Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77912
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชิดพงศ์ ประดิษฐสุวรรณ-
dc.contributor.advisorสุเมธ ตันตระเธียร-
dc.contributor.authorเพ็ญวิภา บัลลังก์โพธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-11-30T06:44:00Z-
dc.date.available2021-11-30T06:44:00Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77912-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาภาวการณ์สกัดสารประกอบฟีนอลิกจากเมล็ดหว้า โดยการศึกษาอิทธิพลของตัวทำละลาย (น้ำกลั่น และเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 และ 95) ระยะเวลาสกัด (1 - 8 ชั่วโมง) และ อุณหภูมิที่ใช้สกัด (อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิ 45 และ 80 องศาเซลเซียส และการสกัดด้วยชุดสกัดชอกห์เล็ต) ที่มีต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ปริมาณสารสกัดแห้ง ความเข้มข้นของสาร ประกอบฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์ และฤทธิ์การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคของสารสกัดที่ได้ แบคทีเรียที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ Escherichia coli (E. coli) ATCC 25922 และ Salmonella Typhimurium (S. Typhimurium) ATCC 13311 ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมลบ และ Staphylococcus aureus (S. aureus) ATCC 25923 ซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวก ผลการทดลองที่ได้พบว่า สารสกัดจากเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 ให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ปริมาณสารสกัดแห้ง รวมถึงความเข้ม ข้นของสารประกอบฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่พบว่าระยะเวลาการสกัดที่แตกต่างกันำม่ทำให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดแตกค่างกันอย่างมีนัย สำคัญ เมื่อนำสารสกัดเมล็ดหว้าจากตัวทำอละลายต่าง ๆ ที่ทำการสกัดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย E. coli, S. Typhimurium และ S. aureus พบว่าสารสกัดจากเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 และ 95 สามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ดีกว่าสารสกัดจากน้ำกลั่น ดังนั้น จึงเลือกการสกัด ด้วยเอทานอลความเข้มข้นร้อยละ 50 เวลาสกัด 1 ชั่วโมง มาศึกษาอุณหภูมิที่ใช้สกัดต่อไป ซึ่งพบว่าการสกัดด้วยชุดสกัดชอกห์เล็ตให้ปริมาณสารประกอบฟีนอกลิกและสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด รวมถึงปริมาณสาร สกัดแห้งต่ำสุด แต่ให้ความเข้มข้นของสารประกอบฟีนอลิกและสารฟลาโวนอยด์สูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ อย่าง ไรก็ตาม พบว่าอุณหภูมิของสารสกัดไม่ส่งผลให้ความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียแตกต่างกัน ดังนั้น การ สกัดที่อุณหภูมิห้องจึงถูกเลือกเป็นอุณหภูมิสกัดที่เหมาะสม และเมื่อนำสารสกัดเมล็ดหว้าที่สกัดด้วยภาวะเหมาะสมดังกล่าวมาใช้ล้างโหระพาสดเพื่อลดจำนวนแบคทีเรีย พบว่าการแช่โหระพาสดด้วยสารสกัดเมล็ดหว้าที่ความเข้มข้นเท่ากับ 4 MBC (25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) เป็นเวลา 10 นาที สามารถลดจำนวนแบคทีเรียทั้งหมดและ E. coli ได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังลดจำนวน E. coli ให้มีปริมาณไม่เกินข้อกำหนด ด้านความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทย และจากการศึกษาอายุการเก็บรักษาสารสกัดเมล็ดหว้าในขวดสีชาปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง (27  2 องศาเซลเซียส) พบว่าหากต้องการให้สารสกัดเมล็ดหว้ายังคงมีฤทธิ์ด้านจุลินทรีย์ ระยะเวลาการเก็บรักษาไม่ควรนานเกินกว่า 3 เดือน-
dc.description.abstractalternativeThe conditions for extracting phenolic compounds from Jambolan seeds were studied Effects of the type of solvent (distilled water, and ethanol solution with the concentration of 50% and 95%), the extraction period (1 – 8 hours), and the extraction temperature (a room temperature, 45 and 80 degree Celsius and Soxhlet extractor) on the total phenolic and total flavonoid contents, yields, phenolic and flavonoid concentrations and the anti-pathogenic bacteria activities of the seed extracts were investigated. Escherichia coli (E. coli) ATCC 25922, salmonella Typhimurium (S. Typhimurium) ATCC 13311 and Staphylococcus aureus (S. aureus) ATCC 25923 were chosen as gram-negative bacteria and gram-positive bacteria for the tests, respectively. The seed extracts obtained from the 50% ethanol solution gave the highest amounts of total phenolic and flavonoid contents, yields and phenolic and flavonoid concentrations (p<0.05). However, the extraction period had an insignificant effect on the amount of total phenolic and flavonoid contents contained in the seed extracts. The seed extracts obtained from 1 hour extraction period using various kinds of solvents were tested for antibacterial activities against E. coli, S. Typhimurium and S. aureus. The results showed that the seed extracts that were extracted by 50% and 95% ethanol solution could inhibit the growth of bacteria better than those extracted from water. Therefore, the extraction using 50% ethanol solution with the extraction period of 1 hour was chosen to determine of the suitable extraction temperature. It was found that the Soxhlet extraction yielded the lowest total phenolic and flavonoid contents and yield in the seed extract, but gave the highest phenolic and flavonoid concentrations. The results also showed that the extraction temperature had a little effect on antibacterial activities of the seed extracts. Thus, the room temperature was chosen as washing agent to reduce bacterial contents on fresh sweet basil. By soaking sweet basil in the 4 MBC 25 mg/mL) seed extracts for 10 minutes, the total bacterial count (TBC) and E. coli was significantly decreased. Additionally, the remaining amounts of E. coli was within the acceptable range indicated in the safety requirements for agriculture commodity and food in Thailand. In order to maintain the antibacterial activities of the seed extracts, it was recommended that the seed extracts should be stored in a brown bottle tightly closed at a room temperature (27  2 degree Celsius) for the period of less than 3 months.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1948-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสารสกัดจากพืชen_US
dc.subjectสมุนไพรen_US
dc.subjectPlant extractsen_US
dc.subjectHerbsen_US
dc.titleประสิทธิภาพของสารสกัดเมล็ดหว้า Syzygium cumini (L.) Skeels ต่อการยับยั้งการเจริญของ Escherichia coli และ Salmonella spp. และการประยุกต์กับใบโหระพาen_US
dc.title.alternativeEfficiency of Jambolan Syzygium cumini (L.) Skeels seed extracts on growth inhibition of Escherichia coli and Salmonella spp.and its application with sweet basil leavesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางอาหารen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1948-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penvipa_ba_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.22 MBAdobe PDFView/Open
Penvipa_ba_ch1_p.pdfบทที่ 1669.68 kBAdobe PDFView/Open
Penvipa_ba_ch2_p.pdfบทที่ 21.73 MBAdobe PDFView/Open
Penvipa_ba_ch3_p.pdfบทที่ 31.28 MBAdobe PDFView/Open
Penvipa_ba_ch4_p.pdfบทที่ 41.92 MBAdobe PDFView/Open
Penvipa_ba_ch5_p.pdfบทที่ 5632.5 kBAdobe PDFView/Open
Penvipa_ba_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.