Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิรีรัตน์ จารุจินดา-
dc.contributor.advisorวรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล-
dc.contributor.authorปิยะนันท์ สุเทียนทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-02-21T09:58:27Z-
dc.date.available2022-02-21T09:58:27Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78088-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตรึงไลเพสจากยีสต์ Candida Rugosa บนตัวค้ำจุนจากเส้นใยพืชเหลือใช้หลายชนิดเพื่อเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ไบโอดีเซล จากผลการตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยาและสมบัติการดูดความชื้นพบว่าเส้นใยจากต้นกกมีสมบัติที่เหมาะที่จะเป็นตัวค้ำจุน โดยเส้นใยกกมีรูพรุนจำนวนมาก มีขนาดที่สม่ำเสมอกระจายอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการดูดความชื้นต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 9.1 โดยเมื่อนำเส้นใยกกที่บดละเอียดขนาด 0.25 มิลลิเมตรไปตรีงไลเพสด้วยวิธีการตรึงที่แตกต่างกันคือการตรึงด้วยการดูดซับทางกายภาพโดยใช้เฮปเทนและบัฟเฟอร์เป็นตัวกลางและการตรึงด้วยพันธะโควาเลนต์โดยใช้1-เอทิล-3-(3- ไดเมทิลอะมิโนโพรพิล)คาร์โบไดอิไมด์ (อีดีซี) พบว่าการตรึงไลเพสด้วยการดูดซับทางกายภาพโดยใช้เฮปเทนเป็นตัวกลางและการตรึงด้วยพันธะโควาเลนต์โดยใช้ อีดีซี ให้ประสิทธิภาพการตรึงเอนไซม์ได้สูงถึงร้อยละ 93.4 และ 76.2 ตามลำดับ และค่าแอคติวิตีของไลเพสตรึงรูปด้วยการ ดูดซับทางกายภาพดังกล่าวลดลงเพียงร้อยละ11.2 ในขณะที่ของไลเพสตรึงรูปด้วยพันธะโควา-เลนต์ลดลงถึงร้อยละ 66.6 เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแอคติวิตีของไลเพสอิสระ หลังจากนั้นเมื่อนำ ไลเพสตรึงรูปไปทดสอบความสามารถในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทรานส์ -เอสเทอริฟิเคชันระหว่างน้ำมันปาล์มและเมทานอล พบว่าไลเพสตรึงบนกกบดละเอียดสามารถเร่งปฏิกิริยา ทรานส์เอส- เทอริฟิเคชันได้ปริมาณอัลคิลเอสเทอร์เท่ากับร้อยละ 19.3 ใกล้เคียงกับการใช้ไลเพสอิสระ และไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ แต่เมื่อนำไปเร่งปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส-เอสเทอริฟิเคชันโดยมีเมทานอลเป็นสับสเตรตก็พบว่าได้ปริมาณอัลคิลเอสเทอร์สูงขึ้นเท่ากับร้อยละ 48.8 ซึ่งสูงกว่าไลเพสอิสระเกือบ 2 เท่า และยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำอีก 1 ครั้ง และยิ่งกว่านั้นเมื่อเปลี่ยนสับสเตรตเป็น ไบโอเอทานอลพบว่าได้ปริมาณอัลคิลเอสเทอร์สูงขึ้นเท่ากับร้อยละ 51.3 และยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก 2 ครั้งen_US
dc.description.abstractalternativeThe aim of this research is to study the immobilization of lipase from Candida rugosa on various renewable natural biopolymer supports for biodiesel synthesis. From the results of morphology and moisture content, the plant fiber from Cyperus papyrus L. was found to be the most suitable material for immobilizing lipase because of its large quantity and regular appropriate size of porosity, and also its low moisture conten of 9.1%. The three different types of immobilization techniques used were physical adsorption using heptane and phosphate buffer as media and covalent bonding with 1-Ethyl-3-(3-dimethylaminopropyl)carbodiimide(EDC) for the pulverized Cyperus papyrus L. of 0.25 mm. Results show that the technique of physical adsorption using heptane as media and covalent bonding provided percentage of immobilization 93.4 and 76.2, respectively. The activity of immobilized lipase of physical adsorption using heptane as media was reduced only to 11.2%,whereas,its activity using technique of catalyse transesterification between palm oil and methanol with 19.3% conversion of covalent bonding was extremely reduced to 66.6% comparing to the activity of free lipase. The immobilized lipase on the pulverized Cyperus papyrus L.can catalyse transesterification between palm oil and methanol with 19.3% conversion of alkylester which was similar to the free lipase and can catalyse hydrolysis-esterification reaction between palm oil and methanol with 48.8% conversion of alkylester with 1 time reusable. However, this immobilized lipase can catalyse hydrolysis-esterification reaction between palm oil and bioethanol with 51.3% conversion of alkylester with 2 time reusable.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเส้นใยพืชen_US
dc.subjectไลเปสen_US
dc.subjectเชื้อเพลิงไบโอดีเซลen_US
dc.subjectPlant fibersen_US
dc.subjectLipaseen_US
dc.subjectBiodiesel fuelsen_US
dc.titleการผลิตตัวค้ำจุนไลเพสจากเส้นใยพืชเพื่อการสังเคราะห์ไบโอดีเซลen_US
dc.title.alternativeLipase supports production from plant fibers for biodiesel synthesisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4872593523_2550.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.