Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78469
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวีณา เชาวลิตวงศ์-
dc.contributor.advisorมาโนช โลหเตปานนท์-
dc.contributor.authorจุฑามาศ เมธีสุวกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-04-25T10:16:50Z-
dc.date.available2022-04-25T10:16:50Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78469-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractในปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ เป็นอุตสาหกรรมการบริการด้านการเดินทางที่สำคัญประเภทหนึ่ง ซึ่งมีจำนวนเงินลงทุนสูง และปัจจุบันมีผู้ที่ต้องการใช้บริการการเดินทางด้วยวิธีการนี้เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างสายการบินมากขึ้น โดยแต่ละสายการบินมีเป้าหมายเพื่อเกิดกำไรให้มากที่สุด การลดค่าใช้จ่าย จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นได้ จากการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับลูกเรือที่สูงเป็นอันดับที่สองรองจากค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายของเส้นทางการบินที่นำไปจัดตารางการทำงานของลูกเรือ เช่น จำนวนเงินเบี้ยเลี้ยงที่ต้องจ่ายให้กับลูกเรือในระหว่างที่ลูกเรือพักที่สนามบินอื่น ค่าโรงแรมที่ต้องจ่ายเป็นที่สำหรับพักผ่อนของลูกเรือ และค่าสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ผู้จัดตารางการบินของลูกเรือต้องเลือกเส้นทางการบินของลูกเรือให้เหมาะสม จากเส้นทางที่เป็นไปได้ทั้งหมดซึ่งมีจำนวนมาก ให้มีความสอดคล้องกับเงื่อนไขต่างๆ และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด โดยครอบคลุมเที่ยวบินทุกเที่ยวบิน ดังนั้นกระบวนการหาเส้นทางการบินของนักบินที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ สามารถหากลุ่มของเส้นทางการบินที่ดีมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทุกเที่ยวบินที่เปิดให้บริการ เป็นไปตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายและเวลาลงได้ จึงมีความสำคัญ ในงานวิจัยฉบับนี้ นำเสนอกระบวนการหาเส้นทางการบินของนักบิน โดยทำการหาเส้นทางการบินที่เป็นได้ทั้งหมด แล้วใช้วิธีการก่อกำเนิดสดมภ์ (Column Generation) เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาขนาดใหญ่ โดยใช้กำหนดการเชิงเส้นแบบจำนวนเต็ม (Integer Programming) ทำการแก้ปัญหาแบบครอบคลุม (Set Covering Problem) เพื่อหาเส้นทางการบินของนักบินที่ดีที่สุด ซึ่งผลการวิจัยพบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายของเส้นทางการบินทั้งหมดลงได้คิดเป็น 15.42% ซึ่งเป็นที่น่าพอใจทั้งในแง่ของเวลาที่ใช้ในการหาคำตอบ และคำตอบที่ได้ไม่ผิดไปจากเงื่อนไขที่กำหนดen_US
dc.description.abstractalternativeIn the present, Airline Industry is one of transportation services which involves with a lot of investment and become the most important choice to travel and highly competitive global market. Each airline has the objective of maximize the best profit. Crew expense is the second largest cost component, second only the fuel expense. The crew expense is result of crew pairing which will assign to each crew such as the per diem for crew when stay at other country, the hotel cost and facilities which provide to each crew. Scheduling planner must select crew pairings of a lot of possible pairings which follow the regulations to have the minimum cost and cover all flights. So the crew pairing optimizations program to make the decision to find the optimal crew pairings that follow the regulations, cover all flights and reduces total cost of crew scheduling is importance. We introduce new algorithm for solve this problem. By enumerate all possible pairings and solve set covering integer programming problem with column generation technique. The result of this algorithm found that total cost of crew pairings is decreased by 15.42% and impressive compute time and no infeasible solutionen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2158-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบินen_US
dc.subjectAeronauticsen_US
dc.titleการหาเส้นทางการบินของนักบินที่ดีที่สุดen_US
dc.title.alternativePilot crew pairing optimizationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.2158-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4870260121_2549.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.