Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76597
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริอร เศรษฐมานิต-
dc.contributor.authorรัศมิมน โพธิ์ทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:48:26Z-
dc.date.available2021-09-21T06:48:26Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76597-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติ ที่ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตของบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันประสบกับปัญหาความล่าช้าในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ Small Outline Integrated Circuit (SOIC) โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่ประสิทธิภาพของเครื่องจักรไม่เต็ม 100% จึงส่งผลให้การตรวจสอบคุณภาพสินค้าใช้เวลามากกว่าที่ได้คำนวณไว้ ซึ่งปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องจักรนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนอุณหภูมิไปมาของเครื่องจักรจากการจัดตารางตรวจสอบคุณภาพที่ไม่เหมาะสม ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ 3 แนวทาง ได้แก่ การนำเทคนิคการจัดสมดุลสายการผลิตและการจัดตารางการผลิตมาประยุกต์ใช้ การนำทฤษฎีเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรมาปรับใช้ และการนำแนวทางทั้งสองมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อเพิ่มอัตราผลผลิต ลดรอบเวลาที่สินค้าอยู่ในกระบวนการ และเพิ่มค่าความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร หลังจากนั้นจึงสร้างแบบจำลองสถานการณ์เพื่อประเมินผลลัพธ์จากการปรับปรุงประสิทธิภาพ โดยผลการวิจัยพบว่า หลังจากปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการตรวจสอบคุณภาพด้วยวิธีการที่ผู้วิจัยได้เสนอนั้น สามารถเพิ่มอัตราผลผลิตได้ถึงสัปดาห์ละ 45.49% และลดรอบเวลาที่ชิ้นงานแต่ละล็อตอยู่ในระบบได้ถึง 15.06%-
dc.description.abstractalternativeThis research is an action research which study and proposes a method to improve the efficiency of a manufacturing process in a semiconductor company that is currently facing delays in the manufacturing of Small Outline Integrated Circuit (SOIC) product which is mainly caused of the machine are not 100% efficient so actual processing time is more than calculation. After investigating, it was found that the reason for low machine efficiency is caused by changing the temperature of machine between hot and cold due to inappropriate scheduling. Researcher proposed 3 approaches to improve efficiency of production line. The first approach is to apply production line balancing and production scheduling techniques to improve throughput and average cycle time. The second approach is to apply total productive maintenance to improve availability of machine. And the last approach is to apply first and second approach together, then evaluate the results by using simulation model. The results show that the proposed method helps to increase throughput by 45.49% per week and reduce cycle time by 15.06%-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.556-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectคุณภาพผลิตภัณฑ์-
dc.subjectเครื่องจักรกล -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม-
dc.subjectQuality of products-
dc.subjectMachinery -- Maintenance and repair-
dc.subject.classificationEconomics-
dc.titleการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดความล่าช้า กรณีศึกษา บริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์-
dc.title.alternativeProcess improvement to reduce delay in manufacturing: a case study of semiconductor company-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.556-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280057020.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.