Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77194
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ | - |
dc.contributor.author | กฤติญา สำราญศิลป์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-22T23:36:34Z | - |
dc.date.available | 2021-09-22T23:36:34Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77194 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | ชุมชนตามแนวชายฝั่งที่มีการอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นถือเป็นแหล่งกำเนิดหลักของมลพิษทางทะเลและชายฝั่ง โดยชุมชนจะปลดปล่อยน้ำเสียชุมชนลงสู่ทะเลโดยไม่มีการบำบัด นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลยังเพิ่มความรุนแรงของปัญหาน้ำเสียชุมชนได้ เช่น ในฤดูฝน ปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นทำให้ความเค็มน้ำทะเลลดลง พร้อมทั้งเกิดการเติมธาตุอาหารสู่ทะเลจากการชะหน้าดินจากน้ำท่า ส่งผลให้คุณภาพน้ำทะเลโดยรอบเสื่อมลง และนำไปสู่การเสื่อมโทรมในชุมชนปะการังโดยรอบแนวชายฝั่ง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาผลของความเค็มและไนเตรทต่อระดับสุขภาพปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ปะการังจาน (Turbinaria sp.) และปะการังโขด (Porites sp.) ที่ความเค็ม 15 20 25 และ 30 พีเอสยู ร่วมกับความเข้มข้น ไนเตรท 5 20 60 และ 100 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ทำการทดลองความเข้มข้นละ 3 ซ้ำ โดยประเมินสุขภาพของปะการังโดยใช้แผนภูมิปะการัง ความหนาแน่นสาหร่ายซูแซนเทลลีและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ และร้อยละการยืดโพลิป โดยปะการังจะที่มีร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมมากกว่าร้อยละ 50 จะสามารถคำนวณหาความเป็นพิษเฉียบพลันของไนเตรท หรือ LC50 ด้วยการวิเคราะห์แบบโพรบิทได้ ผลการศึกษาพบว่าที่ความเค็ม 15 พีเอสยู และที่ไนเตรท 100 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ส่งผลให้ปะการังมีความเสื่อมโทรมมากที่สุด ในทั้งปะการัง 3 ชนิด โดยที่สภาะวะดังกล่าว ปะการังเขากวางมี LC50 ของไนเตรท ที่เวลา 96 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 94.46 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ปะการังเขาโขดมี LC50 ที่เวลา 120 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 106.35 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร และปะการังจานมี LC50 ที่เวลา 144 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 116.55 ไมโครกรัมไนโตรเจนต่อลิตร นอกจากนั้นยังยืนยันการเพิ่มขึ้นของร้อยละการเสื่อมโทรมได้จากการเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นสาหร่าย ซูแซนเทลลีและปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ที่พบในตู้ทดลอง ผลการศึกษาคุณภาพน้ำทะเลรอบเกาะสีชัง ในปี 2559-2561 พบว่าอิทธิพลของฤดูฝนทำให้ความเค็มของน้ำทะเลและปริมาณออกซิเจนละลายลดลง และมีปริมาณไนเตรทเพิ่มสูงขึ้นโดยรอบเกาะสีชัง โดยเฉพาะในบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่นเช่น ท่าเทววงษ์ พบว่ามีคุณภาพน้ำทะเลต่ำที่สุด ซึ่งผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทะเลรอบเกาะสีชังและใช้ประกอบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบนเกาะสีชังได้ภายในอนาคต | - |
dc.description.abstractalternative | Crowed coastal communities are the largest source of marine and coastal pollution. Untreated domestic wastewater is discharged into the sea directly. Furthermore, seasonal changes increase the effect of domestic wastewater as the decreased salinity and excessive nutrient in seawater by run-off in the rainy season. This wastewater adversely causes a decline in seawater quality and coral health along the coastline. The objective of this study was to study the effect of salinity and nitrate on coral health levels in Acropora sp, Turbinaria sp. and Porites sp. by incubated under salinity vary in 15, 20, 25, and 30 psu and nitrate vary in 20, 60, and 100 µg-N/l with triplicate experiments. The evaluation of coral health levels, using by coral health chart, Zooxanthellae density, chlorophyll a, and polyp activity. The coral with mortality percentages higher than 50 would be inducted to calculate the acute toxicity test of nitrate or LC50 by using Probit analysis. The experimental result indicated that the 3 corals showed the maximum decreased health level at the condition of salinity at 15 psu and nitrate 100 µg-N/l. According to this condition, LC50 of Acropora sp. at 96 hrs was equal to 94.46 µg-N/l, LC50 of Turbinaria sp. at 144 hrs was equal to 106.35 µg-N/l, and LC50 of Porites sp. at 120 hrs was equal to 116.55 µg-N/l. Furthermore, an increase in mortality percentages was strongly confirmed by an increased Zooxanthellae density and chlorophyll a found in seawater. The findings of seawater quality around Sichang Island in 2016-2018 showed that the influence of the rainy season decreased salinity and dissolved oxygen and increased nitrate around Sichang Island. Remarkably, the crowded community as Thewawong Pier showed the lowest seawater quality. The findings in this study could provide a guideline of seawater quality around Sichang Island and support environmental management on Sichang Island. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1157 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | ผลของความเค็มและไนเตรทต่อระดับสุขภาพในปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ปะการังจาน (Turbinaria sp.) และปะการังโขด (Porites sp.) | - |
dc.title.alternative | The effects of salinity and nitrate on coral health levels in branching coral (Acropora sp.) disc coral (Turbinaria sp.) and massive coral (Porites sp.) | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.1157 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6170433321.pdf | 5.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.