้ดำเนินรายการ และด้านคุณลักษณะเชิงการนำเสนอของอาสาพาไปหลงผลการวิจัยพบว่า มีการนำปัจจัยด้านเสียงมาใช้เพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึกร่วมให้แก่ผู้ชมรายการโดยพบการใช้เพลงประกอบและเสียงประกอบอื่น ๆ (Sound effect) เป็นอันดับหนึ่ง การใช้เสียงพากย์เป็นอันดับสอง การใช้ตัวอักษรและกราฟิกเป็นอันดับสาม การโฆษณาแฝงเป็นอันดับสี่ และการใส่คำบรรยายเนื้อหาในรายการเป็นอันดับห้า การรับรู้ของผู้ชมรายการอาสาพาไปหลงด้านคุณลักษณะเชิงเนื้อหาและคุณลักษณะเชิงการนำเสนอ พบว่า สอดคล้องกับการวิเคราะห์เนื้อหาโดยผู้ชมมีการรับรู้ด้านเนื้อหาว่าอาสาพาไปหลงเป็นรายการท่องเที่ยวที่เป็นประสบการณ์ร่วมในการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ และผู้ชมมีการรับรู้ว่าอาสาพาไปหลงมีการแต่งเพลงเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในการนำเสนอและมีการใช้เสียงพากย์ในรายการเพื่อทำให้รายการมีความสนุกสนานมากขึ้น โดยผู้ชมจากการสนทนากลุ่มมีการรับรู้ด้านเนื้อหาว่าส่วนใหญ่อาสาพาไปหลงเป็นการเดินทางท่องเที่ยวออกนอกประเทศ ซึ่งบางสถานที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากนัก และผู้ชมจากการสนทนากลุ่มมีการรับรู้ด้านการนำเสนอว่าอาสาพาไปหลงมีความโดดเด่นด้านการแต่งเพลงให้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยว อึกทั้งยังมีการพากย์เสียงทั้งคนและสัตว์ที่ทำให้รายการมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยผู้ชมจากแบบสอบถามออนไลน์มีการรับรู้ต่อการโฆษณาแฝงเป็นอย่างมากในขณะที่ผู้ชมจากการสนทนากลุ่มมีการรับรู้ต่อการโฆษณาแฝงว่าอาสาพาไปหลงมีการนำเสนอสินค้าแบบแนบเนียนทำให้ไม่รู้สึกว่ามีการโฆษณาแฝงในรายการ ซึ่งผู้ชมทั้งสองกลุ่มมีการรับรู้ต่อผู้ดำเนินรายการที่สอดคล้องกัน คือ ผู้ดำเนินรายการมีทักษะในการพูดที่ดีทำให้รายการไม่น่าเบื่อ มีความสามารถในการแต่งเพลงและการพากย์เสียงที่ทำให้รายการอาสาพาไปหลงแตกต่างจากรายการอื่น-
dc.description.abstractalternativeIn this research study our objective is to: 1) Analyze the content characteristics of the show "A lost like trip" by using the qualitative research method to analyse each content from this show from the year 2018-2019 that was published on the YouTube channel "asapapailong", which consists of 40 episodes. The analysis method will be "Content Analysis" 2) To study the behaviour and perceptions of the audience of the channel "asapapailong" using quantitative research methods. This method is conducted by collecting data through online questionnaires from the 400 subscribers of this channel, as well as, having another 7 subscribers of this channel to discuss the program itself. The results of this research found that the program "A lost like trip" doesn't show only on the platform YouTube, but is being show on all types of the platform; YouTube being the most popular amongst the audience. After thorough analysis, it was found that the contents of this channel leaned towards outbound travel rather than inbound travel. Another interesting point is that the programme focuses on visiting natural and environmentally friendly sites rather than historical and cultural attractions. The experience is being transferred to the viewer through raw involvement and the impressions of the YouTuber. This feature presents a feeling of surrealism and excitement when a new place is discovered. With further inspection, it is seen that this programme focuses on using music and sound effects as the number one priority, whilst the commenting is secondary. To add to that, they also use lettering and graphics, tie-in and subtitles to support the whole. Audiences' perceptions of "A lost like trip" on the observance of content and presentation features. It is consistent with the content analysis, that the audience is aware of the content of the programme and its aim to be an experience-based travel program. The feeling of participation in a trip to another country is heightened by the programme’s own compositions. These songs and sounds are used as relatable elements to make the program more enjoyable along with the input of the YouTuber. In terms of content, most of the episodes of “A lost like trip” have been shot abroad. Viewers are aware that most of the time the episodes are shot at non-tourist attractions but there have been times where they have filmed at more niche tourist attractions. The viewers that were brought in for the survey surmised that this programme has outstanding music to fit the mood of each place and episode. There is also great use of ambient sounds with timing, duration and amount well thought out. Both the audience from the online questionnaire and the subscribers were aware of tie-in. They all agree that subtle advertisement of products enables concealment of the present products, thus viewers did not feel unduly pressured. On the whole, audience’s loved it. The two groups had consistent perceptions of YouTuber, as they had good speaking skills making the show entertaining. The ability to compose creative relatable music and the use of interesting vocal dubbing and sound effects distinguishes “A lost like trip” from other travel programmes.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.787-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectอาสาพาไปหลง (รายการโทรทัศน์)-
dc.subjectการวิเคราะห์เนื้อหา-
dc.subjectการรับรู้และการรู้สึกในโทรทัศน์-
dc.subjectContent analysis ‪(Communication)‬-
dc.subjectSenses and sensation on television-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleคุณลักษณะเชิงเนื้อหาและการนำเสนอของรายการอาสาพาไปหลงและการรับรู้ของผู้ชม-
dc.title.alternativeContent characteristics and presentation of “a lost like trip” and audience’s perception-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.787-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184690628.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.