Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78044
Title: การพัฒนาสารเคลือบเชลแล็กเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาทุเรียนหมอนทอง และมะนาวแป้น
Other Titles: Development of shellac coating for extending shelf-life of durian (cv. monthong) and lime (CV. PAN)
Authors: ธำรงค์ อัมพรรัตน์
Advisors: โศรดา กนกพานนท์
อภิตา บุญศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: เชลแล็ก
ผลไม้ -- การเก็บและรักษา
Shellac
Fruit -- Preservation
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นรายงานการพัฒนาสารเคลือบเชลแล็กเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาทุเรียนหมอนทอง และมะนาวแป้น การเคลือบเปลือกทุเรียน 4 กลุ่มประกอบด้วย สารเคลือบสูตร Lab-a (15%เชลแล็กโดยน้ำหนัก) Lab-b (15% เชลแล็กโดยน้ำหนักมีส่วนผสมของสารเติมแต่ง) Teva (สารเคลือบทางการค้า) และกลุ่มควบคุม (ไม่ได้เคลือบ) เก็บรักษาที่สองอุณหภูมิคือ ที่อุณหภูมิห้อง (30±5 °C, ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 70±5) ผลทุเรียนที่ถูกเคลือบเปลือกด้วยสูตร Lab-a เก็บรักษาได้อย่างน้อย 10 วัน ได้รับการยอมรับคุณภาพจากผู้บริโภคไม่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ แต่สามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนักได้มากกว่า และมีค่าความแน่นเนื้อสูงกว่าเมื่อเทียบกับทุเรียนกลุ่มอื่นๆ ที่อุณหภูมิ 15±1 °C (ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 86±2) ผลทุเรียนที่เคลือบด้วย Lab-a เก็บรักษาได้อย่างน้อย 21 วันได้รับการยอมรับคุณภาพจากผู้บริโภคเทียบเท่ากับกลุ่มอื่นๆ แต่สามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนัก มีค่าของแข็งละลายน้ำได้ปริมาณต่ำที่สุดเทียบกับกลุ่มอื่นๆ สำหรับการทดลองเคลือบเปลือกมะนาวด้วยสารเคลือบสูตร Lab-a, Lab-c(10% เชลแล็กโดยน้ำหนัก), Teva และกลุ่มควบคุมแล้วเก็บรักษาที่สองสภาวะคือ อุณหภูมิห้อง (28±5 °C, ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 70±5) และอุณหภูมิ 10±1 °C (ความชื้นสัมพัทธ์ ร้อยละ 86±2) ผลมะนาวที่เคลือบเปลือกด้วย Lab-a ไม่มีการหลุดลอกของสารเคลือบขณะที่พบการหลุดลอกของสารเคลือบในผลมะนาวที่เคลือบด้วย Teva หลังจากเก็บรักษาเป็นเวลา 7 วัน โดยกลุ่มที่เคลือบเก็บแล้วรักษาอุณหภูมิห้อง มีอัตราการสูญเสียน้ำหนักต่อวันมากกว่าอุณหภูมิต่ำ การเคลือบสามารถชะลอการเกิดสีน้ำตาลแดง (browning) ที่เปลือกมะนาวได้ดีกว่ากลุ่มที่ควบคุม ผลมะนาวที่เคลือบด้วยสูตร Lab-a และ Teva สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักของผลมะนาวได้ดีพอๆกัน โดยผลมะนาวทั้งสองสูตรสามารถเก็บรักษาได้นานอย่างน้อย 15 วันที่อุณหภูมิห้อง และอย่างน้อย 56 วันที่อุณหภูมิ 10 °C นอกจากนี้ผลมะนาวกลุ่มที่เคลือบได้รับคะแนนลักษณะมันวาว สวยงามจากผู้บริโภคมากกว่ากลุ่มควบคุม เมื่อทดสอบสมบัติทางความร้อน และสมบัติทางกายภาพของฟิล์มสารเคลือบที่ใช้ในการทดสอบเคลือบผลไม้ที่เตรียมขึ้นในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีเชลแล็กเป็นองค์ประกอบหลัก 5-15% (โดยน้ำหนัก) พบค่าอุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้วระหว่าง 31.8-35.1 °C ความทนแรงดึงในช่วง 50.32-242.54 MPa การยืดตัว 2.73-5.83% และความสามารถในการแพร่ผ่านไอน้ำในช่วง 4.29-18.13 g-m/m2-s-Pa สารเคลือบทางการค้า (Teva) มีค่าอุณหภูมิเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้วเท่ากับ 59 °C แต่มีลักษณะเป็นฟิล์มแตก เปราะ ไม่ยืดหยุ่น
Other Abstract: Shellac based coating formulations were developed in order to extend the shelf-life of durian (cv. Monthong) and lime (cv. Pan). Durians treated with 3 waxes, Lab-a (15% wt shellac), Lab-b (15% wt shellac with additives), Teva (commercial formulation) and control (non-coating) groups were evaluated for their physical, chemical characterizations and eating qualities. Durians coated with Lab-a formulation kept acceptable qualities for at least 10 days at ambient temperature (30±5 °C, 70±5% relative humidity). Their acceptability from consumers were not differ from the other groups. However, they had the least weight loss and the highest pulp firmness. The fruits could be kept at this temperature for at least 10 days. Durians coated with Lab-a formulation and stored at 15 °C (86±2% relative humidity) could be kept at least 21 days. Their eating quality was not differ from the other treatments. However, they had the least weight loss and the lowest soluble solid contents. Limes were spray coated with Lab-a, Lab-c (10% wt shellac) and Teva before storing at ambient (28±5 °C, 70±5% relative humidity) and 10 °C (86±2% relative humidity). Teva coating film was found to flake off after 7 days of storage. Limes coated with all formulations had lower weight loss than those without coating. Coating delayed browning on the lime skin. Limes coated with Lab-a and Teva had the lowest weight loss. However, eating quality of all coated groups were not significantly different. Thermal and physical properties of shellac formulations (5-15% weight shellac) were statistically evaluated. Glass transition (Tg), tensile strength, % elongation and water permeability of the formulated films ranged from 31.8 to 35.1 °C, 50.32 to 242.54 MPa, 2.73 to 5.83% and 4.29 to 18.13 g-m/m2-s-Pa respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78044
ISBN: 9741761112
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4670332521.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.