Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77613
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจษฎ์ เกษตระทัต-
dc.contributor.advisorวรรณีย์ จิรอังกูรสกุล-
dc.contributor.authorทัศพร กาญจนเรขา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-14T06:43:14Z-
dc.date.available2021-10-14T06:43:14Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77613-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการจัดสรรทรัพยากรเป็นหนึ่งในความจำเป็นต่อการนำทรัพยากรมาใช้เพื่อการอยู่ร่วมกันของปลา เพื่อลดการแข่งขัน โดยมีอาหารและกิจกรรมการสืบพันธุ์เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการจัดสรรทรัพยากรในปลา ปลาแป้นจมูกสั้น Nuchequula gerreoides และปลาแป้นกระสวย Eubleekeria splendens เป็นชนิดปลาแป้นที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณปากแม่น้ำปราณบุรีจำนวนมาก การอยู่ร่วมกันของปลาแป้นทั้งสองชนิดอาจมีการแบ่งสรรทรัพยากรกันเกิดขึ้น เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีการใช้ทรัพยากรของปลาแป้นทั้งสองชนิด ในการศึกษาครั้งนี้ทำการเก็บตัวอย่างปลาแป้นทั้งสองชนิดในช่วงฤดูแล้ง (เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน) และช่วงฤดูฝน (เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน) พ.ศ. 2560 ด้วยการพิจารณาจากหลายวิธีการสำคัญทั้งลักษณะที่วัดได้ ชีววิทยาการสืบพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับการกระจายตัวของขนาดตัวปลา และอาหารในกระเพาะ เพื่อใช้สำหรับการประเมินการซ้อนทับของชีพพิสัยและการอยู่ร่วมกันของปลาแป้นทั้งสองชนิด ลักษณะที่วัดได้โดยรวมพบว่าปลาแป้นจมูกสั้นแตกต่างจากปลาแป้นกระสวยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้นความยาวเหยียดและความยาวมาตรฐาน โครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาแป้นทั้งสองชนิดพบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันทั้งสัณฐานวิทยาและมิญชวิทยา ปลาแป้นเพศเมียทั้งสองชนิดยังคงเป็นระยะวัยรุ่น เนื่องจากพบระยะยังไม่พัฒนาเซลล์สืบพันธุ์ (ระยะที่ 0) ในรังไข่ ในขณะที่ปลาแป้นเพศผู้ทั้งสองชนิดที่มีความยาวมาตรฐานน้อยกว่า 3.4 เซนติเมตร อยู่ในระยะวัยรุ่น และปลาแป้นเพศผู้ทั้งสองชนิดที่มีความยาวมาตรฐาน 3.4 เซนติเมตรขึ้นไป ประกอบด้วยระยะตัวเต็มวัย เนื่องจากมีการเจริญของอัณฑะในระยะที่ 1 ลักษณะที่วัดได้และระบบย่อยอาหาร พบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงระหว่างปลาแป้นทั้งสองชนิด ยกเว้นสัณฐานวิทยาของซี่กรองเหงือก และค่าสัมประสิทธิ์ของลำไส้ จากค่าสัมประสิทธิ์ของลำไส้มีค่าเท่ากับ 1.08±0.01 ของปลาแป้นจมูกสั้น และ 2.16±0.02 ของปลาแป้นกระสวย แสดงให้เห็นว่าปลาแป้นจมูกสั้นมีรูปแบบการกินอาหารแตกต่างจากปลาแป้นกระสวย ตามค่าดัชนีชี้วัดลำดับความสำคัญ [Index of Relative Importance (IRI)] อาหารภายในกระเพาะอาหาร พบว่าปลาแป้นทั้งสองชนิดกินแพลงก์ตอนสัตว์เป็นกลุ่มหลัก โดยเฉพาะกลุ่มของครัชตาเชียน เชื่อว่าการเลือกกินอาหารขึ้นอยู่กับฤดูกาล ตามขนาดตัว และความหนาแน่นของอาหารในธรรมชาติ เป็นไปตามหลักการของ optimal foraging theory การแบ่งสรรทรัพยากรระหว่างปลาแป้นจมูกสั้น และปลาแป้นกระสวยแสดงความแตกต่างระหว่างการเปลี่ยนรูปแบบการกินอาหารอย่างชัดเจน ชี้ให้เห็นว่ามีการซ้อนทับของชีพพิสัยและการอยู่ร่วมกัน ทั้งเรื่องการซ้อนทับกันของการกินอาหาร การแบ่งสรรทรัพยากรในรูปแบบของอาหาร เวลา และที่อยู่อาศัย จากการศึกษาครั้งนี้ไม่พบปลาแป้นทั้งสองชนิดในระยะวัยอ่อน โดยรวมแล้วการศึกษาในครั้งนี้สนับสนุนว่าปลาแป้นทั้งสองชนิดเป็นกลุ่มปลาทะเลอพยพมีการใช้ทรัพยากรในบริเวณปากแม่น้ำปราณบุรี สำหรับการเลี้ยงดูปลาระยะวัยรุ่นen_US
