Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76165
Title: การปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเชิงกายภาพของอพาร์ทเมนต์โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมนวนคร กรณีศึกษา : หมู่บ้านนครชัยมงคลวิลล่า จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: Improving and solving the physical problems of the apartment surroundings of Nawanakorn industrial estate: a case study of Nakornchaimongkol villa Pathum Thani, Thailand
Authors: ณัฐพล กิตติธนนิรันดร์
Advisors: ยุวดี ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: อาคารชุด -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
Condominiums -- Maintenance
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อพาร์ทเมนต์โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่พักอาศัยของพนักงานโรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมที่มีจำนวนมาก เนื่องจากจำนวนผู้พักอาศัยจำนวนมาก ส่งผลต่อปัญหาความแออัด สภาพอาคาร การบริหารจัดการและคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย ทำให้ต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเชิงกายภาพอย่างเหมาะสม หมู่บ้านนครชัยมงคลวิลล่า ซึ่งเป็นชุมชนที่เต็มไปด้วย อพาร์ทเมนต์เอกชน ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับพนักงานโรงงาน ด้วยระดับราคาและทำเลที่ตั้ง โดยอยู่ใกล้กับบริเวณทิศใต้ของนิคมอุตสาหกรรม นวนคร ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัญหาด้านกายภาพและวิธีการแก้ไขปัญหาของอพาร์ทเมนต์ ด้วยการสำรวจ,สังเกต และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการของอพาร์ทเมนต์ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพของอาคาร, พฤติกรรมการใช้งานพื้นที่, การดูแลรักษาอาคาร และประเมินปัญหาด้านกายภาพ จากผลการศึกษาพบว่า สภาพอาคารเสื่อมโทรมจากอายุของอาคาร และการใช้งาน ได้แก่ สภาพของสีและเปลือกอาคารภายนอก มีรอยแตกร้าวและสีร่อน สภาพภายในพบว่า มีรอยแตกร้าวของวัสดุปิดผิวตามพื้น ผนัง และกระเบื้องบริเวณทางเดินภายใน โถงทางเข้าพบว่าบางอาคารมีการนำรถจักรยานยนต์ขึ้นมาจอด เนื่องจากมีที่จอดจักรยานยนต์ไม่เพียงพอ ทำให้สัญจรได้ไม่เต็มพื้นที่ การตั้งร้านค้าด้านหน้าในช่วงเวลา 8:00 และ 17:00 น. เกิดการกั้นพื้นที่บริเวณทางเดิน และด้านหน้าอาคาร ส่งผลให้ทางเดินและที่จอดรถยนต์ไม่สามารถใช้งานได้ โดยร้านค้าที่ขายอาหาร ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่น ควัน เข้าไปยังตัวอาคาร และสร้างขยะปริมาณมาก ส่งผลต่อสภาพแวดล้อม และพื้นที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าบางอาคารอนุญาตให้ผู้เช่าร้านค้าต่อเติมพื้นทางเดินหน้าร้าน และหลังคา โดยไม่ได้มีการกำหนดวัสดุและความสูง ส่งผลให้ทางเดินภายในมีหลายระดับ และหลายวัสดุ ทำให้ยากต่อการใช้งาน และแม่บ้านไม่สามารถทำความสะอาดได้ ระบบประกอบอาคาร มีปัญหาด้านแสงสว่างทางเข้า เนื่องจากมีขนาดเล็กและไม่มีช่องเปิด ระบบน้ำเนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมพื้นที่สำหรับตั้งเครื่องกดน้ำ และเครื่องซักผ้า ทำให้ต้องต่อท่อลอย และจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาท่อโดยรอบอาคารเป็นพิเศษเพื่อป้องกันท่อตันและรั่ว หรือปัญหาเกี่ยวกับถังแซ็กใต้อาคาร ในด้านของการออกแบบพบว่าอาคารไม่ได้ถูกเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานหลายจุด ได้แก่ พื้นที่สำหรับตั้งตู้กดน้ำ, เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ และพื้นที่จอดรถยนต์และจักรยานยนต์ การเว้นระยะร่นด้านข้างและหลังอาคาร รวมถึงการออกแบบพื้นที่ทิ้งขยะแบบปล่อง ส่งผลให้ อพาร์ทเมนต์ที่ไม่ได้เตรียมพื้นที่ไว้ จำเป็นต้องต่อเติมตัวอาคารตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้พักอาศัย และเกิดปัญหาด้านกายภาพตามมา การบริหารจัดการของอพาร์ทเมนต์ พบว่ามีความแตกต่างกันตามแนวคิดของผู้ประกอบการ ได้แก่ 1. การซ่อมบำรุงโครงสร้าง พบว่ามีการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและปรับปรุงต่อเติมอาคาร ขึ้นอยู่กับปัญหาที่พบจากอายุอาคารและความต้องการของผู้พักอาศัยที่ทำให้ต้องมีการซ่อมบำรุงและต่อเติม เพื่อให้ใช้งานได้เหมือนเดิมหรือตอบสนองกับปัญหาตามความเหมาะสม 2. การซ่อมบำรุงด้านงานสถาปัตยกรรม พบว่า 2 ใน 5 อาคาร ให้ความสำคัญกับงานพื้น ทางเข้า ทางเดิน และมีการทาสีภายนอกเพื่อให้ผิวอาคารภายนอกดูใหม่และสวยงาม 1 ใน 5 ต่อเติมหลังคาโดยผู้ประกอบการ นอกจากนี้ด้านงานฝ้าเพดาน, การให้แสงสว่าง, งานประตูหน้าต่าง, งานผนัง และสุขภัณฑ์ มีการดูแลและซ่อมบำรุงทุกอาคารตามการใช้งาน 3. การดูแลและซ่อมบำรุงงานระบบ พบว่าทุกอาคารมีการซ่อมบำรุงงานระบบอย่างสม่ำเสมอด้วยความถี่ที่ไม่แน่นอน เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มักจะเกิดปัญหากับการใช้งานของผู้เช่าที่พักอาศัย ได้แก่ ปัญหาน้ำรั่ว, ไฟดับ อุปกรณ์ภายในชำรุด นอกจากนี้พบว่า อพาร์ทเมนต์แต่ละแห่ง มีการตั้ง กฎ กติกา และการบริการของอพาร์ทเมนต์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อเงื่อนไขการต่อเติมของร้านค้า การคัดเลือกผู้เช่า พื้นที่และช่วงเวลาในการทำความสะอาด จากการวิเคราะห์ผลการศึกษาและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ สามารถสรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาด้านกายภาพ ได้แก่ 1.ปัญหาที่เกิดจากสภาพอาคาร 2.ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมผู้พักอาศัย 3.ปัญหาที่เกิดจากการบริหารจัดการ ทั้งนี้เนื่องจากการออกแบบพื้นที่และกฎหมายเดิม ส่งผลให้อพาร์ทเมนต์มีพื้นที่ที่ไม่ตอบโจทย์การใช้งานที่เปลี่ยนไปของพนักงานโรงงาน ดังนั้นผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับกฎหมายในปัจจุบัน และการออกแบบตั้งแต่ก่อนก่อสร้าง โดยเฉพาะพื้นที่จอดจักรยานยนต์ พื้นที่สำหรับต่อเติมร้านค้า และพื้นที่สำหรับซักผ้า และมีนโยบายในการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้พักอาศัย ในการวางแผน และเฝ้าระวัง เพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเชิงภาพของ อพาร์ทเมนต์ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อไป
