Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76476
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวงอร พัวพันสวัสดิ์-
dc.contributor.authorอนุวัตร จินตกสิกรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:36:27Z-
dc.date.available2021-09-21T06:36:27Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76476-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractสารนิพนธ์เรื่องนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่านโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 มีกระบวนการก่อตัวและพัฒนาการของการดำเนินนโยบายในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการระบุปัญหาและการก่อตัวของนโยบาย และแนวคิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไป เป็นแนวคิดหลักในการตอบคำถามวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการเก็บข้อมูลจาก 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบาย จำนวน 11 คน ผลการศึกษา พบว่า ที่มาของนโยบายเกิดขึ้นมาจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานทหารกับประชาชนในพื้นที่สงวนหวงห้ามของทหารจังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงปี พ.ศ. 2532 ที่นำไปสู่การชูประเด็นปัญหาการบุกรุกเข้าครอบครองที่ดินของรัฐเหนือปัญหาสิทธิในที่ดินของประชาชน และปัญหาการสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐโดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะ นอกจากนี้การเกิดขึ้นของกลไก กบร. ยังเป็นการดึงอำนาจการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของประชาชนจากกลไกรัฐอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิม มาอยู่ภายใต้กลไกของส่วนกลางที่ กบร. กำหนดขึ้น ในส่วนพลวัตของนโยบาย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของนโยบายมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับรายละเอียดของเนื้อหาและขั้นตอนการดำเนินนโยบาย โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับกระบวนทัศน์ของนโยบายอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับกลไกการพิสูจน์สิทธิในที่ดินซึ่งเป็นกลไกหลักของการแก้ไขปัญหา และเป็นกระบวนการที่มีปัญหาจำนวนมากในระดับปฏิบัติ ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายควรใช้โอกาสในการโอนย้ายหน่วยงานไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ทบทวนกระบวนทัศน์ในการดำเนินนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ที่ไม่ควรจำกัดอยู่แค่เพียงกระบวนการพิสูจน์สิทธิในที่ดินเท่านั้น รวมถึงควรปรับปรุงแก้ไขมาตรการและแนวทางในการดำเนินงานที่ยังมีปัญหาอุปสรรคและความล่าช้าอยู่ในปัจจุบัน ให้มีความชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากยิ่งขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to answer the question "How have policy formation and policy change process been occurred in the Policy on Preventing and Resolving the State-Property Land: Regulation of the Prime Minister Office on Resolutions for the Problem of Intrusion of State-Property Land, B.E. 2545 (2002) in each time period?" There are two main theories which are used to answer the research question which are Problem Identification and Policy Formation Theory, and Incrementalism Theory. This research is a qualitative research, and documentary research and in-depth interviews are used as research methods. The result of this research found that the policy was firstly developed from a conflict between a military sector and inhabitants who lived in the military reservation in Kanchanaburi province in B.E. 2532 (1989). According to the conflict, illegal occupancy of state-property land and the right of a state-property land without public use issues were raised and concerned. Besides, the emergence of committee of the state land management has given full authority of state land management to central government. In terms of the policy dynamics, it is ascertained that there are incremental changes in this land policy over the period and most of the changes are in policy content and policy implementation. Crucially, there is no change in the policy paradigm. Nonetheless, all the changes are quite not involved in the procedure of identifying the rights of the land ownership which is the main solution process, and it would be problematic in the practice. Thus, this research would suggest that government units which work on this policy should be transferred to the Office of the National Land Policy Board and the Policy on Preventing and Resolving the State-Property Land should not be only considered in the part of the procedure of identifying the rights of the land ownership. Also, obstacles and delays in work process should be amended for the higher standard of work.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.411-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการถือครองที่ดิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
dc.subjectการบุกรุก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
dc.subjectLand tenure -- Law and legislation-
dc.subjectTrespass -- Law and legislation-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleที่มาและพลวัตของนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545-
dc.title.alternativeThe origin and dynamic of policy on preventing and resolving the intrusion of state-property land: regulation of the prime minister office on resolutions for the problem of intrusion of state-property land, B.E. 2545 (2002)-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.411-
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280137724.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.