Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77527
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กิติพงศ์ อัศตรกุล | - |
dc.contributor.author | ฐิติรัตน์ ศิริจันทร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-10-08T07:00:50Z | - |
dc.date.available | 2021-10-08T07:00:50Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77527 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเมล็ดมะเกี๋ยง (Cleistocalyx nervosum var. paniala) โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วย (ultrasound-assisted extraction, UAE) ซึ่งพิจารณาจากสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ (สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารฟลาโวนอยด์ ปริมาณฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2- diphenyl-1-picrylhydrazyl หรือ DPPH และ ferric-reducing antioxidant power หรือ FRAP) โดยออกแบบการทดลองแบบบ๊อกซ์-เบห์นเคน (Box-Behnken design, BBD) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้พื้นผิวตอบสนอง (response surface methodology, RSM) ประกอบกับการวิเคราะห์ฤทธิ์ในต้านจุลินทรีย์ด้วยการวิเคราะห์ค่า minimal inhibitory concentration (MIC) และ minimal bactericidal concentration (MBC) เพื่อนำมาประยุกต์ในน้ำส้ม โดยปัจจัยการสกัดที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยความเข้มข้นเอทานอล (50, 70 และ 90% v/v) เวลา (25, 35 และ 45 นาที) อุณหภูมิ (30, 50 และ 70 °C) และความเข้มของแอมพลิจูด (30, 40 และ 50%) และเตรียมตัวอย่างโดยใช้อัตราส่วนผงมะเกี๋ยงต่อเอทานอลเท่ากับ 1:5 (w/v) จากผลการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการสกัดคือ ความเข้มข้นเอทานอล 69% v/v เวลา 31 นาที อุณหภูมิ 52 °C และความเข้มของแอมพลิจูด 40% โดยสารสกัดจากเมล็ดมะเกี๋ยงที่ภาวะนี้มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและสารฟลาโวนอยด์เท่ากับ 552.93 mg GAE/100 g dry wt. และ 17.82 mg QCE/100 g dry wt. ตามลำดับ และมีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP เท่ากับ 1769.70 และ 2168.82 mM trolox/100 g dry wt. ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับการสกัดด้วยวิธีการหมัก (maceration, extraction, ME) พบว่าสารสกัดจาก UAE มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารสกัดจาก ME อย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) จึงเลือกสารสกัดจาก UAE มาใช้ในการศึกษาฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ โดยสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงจาก UAE มีค่า MIC และ MBC ของเชื้อ Staphylococcus aureus, Lactobacillus plantarum, Salmonella Typhimurium, Saccharomyces cerevisiae และ Escherichia coli อยู่ในช่วง 0.39-12.5 mg/mL และ 0.78- มากกว่า 100 mg/mL ตามลำดับ โดยสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงสามารถยับยั้ง S. aureus ได้ดีที่สุด เมื่อพิจารณาจากสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์การต้านจุลินทรีย์ของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงจาก UAE แล้วจึงเลือกใช้สารสกัดความเข้มข้น 1.56 และ 3.125 mg/mL ใส่ในน้ำส้ม โดยศึกษาผลของสารสกัดเมล็ดมะเกี๋ยงต่อสมบัติทางประสาทสัมผัส และผลต่อสมบัติทางเคมี กายภาพ และจุลินทรีย์ของน้ำส้มคั้นสดระหว่างการเก็บที่ 4 ºC เป็นเวลา 30 วัน โดยเปรียบเทียบกับ น้ำส้มพาสเจอไรซ์ (80 ºC 15 วินาที) เมื่อพิจารณาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระพบว่า น้ำส้มใส่สารสกัดความเข้มข้น 1.56 และ 3.125 mg/mL มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าน้ำส้มคั้นสดและน้ำส้มพาสเจอไรซ์ ตามลำดับ และน้ำส้มทุกตัวอย่างมี pH และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดลดลง แต่มีค่าความแตกต่างของสี (∆E*) เพิ่มขึ้น เมื่อระยะเวลาการเก็บเพิ่มขึ้น และเมื่อพิจารณาปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด ยีสต์และรา และแลกติกแบคทีเรีย พบว่าน้ำส้มคั้นสด น้ำส้มใส่สารสกัด 1.56 mg/mL น้ำส้มใส่สารสกัด 3.125 mg/mL และน้ำส้มพาสเจอไรซ์ มีอายุการเก็บ 3, 9, 21 และมากกว่า 30 วันตามลำดับ และผลการทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่า คะแนนความชอบด้านกลิ่นของน้ำส้มใส่สารสกัด 1.56 mg/mL มีคะแนน (6.31±0.92) มากกว่าน้ำส้มใส่สารสกัด 3.125 mg/mL (5.01±1.06) และน้ำส้มพาสเจอไรซ์ (4.80±1.93) แต่มีคะแนนน้อยกว่าน้ำส้มควบคุม (8.11±0.65 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) และคะแนนความชอบด้านสีของน้ำส้มใส่สารสกัดทั้งสองความเข้มข้น (1.56 และ 3.125 mg/mL) มีคะแนนความชอบด้านสี (5.10±1.42 และ 4.09±1.58 ตามลำดับ) น้อยกว่าน้ำส้มคั้นสด (7.73±0.82) และน้ำส้มพาสเจอไรซ์ (6.90±1.39) อย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) ในขณะที่น้ำส้มคั้นสดมีคะแนนความชอบโดยรวม (7.51±1.21) มากกว่าน้ำส้มใส่สารสกัดความเข้มข้น 1.56 และ 3.125 mg/mL (5.10±1.43 และ 3.73±1.38 ตามลำดับ) และน้ำส้มพาสเจอไรซ์ (5.43±1.87) อย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) จากการพิจารณาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ และสมบัติทางประสาทสัมผัสพบว่าสารสกัดมะเกี๋ยงสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกในการประยุกต์ใช้ในน้ำส้มคั้นสดได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to optimize the antioxidant properties (total phenolic compound, flavonoid content and antioxidant activity by 2,2- diphenyl-1-picrylhydrazyl or DPPH and ferric-reducing antioxidant power or FRAP assays) of Makiang (Cleistocalyx nervosum var. paniala) seed by using ultrasound-assisted extraction (UAE). A Box-Behnken design (BBD) and response surface methodology (RSM) were employed to optimize the extraction variables for antioxidant properties. Antimicrobial activities of Makiang seed extracts (minimal inhibitory concentration,MIC and minimal bactericidal concentration, MBC) were also evaluated for the application of Makiang seed extracts in fresh orange juice. Four independent variables including ethanol concentration (50, 70 and 90% v/v), extraction time (25, 35 and 45 min), extraction temperature (30, 50, 70 °C) and amplitude (30, 40 and 50%) were studied. Makiang seed extraction was performed with the solid-liquid (Makiang powder:ethanol) ratio of 1:5 (w/v). The optimum extraction conditions were as follows: ethanol concentration of 69% v/v, extraction time of 31 min, extraction temperature of 52 °C and amplitude of 40%, under the optimal conditions, total phenolic compound and flavonoid content were 552.93 mg GAE/100 g dry wt. and 17.82 mg QCE/100 g dry wt., respectively and antioxidant activities by DPPH and FRAP assays were 1769.70 and 2168.82 mM trolox/100 g dry wt., respectively. Moreover, this study was found antioxidant properties of extracts from UAE were significantly higher than those from maceration extraction (ME) (p≤0.05). Thus, the extracts from UAE were used to evaluate the antimicrobial activities and the results showed that extracts had MIC and MBC values of Staphylococcus aureus, Lactobacillus plantarum, Salmonella Typhimurium, Saccharomyces cerevisiae and Escherichia coli ranging from 0.39-12.5 mg/mL and 0.78 - more than 100 mg/mL, respectively. In this study S. aureus was the most sensitivity microorganism. When considering antioxidant properties and antimicrobial activities, the suitable extracts concentration for application in fresh orange juice were 1.56 and 3.125 mg/mL. and then study the effect of Makiang seed extracts on sensory properties and chemical, physical, and microbiological properties of fresh orange juice compared to pasteurized orange juice (80 ºC 15 second) during storage at 4 ºC for 30 days. The results showed that orange juice with extracts (1.56 and 3.125 mg/mL) had the higher antioxidant properties than fresh orange juice (control) and pasteurized orange juice. Antioxidant properties, pH and total soluble solid of all samples decreased with increasing storage time; however, ∆E* value of all samples increased with increasing storage time. When considering number of total bacteria, yeast and mold and lactic acid bacteria, shelf life of fresh orange juice, orange juice with extracts 1.56 and 3.125 mg/mL, and pasteurized orange juice were 3, 9, 21 and more than 30 days, respectively. According to sensory evaluation, odor score of orange juice with extract 1.56 mg/mL (6.31±0.92) was significantly higher than orange juice with extract 3.125 mg/mL (5.01±1.06) and pasteurized orange juice (4.80±1.93), but less than fresh orange juice (8.11±0.65) (p≤0.05). Moreover, color scores of orange juice with extract 1.56 and 3.125 mg/mL (5.10±1.42 and 4.09±1.58) were significantly less than fresh orange juice (7.73±0.82) and pasteurized orange juice (6.90±1.39) (p≤0.05). Overall score of fresh orange juice (7.51±1.21) was the highest score compared to other samples (p≤0.05). It can be concluded from this study that extracts could be used in fresh orange juice. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.81 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แอนติออกซิแดนท์ | - |
dc.subject | แอนโทไซยานินส์ | - |
dc.subject | สารสกัดจากพืช | - |
dc.subject | Antioxidants | - |
dc.subject | Anthocyanins | - |
dc.subject | Plant extracts | - |
dc.title | การสกัดเมล็ดมะเกี๋ยง Cleistocalyx nervosum var. paniala โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยและการประยุกต์ในน้ำส้ม | en_US |
dc.title.alternative | Ultrasound-assisted extraction of makiang Cleistocalyx nervosum var. paniala seeds and application in orange juice | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางอาหาร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.81 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5771965323.pdf | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.