Other Abstract: The surrounding Nawanakorn industrial estate apartments were built to accommodate the huge demands of the residents of the workers in the industrial estate. the large number of residents affects congestion problems, the physical condition of apartments, the management, and the quality of life of the residents. Therefore, there needs to be suitable improvements in the apartment’s physical condition. Nakornchaimongkol Villa village is a community that is full of private apartments that were built to support the industrial workers with a price and location that is close to the southern part of the Nawanakorn industrial estate. So, the researcher is interested in studying the physical problems and the methods of solving apartment problems. Therefore, surveys, observations, and interviews with entrepreneurs were conducted to collect information about the physical condition of the buildings, space usage behavior, building maintenance, and to assess physical problems. From the study, the conditions of the buildings are degenerating due to the building age and its use. On the exterior it was found that the condition of color and the buildings has cracks and discolorations. On the interior cracks in covering materials on floors, walls, and tiles along the corridor were found. The entrance found that some buildings allow motorcycles to park due to insufficient motorcycle parking space causing insufficient traffic in the area. Setting up shops at 8:00 and 17:00 causes a blockade in the corridor and in front of the building, which makes the corridor and parking lot unable to be used. The food shops cause bad smell problems, which makes smoke enter the building, and also create a large amount of garbage that affects the environment and littering. The study also found that some apartments allow shops to add to the walkways and roofs without any material or height requirements, which causes the corridor to have many levels and various materials thereby making it difficult to use and hard for maids to clean. Furthermore, the building assembly system has lighting problems due to its small size and no opening. For the water system, there is no space to set up or place a water dispenser and washing machine, causing the apartment to build up a floating pipe and requiring maintenance of the pipes around the building to prevent them from being clogged, leaking or experiencing problems with the septic tank under the building. In terms of design, it was found that buildings were not designed to be used in many areas, such as the water dispenser area, washing machine area, and parking area. The spacing of the side and back of the building, including the design of the waste chute, causes the apartments that were not prepared for these areas to need more according to the needs and this leads to physical problems in the end. The management of the apartments found that there are differences in entrepreneurs' ideas. 1. Structural maintenance: it was found that the building structure is inspected and renovated depending on problems from the age of the building and the needs of the residents that require it to be maintained for usability and responding to problems. 2. Architectural maintenance: it found that 2 out of 5 buildings focus on floors, entrance, walkways, and exterior color to make the buildings look new and attractive. In 1 out of the 5 buildings, the entrepreneurs added a roof in addition to the ceiling, lighting, doors, and windows, walls, and sanitary that require maintenance for every building depending on usage. 3. Maintenance of system, it was found that every building often has maintenance at an uncertain frequency due to problems that often happen with the residents, such as water leaks, power outages, and broken equipment. In addition, different apartments have different rules and services which affect the addition of the shops, resident selecting, and cleaning times. From the analysis of the study’s results and interviews, the entrepreneurs can conclude that the factors that cause physical problems are: 1. Problems from the building’s condition; 2. Problems from the resident’s behavior; and 3. Problems from management. This is due to the design and old rules that require apartments to have spaces that do not meet the changing needs of the workers. Therefore, the entrepreneurs should focus on the current law and design before construction, especially parking lots, space for shops, and washing areas. Also, there should be a management policy that relates to the residents' behavior and planning and monitoring to fix physical condition problems to be in good condition
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76165
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.577
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.577
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270010225.pdf13.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.