Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76147
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจามรี จุลกะรัตน์-
dc.contributor.authorพรพิชชา นันตา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:17:03Z-
dc.date.available2021-09-21T06:17:03Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76147-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractกรุงเทพมหานครมีการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมหลายประการจากการขยายตัวของเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวในเมืองลดลง ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศของเมือง และสุขภาวะของประชากรที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร จากปัญหาทำให้ทางกรุงเทพมหานครได้มีการจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 – 2575) ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน และพื้นที่สีเขียวมีการกระจายครอบคลุมไปทั่วพื้นที่ จากข้อมูลสถิติ 2559 กรุงเทพมหานคร พบว่ามีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะ 6.15 ตารางเมตรต่อคน โดยเขตที่มีอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะน้อยที่สุดคือเขตวัฒนามี 1.51 ตารางเมตรต่อคน จึงนำมาสู่งานวิจัยเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะและเสนอการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่สีเขียวที่มีอยู่เดิม พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มมาใหม่ และศูนย์รวมกิจกรรมให้เกิดเป็นโครงข่ายเส้นทางสีเขียว และเสนอแนวทางการพัฒนาเส้นทางสีเขียวในเขตวัฒนา กระบวนการศึกษาเริ่มจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย และนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและโครงข่ายเส้นทางสีเขียว รวมถึงข้อมูลพื้นที่เขตวัฒนา เพื่อกำหนดกรอบแนวความคิดในการหาพื้นที่สีเขียว การคัดเลือกพื้นที่และเส้นทางที่มีศักยภาพในการเชื่อมโยง และปัจจัยที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินศักยภาพพื้นที่และเส้นทาง จากการสำรวจของผู้วิจัยด้วยเกณฑ์พิจารณาของผู้วิจัย 3 ข้อ ได้แก่ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ระดับการใช้ประโยชน์ และขนาดพื้นที่สีเขียวหรือที่ว่าง พบพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะทั้งหมด 63 แห่ง เมื่อนำมารวมกับพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะของเขตวัฒนาปี 2562 จากการสำรวจของกรุงเทพมหานคร ที่มีจำนวน 149 แห่ง คิดเป็นอัตราส่วน 1.69 ตารางเมตรต่อคน เขตวัฒนาจะมีพื้นที่สีเขียวในรูปแบบสวนสาธารณะทั้งหมด 212 แห่ง คิดเป็นอัตราส่วน 3.16 ตารางเมตรต่อคน โดยปัจจัยที่ใช้พิจารณาศักยภาพพื้นที่มีทั้งหมด 6 ปัจจัย และปัจจัยที่ใช้พิจารณาศักยภาพเส้นทางมีทั้งหมด 6 ปัจจัย ผลการวิจัยพบว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเชื่อมโยงในเขตวัฒนาจำนวนทั้งหมด 170 แห่ง และมีเส้นทางสีเขียวในเขตวัฒนาจำนวนทั้งหมด 81 เส้น เป็นเส้นทางหลัก 12 เส้น และเส้นทางรอง 69 เส้น ในงานวิจัยนี้ผู้ศึกษาได้คัดเลือกเส้นทางสีเขียวมาเสนอตัวอย่างการพัฒนาทั้งหมด 5 เส้นทาง  ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีรูปแบบแตกต่างกันเพื่อใช้เป็นต้นแบบให้กับเส้นทางสีเขียวอื่น ๆที่มีรูปแบบเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ดังนี้ แนวทางการพัฒนาเส้นทางสีเขียวมี 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางริมคลองพระโขนง เส้นทางริมถนนสุขุมวิท 39 และเส้นทางริมทางรถไฟเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร แนวทางการปรับปรุงเส้นทางสีเขียวมี 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางริมถนนและทางเดินลอยฟ้าบริเวณถนนสุขุมวิท และเส้นทางริมถนนและริมน้ำซอยทองหล่อ 9-
dc.description.abstractalternativeAs Bangkok is a fast-growing city, it faces several environmental issues from the city expansion and declining of the green area affecting the city’s ecosystem and health of the citizens. From the issues, the Bangkok Metropolitan Administration has created a 20-year Bangkok development plan (2013-2032) with a goal to increase the green area in the form of parks with an area of no less than 9 square meters per person covering the whole region. The 2016 Bangkok statistic data indicates that the green area in the form of parks has an area of 6.15 square meters per person with Vadhana District having the lowest ratio of just 1.51 square meters per person. The statistic data led the research to find a way to increase the green area in the form of parks that link with the existing green areas and act as the hub of the green network, and come up with a guideline for the greenways in Vadhana District.  The study process begins by studying the concept, theory, law, policy concerning the green area development and network, and data of Vadhana District to determine the scope of finding and selecting the potential green areas and network with the linkability, and the criteria factors determining the potential areas and routes. From the researcher survey, 3 criteria were considered: land ownership, utilization level and size of green area. The research found 63 green areas in the form of parks. When combined with 149 green areas in the form of parks in Vadhana District according to Bangkok’s 2019 survey, the ratio is 1.69 square meters per person, Vadhana District will have 212 green areas in the form of parks at the ratio of 3.16 square meters per person. There were 6 factors taken into consideration in determining the potential areas, 6 factors for the potential routes. The research found 170 potential linkable areas in Vadhana District with 81 routes consisting of 12 primary routes and 69 secondary routes. The researcher chose 5 of the routes with different characteristics to offer development examples for other green routes with similar characteristics. There are 3 green routes to develop that are the route along the Phrakanong Canal, Sukhumvit 39 Road and railway along Chalerm Maha Nakhon Expressway. There are 2 renovated green routes ; Sukhumvit Road Skywalk and Thonglor 9 Road with the canal.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.974-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectสวนสาธารณะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectการพัฒนาเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectParks -- Thailand -- Bangkok-
dc.subjectUrban development -- Thailand -- Bangkok-
dc.subject.classificationEnvironmental Science-
dc.titleแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และพัฒนาโครงข่ายเส้นทางสีเขียวในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeGuidelines for increasing green area and developing greenway network in Vadhana district, Bangkok-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.974-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6173329325.pdf43.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.