Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76698
Title: การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Development of art activity package to promote environmental conservation consciousness for upper secondary school students
Authors: ชลนิศา ชุติมาสนทิศ
Advisors: โสมฉาย บุญญานันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน -- โปรแกรมกิจกรรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา -- การศึกษาและการสอน -- โปรแกรมกิจกรรม
กิจกรรมการเรียนการสอน
Arts -- Study and teaching -- Activity programs
Environmental education -- Study and teaching -- Activity programs
Activity programs in education
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยแนวคิดสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือเครื่องมือพัฒนาชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และเครื่องมือประเมินคุณภาพชุดกิจกรรม ประกอบด้วย แบบวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยแนวคิดสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ศิลปะเป็นฐาน ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์และแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมตามลำดับของกระบวนการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้ (1) เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (2) เพื่อสร้างเจตคติที่ดีส่วนบุคคล (3) เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีให้เกิดขึ้นในส่วนรวม (4) เพื่อสร้างลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ (5) เพื่อเห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากร และ (6) เพื่อถ่ายทอดจิตสำนึกสู่คนรอบข้าง 2) ผลการวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (mean) เท่ากับ 4.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.367 3) ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับของชุดกิจกรรมศิลปะ อยู่ในระดับมากที่สุด
Other Abstract: The purpose of this study was to develop the Art Activity Package for upper secondary school students to promote environmental conservation consciousness through concept of Arts-based Environmental Education (AEE). Purposive sampling was utilized to select 30 students in the 10th grade from Rajini School in Bangkok for this study. The research tools are composed of two parts: 1) tools to develop the Art Activity Package; 2) Tools for evaluating the quality of the Art Activity Package, which include a student's environmental conservation consciousness form and an assessment form for student satisfaction with the Art Activity Package. Percentage, arithmetic mean, and standard deviation were used to analyze the data. According to the findings: 1) The Art Activity Package contains six activities (1) To raise awareness of the importance of environmental conservation. (2) To create a positive mental attitude (3) To establish positive values in the public. (4) to create desirable personality features (5) to see the value of using resources, and (6) to convey the consciousness 2) The student's environmental conservation consciousness assessment achieved a good result. The mean is 4.49 and the standard deviation (S.D.) is 0.367. 3) Very good level satisfaction with using the Art Activity Package in terms of the content, learning activities, and the benefits.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76698
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1211
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1211
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183319727.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.