Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76412
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุนิษา เลิศโตมรสกุล-
dc.contributor.authorกรวรรณ คำกรเกตุ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:35:40Z-
dc.date.available2021-09-21T06:35:40Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76412-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชน ผ่านโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อนำไปสู่ตัวอย่างรูปแบบและนโยบายที่เหมาะสมต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กและเยาวชนต่อโอกาสในการตกเป็นเหยื่อและเป็นผู้กระทำผิดในสังคมที่เหมาะสมกับประเทศไทยและแต่ละบริบทสังคมต่อไป การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 คน และการจัดสนทนากลุ่มย่อย ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนนั้น ต้องมีการสำรวจสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนก่อน ทั้ง 5 ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยทางด้านครอบครัว 3) ปัจจัยทางด้านกลุ่มเพื่อน /สถาบันการศึกษา 4) ปัจจัยทางด้านสังคม และ 5) ปัจจัยอื่น ๆ เพื่อกำหนดรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนให้มีวัคซีนทางสังคมต่อการป้องกันตนเองจากการตกเป็นเหยื่อ และการกระทำความผิดในสังคม โดยปัญหาและอุปสรรคจากกรณีศึกษาการดำเนินโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ ในปี พ.ศ. 2562 สามารถแบ่งปัญหาออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบาย และการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 2) ด้านวิธีการแก้ไข/เนื้อหา หรือกิจกรรม 3) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้แก้ไข 4) ด้านเด็กและเยาวชนผู้รับการแก้ไข 5) ด้านระยะเวลา และ 6) ปัญหาด้านอื่น ๆ ทั้งงบประมาณ การติดตามประเมินผล และสถานการณ์ Covid-19 ดังนั้น การนำเสนอนโยบาย และรูปแบบที่เหมาะสม โดยผู้ศึกษาวิเคราะห์และนำเสนอผ่านกระบวนการตามหลักของทฤษฎีระบบ (System Theory) การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ การวิเคราะห์และสำรวจสภาพปัญหา จากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนโดยใช้เครื่องมือในการประเมินเพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดกระบวนการ (Process) คือ แนวทาง/วิธีการ/โปรแกรม ที่จะนำไปสู่กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง และนำแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม ตามบริบทของสังคมไทยไปปฏิบัติที่เหมาะสม แบ่งเป็นหลักสูตรแกนกลาง และหลักสูตรเฉพาะด้าน ในแต่ละโรงเรียน จึงนำไปสู่ผลลัพธ์ (Output) คือ เด็กและเยาวชนมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง ไม่หันไปกระทำผิดในสังคมหรือตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสังคม โดยกระบวนการต่าง ๆ นั้น ดำเนินการผ่านการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้อัตราการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนลดลง และเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง จึงนำไปสู่แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคมที่เหมาะสมกับประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ-
dc.description.abstractalternativeThe study of Guideline for Building Immunity on Juvenile Against Crime Victimization and Juvenile Delinquency: A Case Study of The Foster Justice Project. To examine the problem and obstacle for building immunity on juveniles in The Foster Justice Project and to propose a model of appropriate forms and policies in guidelines for building immunity on juveniles against crime victimization and juvenile delinquency in Thailand society. The data are collected by the Qualitative research method, in-depth interview, and focus group with an in-depth interview of 25 samples and a focus group of 5 professionals. The study found that defining a guideline for building immunity on juvenile against crime victimization and juvenile delinquency, should survey five important elements: 1) Personal factors 2) Family factors 3) Educational institution factors 4) Social or Community factors and 5) Other factors for define model and appropriate methods to building immunity on juveniles. In the process of The Foster Justice Project in 2020 found that there are problems in 6 areas 1) Policy issues and implementation of policies 2) A method, content, or activity in solving a problem 3) Staff issues 4) Children and youth 5) Processing time 6) Other issues, including a budget, monitoring and evaluation, and the Covid-19 situations. Therefore, it leads to a proposed model of building immunity on juveniles. The researcher analyzes and presents the process according to system theory: Input factor analysis is to analyze and explore the problem of all factors related to children and youth using the assessment tool to be determined and process analysis. The process is a guideline/ method/ program that will lead to the process of developed guidelines for building immunity on juveniles against crime victimization and juvenile delinquency in Thai society, according to the main courses and specialized courses in each school. Leading to the Output, that is children and youth have good immunity in themselves. To be able to drive the policy for building immunity on juvenile against crime victimization and juvenile delinquency, which is suitable for Thailand effective.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1298-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กและเยาวชนต่อการป้องกันจากการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมและเป็นผู้กระทำผิดในสังคม: กรณีศึกษาโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์-
dc.title.alternativeGuidelines for building immunity on juvenile against crime victimization and juvenile delinquency: a case study of the foster justice school project-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.1298-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6181353624.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.