Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77202
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิทิต ปานสุข | - |
dc.contributor.author | วิศรุต รุ้งเจริญกิติ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-22T23:36:38Z | - |
dc.date.available | 2021-09-22T23:36:38Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77202 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ได้ถูกนำมาใช้ในด้านการผลิตพลังงานหรือในกระบวนการทางอุตสาหกรรมหรือนำมาใช้รักษาในทางการแพทย์และอนามัย แต่ทว่าในการจะได้มาซึ่งพลังงานนิวเคลียร์นั้นจะต้องมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสีและมีปลดปล่อยพลังงานและอนุภาคต่างๆออกมา ซึ่งสิ่งที่ถูกปล่อยออกมานั้นส่งผลเสียกับสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมอีกทั้งยังใช้เวลานานกว่าจะสลายไปเอง ดังนั้นการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นที่ดีที่สุดคือการป้องกันการรั่วไหลของรังสีที่จะเกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่าคอนกรีตที่ใช้กำบังรังสีที่ดีมีคุณสมบัติคือมีความหนาแน่นสูงหรือที่เรียกว่าคอนกรีตมวลหนัก งานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันรังสีแกมม่าและนิวตรอน ซึ่งเมื่อได้พิจารณาจากแหล่งวัสดุภายในประเทศเพื่อหาแร่ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้แทนหินในการทำคอนกรีตมวลหนักพบว่า แร่แบไรต์ เป็นแร่ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านการจัดหาและคุณสมบัติในการนำมาใช้ทำคอนกรีตมวลหนัก จากนั้นจึงได้ทำการทดลองเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 25 สัดส่วนผสมเพื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของคอนกรีตมวลหนักกับค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสี จากการทดลองพบว่าความหนาแน่นของคอนกรีตมีความสัมพันธ์กับค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนของรังสีแกมมา โดยเมื่อความหนาแน่นของคอนกรีตมากขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาจะเพิ่มขึ้น และการมีเหล็กผสมในส่วนผสมคอนกรีตส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีนิวตรอนสูงกว่าในคอนกรีตที่ไม่มีเหล็กผสมอยู่ | - |
dc.description.abstractalternative | At present, nuclear energy is used for power generation or industrial processes or medical and sanitation purposes. However, to obtain nuclear energy, radioactive substances must be used which energies and particles are released. It is released that adversely affects living organisms and their environment which takes a long time to decompose. Therefore, the best protection against possible hazard is to prevent the occurrence of radiation leakage. From several previous research found that the concrete which used for radiation shielding has the property of high density or also known as heavy concrete. This research will focus on protection against gamma and neutron rays. When we are considering domestic material sources to find minerals that can be used as a substitute for aggregates in making heavy concrete. We find that barite is a suitable mineral for both procurement and properties for using in heavy concrete. We collect the data from 25 mixed proportions then we determine the relationship between the density of heavy-weight concrete and the gamma attenuation coefficient. The results showed that the density of the concrete influenced the gamma attenuation coefficient. When the density of the concrete increases, the gamma attenuation coefficient will be increased. The concrete with iron as mixture has more higher neutron attenuation coefficient than the concrete without iron as mixture. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1095 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | สัมประสิทธิ์การลดทอนรังสีแกมมาและนิวตรอนของคอนกรีตมวลหนักที่ใช้มวลรวมภายในประเทศ | - |
dc.title.alternative | Gamma and neutron attenuation of heavyweight concrete using aggregates in Thailand | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.1095 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6170487221.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.