Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76797
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี-
dc.contributor.authorนิติยา เนาวนัด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T07:06:49Z-
dc.date.available2021-09-21T07:06:49Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76797-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการขจัดของไหลตัดชิ้นงานชนิดเกิดอิมัลชันในน้ำจากน้ำหล่อเย็นโดยการดูดซับบนดินฟอก–ไคโตซาน (BEC) และเปรียบเทียบกับตัวดูดซับไคโตซานชนิดเม็ด (CB) ซึ่งการทดลองนี้จะศึกษาการดูดซับแบบกะ โดยตัวแปรที่ศึกษาในการทดลอง คือ ค่าความเป็นกรดด่างตั้งแต่ 3 ถึง 10 ความเข้มข้นน้ำมันเริ่มต้นของน้ำมันหล่อเย็นในของไหลตัดชิ้นงานที่ร้อยละ 0.75 โดยน้ำหนักต่อปริมาตรถึงร้อยละ 4 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร อุณหภูมิที่ใช้ในการดูดซับตั้งแต่ 30 องศาเซลเซียส ถึง 55 องศาเซลเซียส ปริมาณตัวดูดซับตั้งแต่ 0.2 กรัม ถึง 1กรัม และเวลาที่ใช้ในการดูดซับ ตั้งแต่ 15 นาที ถึง 360 นาที จากการทดลองพบว่าความสามารถในการดูดซับของไหลตัดชิ้นงานบนตัวดูดซับบนดินฟอก–ไคโตซานที่สัดส่วนดินฟอกต่อไคโตซานเท่ากับ 1 ต่อ 1 (BEC1:1) มีค่ามากกว่าตัวดูดซับไคโตซานชนิดเม็ด ซึ่งในงานวิจัยนี้ ตัวดูดซับดินฟอก-ไคโตซานที่สัดส่วนดินฟอกต่อไคโตซานเท่ากับ 1 ต่อ 1 มีความสามารถในการดูดซับของไหลตัดชิ้นงานสูงสุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4,587 มิลลิกรัมต่อกรัม ที่ค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 3 ความเข้มข้นน้ำมันเริ่มต้นของน้ำมันหล่อเย็นในของไหลตัดชิ้นงานเท่ากับร้อยละ 3 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และเวลาในการเข้าสู่สมดุลการดูดซับมีค่าประมาณ 310 นาที ณ อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จากผลการศึกษาค่ามุมสัมผัส พบว่าตัวดูดซับดินฟอก-ไคโตซาน มีความไม่ชอบน้ำสูง แบบจำลองสมดุลการดูดซับของตัวดูดซับไคโตซานชนิดเม็ด สอดคล้องกับแบบจำลองการดูดซับฟรุนดลิช ในขณะที่ตัวดูดซับดินฟอก-ไคโตซานที่สัดส่วนดินฟอกต่อไคโตซานเท่ากับ 1 ต่อ 1 สอดคล้องกับแบบจำลองการดูดซับของโกเบิลคอร์ริแกน จลนพลศาสตร์การดูดซับของตัวดูดซับไคโตซานชนิดเม็ด มีอัตราเร็วของปฏิกิริยาการดูดซับของไหลตัดชิ้นงานเป็นปฏิกิริยาอันดับสองเทียม ในขณะที่ตัวดูดซับดินฟอก-ไคโตซานที่สัดส่วนดินฟอกต่อไคโตซานเท่ากับ 1 ต่อ 1 สอดคล้องกับแบบจำลองของปฏิกิริยาอาฟลามี (Avrami)-
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this research was to study a removal of water emulsifiable cutting fluid from cooling water by adsorption on bleaching earth-chitosan (BEC), compared with chitosan bead (CB). The adsorption of cutting fluid on adsorbents were studied in a batch reactor. The factors investigated here were initial pH of cutting fluid from 3 to 10, initial cutting fluid content in the cooling water from 0.75% (w/v) to 4% (w/v), temperature from 30ºC to 55ºC, the adsorbent dosage from 0.2 g to 1 g, and contact-time from 15 min to 360 min. The cutting fluid adsorption capacity of adsorbent was reported in term of weight of adsorbed cutting fluid to weight of adsorbent (mg/g). From the experimental results, BEC has a greater adsorption capacity than that of CB. This result was found that 0.2 g BEC expressed higher adsorption capacity of 4,658 mg/g at initial pH 3 and 3 % (wt/v) of the initial cutting fluid content in the cooling water at 30 ºC. Contact time between cutting fluid and BEC was required at least 310 min. From the contact angle studies suggested that the BEC is high hydrophobic. For adsorption isotherm, the data was fitted well to the Freundlich isotherm for CB. Whereas the experimental data of BEC was correlated well with the Koble-Corrigan isotherm. The kinetic data were estimated by pseudo-first-order, pseudo-second-order and Avrami. For CB results were fitted well to a pseudo-second-order while BEC was fitted well to an Avrami kinetic. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationChemical Engineering-
dc.titleการขจัดของไหลตัดชิ้นงานชนิดเกิดอิมัลชันในน้ำจากน้ำหล่อเย็นโดยการดูดซับบนดินฟอก–ไคโตซาน-
dc.title.alternativeRemoval of water emulsifiable cutting fluid from cooling water by adsorption on bleaching earth-chitosan-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิค-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572019723.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.