Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76375
Title: | ความสุขในการทำงานและสุขภาวะทางจิตของบุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยสารเสพติด |
Other Titles: | Work-related happiness and general well-being of personnel in addiction management. |
Authors: | ธนพร สุวรรณวรบุญ |
Advisors: | รัศมน กัลยาศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานและสุขภาวะทางจิตของบุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยสารเสพติด รวมถึงปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความสุขในการทำงานของบุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยสารเสพติด กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยสารเสพติด ที่ทำงานในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จำนวน 230 คน โดยส่งแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 230 ฉบับ และได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์คืนเป็นจำนวน 193 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 83.91 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2563 ด้วยวิธีเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้าทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความสุขใจในการทำงาน และแบบประเมินสุขภาวะทางจิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Logistic Regression และใช้ Pearson’s Correlation Coefficient ในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าระดับความสุขในการทำงาน กับระดับสุขภาวะทางจิต ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความสุขในการทำงานอยู่ในระดับสูงร้อยละ55.8 ระดับปานกลางร้อยละ42.7 ระดับต่ำร้อยละ1.0 ระดับสูงมากร้อยละ 0.5 ค่าเฉลี่ยระดับความสุขในการทำงานเท่ากับ 3.55 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับสุขภาวะทางจิตอยู่ในระดับสูงร้อยละ52.3 ระดับปานกลางร้อยละ28.5 ระดับต่ำร้อยละ19.2 ค่าเฉลี่ยระดับสุขภาวะทางจิตเท่ากับ 73.31 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.23 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสุขในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05) ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ อายุงานที่น้อยกว่า 15 ปี ประเภทผู้ป่วยสารเสพติดที่มักจะบำบัดรักษา/ติดต่อด้วย อันได้แก่ การไม่ได้ดูแลผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดประเภท ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน,กัญชา และ ใบกระท่อมเป็นหลัก รวมถึงระดับสุขภาวะทางจิตที่สูง ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการให้คำแนะนำ การจัดกิจกรรมส่งเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยสารเสพติด หรือหาแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนความสุขของบุคลากรผู้ดูแลผู้ป่วยสารเสพติดอย่างเหมาะสมต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this descriptive study was to explore the level of work-related happiness, the level of general well-being, and factors related to work-related happiness among personnel in addiction management. A cross-sectional design was employed with participation of 230 personnel in addiction management, Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment. All of 230 personnel, 193 (83.9%) completed questionnaires. The data were collected from July to September 2020. A structured questionnaire was applied to ask about demographic information, work-related happiness, and general well-being. The data were analyzed by using descriptive statistics such as percentage, mean and standard deviation, Chi-square, Pearson’s correlation coefficient, Logistic Regression where appropriate. The result showed that most of personnel in addiction management, 55.8% were detected with high work-related happiness level, 42.7% were in moderate level, and only 0.5-1% were in the low and highest level. The average score of work-related happiness was 3.55 with standard deviation of 0.45. Among the participants, 52.3% were detected with high general well-being score, 28.5% were in moderate level, and 19.2% were in low level. The average score of general well-being was 73.31 with standard deviation of 14.23. Factors related to high level of work-related happiness with P < 0.05 was considered as significant difference included income sufficiency, years of service lower than 15 years, less work time related with patient with substance use disorders (opium, morphine, heroin / marijuana / mitragynine), and high general well-being score. Therefore, these results suggested the need for an action from related parties proactively to pay more attention in factors related to work-related happiness level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76375 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1252 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1252 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270252030.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.