dc.description.abstractalternativeDescription of the resource partitioning (or niche differentiation) among fish is an essential part of substantial difference in a resources used for coexisting species for reducing competition. Food and reproductive activity are the most important factor concerning the resource partitioning among fishes. Decorated ponyfish (Nuchequula gerreoides) and splendid ponyfish (Eubleekeria splendens) are the two abundantly co-occurring leiognathid’s species in the Pranburi river estuary. The coexistence of these two species may promote resource partitioning. To examine this hypothesis, two important ponyfishes were collected from the Pranburi river estuary in this study. All fish specimens collection were carried out during dry (February to April) and rainy seasons (September to November) 2017. Several methods including morphometry, reproductive biology in relation to size distribution and stomach content analyses were compared to assess the extent of niche overlap and coexistence between fish species. Nuchequula gerreoides was significantly different (p<0.05), from Eubleekeria splendens in most morphometric traits with exception to total length and standard length. The analysis of the reproductive features of these fishes was shared between the morphology and histology. All female were classified juvenile due to the fact that only undeveloped stages (stage 0) were found in the ovary, while male below 3.4 cm is all juvenile individual and male above 3.4 cm only consists of mature individuals which were related to the early spermatogenic stage (stage 1). Measurable characteristics and digestive system, found that there are similarities between both ponyfishes except the gill raker and intestinal coefficient. Based on the intestinal coefficient of 1.08±0.01 (N. gerreiode) and 2.16±0.02 (E. splendens). N. gerroides occupied different feeding type from E. splendens. Based on IRI, The two species shared the main food items especially zooplankton (crustacean group). It was possible that the prey selection strategy might be relied on the season, the body size distribution and the food density in the natural environment. The feeding habit of the two species follows of the optimal foraging theory. Niche partitioning between N. gerroides and E. splendens were shown by seasonal shifts in relative importance of different components in diets. Niche overall indices suggested niches overlap and coexistence through diet partitioning, temporal partitioning and spatial partitioning. The larvae of these two ponyfishes do not found in this study. In short, these two fish species were marine migrant species which use the Pranburi river estuary as a nursery for juvenile fish.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1147-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนิเวศวิทยา-
dc.subjectปลา -- นิเวศวิทยา-
dc.subjectประชาคมปลา-
dc.subjectEcology-
dc.subjectFishes -- Ecology-
dc.subjectFish communities-
dc.titleนิเวศวิทยาการกินอาหารเชิงเปรียบเทียบระหว่างปลาแป้นจมูกสั้น Nuchequula gerreoides (Bleeker, 1851) และปลาแป้นกระสวย Eubleekeria splendens (Cuvier, 1829) จากปากแม่น้ำปราณบุรี ประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeComparative feeding ecology between Nuchequula gerreoides (Bleeker, 1851) and Eubleekeria splendens (Cuvier, 1829) from Pranburi river estuary, Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1147-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5871961923.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.