Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76156
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ | - |
dc.contributor.author | ทรงกิต การีซอ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-21T06:17:08Z | - |
dc.date.available | 2021-09-21T06:17:08Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76156 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะประเมินประสิทธิภาพทางความยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืน ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาโดยทำการศึกษาด้วยวิธีการประเมินมหาวิทยาลัยตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก (UI Green Metric World Ranking) เน้นการประเมินในหัวข้อที่ 2 ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อันได้แก่ 1.อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 2.อาคารอัจฉริยะทั้งหมดของมหาวิทยาลัย 3.พลังงานทดแทนซึ่งผลิตได้ในมหาวิทยาลัย 4.ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด 5.อัตราส่วนการผลิตพลังงานหมุนเวียนหารด้วยการใช้พลังงานทั้งหมดต่อปี 6.องค์ประกอบของอาคารสีเขียวที่ดำเนินการตามนโยบายการก่อสร้างและปรับปรุงทั้งหมด 7.การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และ 8.ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทั้งหมดหารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในหัวข้อ การประเมิน ข้อที่ 2 และแสดงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนโดยคำนึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีผลการประเมิน อยู่ที่ 500 คะแนน และหากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาต้องการเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 35,321,906 บาท และ มีระยะเวลาในการคุ้มทุนประมาณ 6-7 ปี หลังจากดำเนินการ ท้ายที่สุดนั้นในงานวิจัยนี้สรุปได้ว่าการเพิ่มพื้นที่อาคารอัจฉริยะและเพิ่มจำนวนแหล่งที่มาของพลังงานทดแทนอื่นนอกจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นหัวข้อที่ดำเนินการได้ยากที่สุด ในส่วนของการดำเนินการที่มหาวิทยาลัยควรเริ่มดำเนินการคือการลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช่วยส่งเสริมการประหยัดพลังงานจะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีกว่าเดิมและต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนในอนาคต | - |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research are to assess the sustainability efficiency and to provide guidance for the increasing sustainability efficiency energy and climate change of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat Universities. This study uses UI Green Metric World Ranking as assessment method, focusing on the issue of energy and climate change including 1. Energy-saving equipment, 2. All intelligent buildings of the university, 3. Renewable energy produced in university, 4. Total electricity consumption divided by the total population, 5. The ratio of renewable energy production divided by total energy consumption per year, 6. Green building components that comply with all construction and renovation policies, 7. Reducing greenhouse gas emissions and 8. The total carbon footprint divided by the total number of citizens. Operation data were collected the simple economic analysis was performed. The results showed that the university currently has an assessment of 500 points. The investment budget must be approximately 35,321,906 Baht and the break-even period is 6-7 years after the operation. After all, this research concludes that increasing smart building space and increasing the number of renewable energy sources other than solar energy are the most difficult to implement. As part of the action the university should begin to implement is to reduce energy consumption. Reduce greenhouse gas emissions and use energy-saving equipment to improve energy efficiency and climate change, taking into account the economic possibilities that are worth the investment in the future. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1231 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน | - |
dc.subject | สถาบันอุดมศึกษา -- การอนุรักษ์พลังงาน | - |
dc.subject | Architecture and energy conservation | - |
dc.subject | Universities and colleges -- Energy conservation | - |
dc.subject.classification | Energy | - |
dc.title | การเพิ่มประสิทธิภาพทางความยั่งยืนด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรณี:มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคกลาง กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา | - |
dc.title.alternative | Increasing sustainability efficiency energy and climate changeof Rajabhat University central geographic regioncase study of Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.1231 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6173559325.pdf | 3.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.