Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76973
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี-
dc.contributor.authorศรุดา จันทร์โสภณพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T08:55:43Z-
dc.date.available2021-09-21T08:55:43Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76973-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractพลังงานไฮโดรเจนได้รับการคาดหมายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ในอนาคต ปฏิกิริยาเปลี่ยนรูปด้วยไอน้ำเป็นกระบวนการหลักในการผลิตแก๊สไฮโดรเจนในปัจจุบัน แต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการนี้ยังมีแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์เจือปนอยู่มาก ดังนั้นปฏิกิริยาออกซิเดชันแบบเลือกสรรเป็นปฏิกิริยาที่สำคัญในการลดความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์ในกระแสไฮโดรเจนเข้มข้น งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาของตัวรองรับซีเรีย ซึ่งเป็นตัวรองรับให้กับตัวเร่งปฏิกิริยาทองแดงออกไซด์ จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FE-SEM, XRD, N2 physisorption และ H2-TPR พบว่าตัวรองรับซีเรียที่สังเคราะห์ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 15 โมลาร์ ผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ให้ลักษณะสัณฐานแบบแท่งนาโน (nanorods) ส่งผลให้อนุภาคของทองแดงออกไซด์มีการกระจายตัวดีที่สุด จากนั้นนำไปศึกษาความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาโดยรายงานในรูปของค่าการเปลี่ยนของแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์และค่าการเลือกสรรของแก๊สออกซิเจน เมื่อเคลือบฝังทองแดงออกไซด์ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก บนตัวรองรับซีเรีย แสดงความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาสูงกว่าชนิดอื่น โดยมีค่าการเปลี่ยนของแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์และค่าการเลือกสรรของแก๊สออกซิเจนร้อยละ 96.2 และ 43.6 ที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส ตามลำดับ การเติมตัวสนับสนุนอะลูมิเนียมออกไซด์ร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก ส่งผลให้อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคทองแดงออกไซด์และพื้นผิวของตัวรองรับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีค่าการเปลี่ยนของแก๊สคาร์บอนมอนออกไซด์และค่าการเลือกสรรของแก๊สออกซิเจนที่ร้อยละ 100 และ 68.8 ที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส นอกจากนี้การมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในระบบส่งผลให้ตัวเร่งปฏิกิริยามีความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาลดลง -
dc.description.abstractalternativeHydrogen was projected to be a new energy resource in the future, recently steam reforming reaction was main process for hydrogen production. However, the hydrogen product obtained from this process was also highly contaminated with carbon monoxide. Therefore, the preferential oxidation of carbon monoxide was an important reaction to reduce the concentration of carbon monoxide in H2 rich stream. This research investigated the preparation parameters of CeO2 supports which affected the catalytic performance. The catalysts were characterized by FE-SEM, XRD, N2 physisorption and H2-TPR. The results implied that CeO2 supports which synthesized by 15M of NaOH solution and calcined at 400oC exhibited nano-rods structure, resulting in the best dispersion of CuO species on the supports. The catalytic activities were carried out by CO conversion and O2 selectivity. Loading 20 wt% of CuO to CeO2 supports showed CO conversion and O2 selectivity of 96.2% and 43.6% at 180oC, respectively. Adding 1 wt% of Al2O3 as promotor provided higher CO conversion of 100% at 200oC with 68.8% O2 selectivity due to the increase of the interaction between CuO species and surface of supports. Furthermore, the presence of CO2 and H2O in feedstock gas had negative effects on the catalytic performance.  -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttps://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.497-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationChemical Engineering-
dc.titleออกซิเดชันแบบเลือกสรรของคาร์บอนมอนอกไซด์ในกระแสไฮโดรเจนเข้มข้นบนตัวเร่งปฏิกิริยา Cu-Mn-Al-
dc.title.alternativeSelective co oxidation in h2-rich stream over Cu-Mn-Al catalysts-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิค-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.497-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6172068323.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.