Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76769
Title: แนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
Other Titles: guidelines for enhancing teachers to handle students learning based on connectivism theory in disruptive technology age
Authors: วนัชพร ถาวรสมสุข
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูที่มีประโยชน์และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนในปัจจุบัน 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมและการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครูที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 4) เพื่อจัดทำแนวทางการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์อิทธิพลการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ตัวอย่างวิจัยมีลักษณะข้อมูลเป็นแบบระดับสูงที่มีข้อมูล ในระดับล่างซ้อนอยู่ (nested) รวมจำนวนตัวอย่างในระดับครู 64 คน และระดับนักเรียน 1,157 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสำหรับครูและนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลด้วยโปรแกรม Process macro for SPSS ระยะที่ 2 การจัดทำแนวทางการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และปรับแก้ไขโดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ทุกตัวแปรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแยกตามสังกัด พบว่านักเรียนทั้ง 3 สังกัดโรงเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการทำแบบประเมินตามการรับรู้ของตัวอย่างวิจัย พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ครูมีการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่พบว่า ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ที่ต่ำกว่านักเรียน ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัด การเรียนรู้ได้ตามความต้องการของนักเรียนที่อยู่ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันได้ 3. ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล พบว่าการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.591 นอกจากนี้พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และ การปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.002 และ 0.081 ตามลำดับ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.021 4. แนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน คือ 1) ครูปรับเปลี่ยนกรอบคิดเรื่องการจัดการเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 2) ครูพัฒนาทักษะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ของตนเอง 3) ครูจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด 4) ครูปรับเปลี่ยนวิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนให้เหมาะสมกับยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 5) ครูจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการสืบค้นข้อมูล และการพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลให้กับนักเรียน 6) ครูจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการเชื่อมโยงให้กับนักเรียน 7) ผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนเรื่องความพร้อมของอุปกรณ์ให้กับครู 8) ผู้บริหารโรงเรียนปรับกฎระเบียบในการทำงานของครูให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับการออนไลน์มากขึ้น 9) ผู้บริหารโรงเรียนจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีให้ครู และ 10) ผู้บริหารโรงเรียนหรือครูจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนครู และสร้างกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Other Abstract: Students’ learning styles in the disruptive technology age have changed. To allow teachers to manage learning effectively, guidelines for enhancing teachers to handle students learning in disruptive technology age are needed. The objectives of this research were: 1) to analyze students’ learning behaviors in disruptive technology age; 2) to analyze learning management of teachers by connectivism theory and teachers’ technology practices; 3) to examine the effects of learning management of teachers by connectivism theory and teachers’ technology practices on students’ learning behaviors; and 4) to develop guidelines for enhancing teachers to handle students learning based on Connectivism theory in disruptive technology age. The research was divided into two phases. The first phase was to study and examine the effects of learning management of teachers by connectivism theory and teachers’ technology practices on students’ learning behaviors. The data samples were nested and the total samples were 64 teachers and 1,157 students. The data were collected by questionnaires for teachers and students then analyzed with descriptive statistics and path analysis by Process macro for SPSS. The second phase was to develop guidelines for enhancing teachers to handle students learning based on Connectivism theory in disruptive technology age by using results from phase 1 with interviewing 5 experts. Then improve the results by interviewing 3 experts. The results were as follows: 1. The results of studying students’ learning behavior found that students had learning behavior as a whole with a high level. When considering the objective variables, it was found that all objective variables had a high level. When considering the school groups, it was found that three school groups had no difference. 2. The results of analysis quantitative data from perception questionnaires of participants were students had learning behavior as a whole with a high level. Teachers’ learning management of teachers by connectivism theory as a whole with a high level. However, teachers’ technology practice as a whole had a high level which did not align with the qualitative data that teachers’ technology skills were lower than students. Hence, teachers were not able to use technology in teaching according to students’ needs in disruptive technology age.  3. The results of path analysis found that teachers’ technology practices had a significant direct effect from learning management of teachers by connectivism theory (B=0.591). Students’ learning behaviors had a not significant direct effect of learning management of teachers by connectivism theory (B=0.002) and teachers’ technology practices (B=0.081). It also had a not significant indirect effect from learning management of teachers by connectivism theory (B=0.021)  4. Guidelines for enhancing teachers to handle students learning based on Connectivism theory in disruptive technology age as follows: 1) Teachers change the mindset of learning management in disruptive technology age. 2) Teachers develop skills of using technology in work and learning management. 3) Teachers use a variety of learning styles to allow students to learn without their limits. 4) Teachers change the students’ learning assessments which are suitable in disruptive technology age. 5) Teachers teach students information retrieval and consider the reliability of the information skills. 6) Teachers teach students associative thinking skills. 7) School administrators support devices and equipment for teachers. 8) School administrators change teachers’ work rules and regulations to be more flexible for online. 9) School administrators organize workshops for teacher training about using technology. And 10) School administrators organize information exchange activities and create a professional learning community.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76769
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1061
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1061
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280130027.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.