Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7660
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา แก้วเทพ-
dc.contributor.authorรัตติกาล เจนจัด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialเชียงราย-
dc.date.accessioned2008-07-25T08:58:01Z-
dc.date.available2008-07-25T08:58:01Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741424744-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7660-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractศึกษาการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาของเล่นพื้นบ้าน จากผู้สูงอายุสู่เด็กและเยาวชนในท้องถิ่น และศึกษาการสื่อสารเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กและเยาวชนโดยผ่านของเล่นพื้นบ้าน โดยศึกษาจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุในกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ เด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ครู ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในฐานะผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญามีคุณลักษณะที่โดดเด่น เช่น เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องของเล่นพื้นบ้าน มีความสามารถในการถ่ายทอดภูมิปัญญา มีความพร้อมที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญา รักเด็ก และเข้าใจเด็ก เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ผู้รับสาร ได้แก่ เพศของผู้รับสาร วัยของผู้รับสาร ทักษะและความสามารถของผู้รับสาร และความสนใจของผู้รับสาร ส่วนกลยุทธ์ที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญา หลักๆ พบว่า เป็นการสาธิต เพื่อให้เด็กได้ทำตาม การสื่อสารในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ การสื่อสารสองทาง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการซักถาม การจัดกลุ่มที่เหมาะสม และการใช้ภาษาถิ่นทางด้านเนื้อหาเป็นเรื่องของ ความเป็นมาของของเล่น ประโยชน์ ความรู้เรื่องวัสดุและอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีทำและวิธีเล่น ช่องทางการสื่อสารและสื่อ แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1. ด้านพื้นที่ ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน และพิพิธภัณฑ์เล่นได้ 2. ด้านเวลา ได้แก่ ผ่านกิจกรรมงานวันเด็ก และการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน 3. สื่อ พบว่า มีสื่อกิจกรรมการเรียนการสอนของเล่นพื้นบ้านที่โรงเรียน และสื่อเชิงรุกผ่านกิจกรรมของเล่นเดินทาง และสุดท้าย เด็กในฐานะผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา พบว่า เด็กที่มีความสนใจที่จะรับการถ่ายทอดภูมิปัญญามีลักษณะโดดเด่น เช่น มีความสนใจ มีความชอบของเล่นพื้นบ้าน อยากทำของเล่นเป็น รวมทั้งเป็นคนช่างสังเกตและซักถาม ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุกับเด็กมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกันนั้น พบว่ามาจาก 1. การเป็นครอบครัวเดี่ยวของสังคมในปัจจุบัน 2. การที่เด็กต้องไปโรงเรียน 3. การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย 4. การที่เด็กต้องทำกิจกรรมอื่นๆ และ 5. การขาดพื้นที่สาธารณะที่จะทำให้ผู้สูงอายุและเด็กได้มาพบกัน กลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การเพิ่มช่องทางการสื่อสาร ประกอบไปด้วย 1. บ้าน 2. โรงเรียน 3. สนามเด็กเล่น 4. พิพิธภัณฑ์เล่นได้ 5. ลานวัด ส่วนสื่อกลางที่ใช้เชื่อมความสัมพันธ์ ได้แก่ ของเล่นพื้นบ้านและสื่อบุคคล นอกจากของเล่นพื้นบ้านจะเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ เพิ่มขึ้น คือ ผู้สูงอายุกับผู้สูงอายุ เด็กกับเด็ก ผู้สูงอายุกับครู และผู้สูงอายุกับคนในชุมชนen
dc.description.abstractalternativeTo study the communication for transferring local wisdom and building relationship between elders, children and youth through folk toys, by using sample groups of elders, children, youth, and related person such as teachers. The results showed that elders, as the source of wisdom, had outstanding intellectual attributes (e.g. knowledge in folk toys, ability and readiness to transfer wisdom, love and care children). Moreover, they are capable of analyzing the receivers' attributes, including genders, ages, skills, abilities, and interests. The strategies employed were demonstration, informal communication, two-way communication, proper grouping, and using dialect. The characteristics of contents used for communication are background of toys, usefulness, knowledge of materials and equipments (including how to make and play). The channels used were divided into 3 aspects. 1. Location (e.g. home, temple, school, museum) 2. Events (e.g. Children day, folk sport competition) 3. Mediums (e.g. teaching tools at schools, traveling-toys activities) Finally, we found that children, as the receiver of wisdom transfer that are interested in receiving wisdom has outstanding attributes (e.g. interest in folk toys, desire for building folk toys, observing and asking questions). The reasons causing distance between elders and children were 1. Single-family of modern society 2. School admission 3. Advance in technology 4. Other activities 5. Lack of public space to meet. The strategies to save the stated problems are communication channels (1. Home 2. School 3. Playground 4. Museum 5. Temple ground) and add medium to build their relationship (e.g. folk toys, personal communication). Besides, folk toys are also the medium to enhance relationship between elders and elders, children and children, elders and teachers, and elders and the community.en
dc.format.extent2594396 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectของเล่น -- ไทยen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทยen
dc.subjectครอบครัวen
dc.titleของเล่นพื้นบ้านในฐานะสื่อเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กและเยาวชน ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายen
dc.title.alternativeFolk toys as medium for the transmission of local wisdom and the relationship building between elders and children and youth, Pa Daet Sub-District, Mae Sruai District, Chiang Rai Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKanjana.Ka@chula.ac.th-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rattikan.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.