Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78599
Title: การปรับปรุงโครงเลี้ยงเซลล์ชั้นผิวหนังแท้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ไครโอปรีซิพิเตท, พลาสมา และเกล็ดเลือดเข้มข้นของมนุษย์ เพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อผิวหนัง
Other Titles: Modification of scaffolds by human cryoprecipitate, plasma and concentrated platelet for skin tissue engineering
Authors: ดวงฤดี อรุณเลิศรัศมี
Advisors: โศรดา กนกพานนท์
ถนอม บรรณประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ผิวหนัง
เนื้อเยื่อ
วิศวกรรมเนื้อเยื่อ
Skin
Tissues
Tissue engineering
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การกระตุ้นการเกิดใหม่ของเนื้อเยื่อจำเป็นต้องโกรสแฟคเตอร์ (Growth factor) ในการเหนี่ยวนำให้เซลล์ย้ายที่เข้าสู่บริเวณที่มีการสูญเสียเนื้อเยื่อ เนื่องจากโกรสแฟคเตอร์บริสุทธิ์มีราคาสูง จึงทำให้เกิดความสนใจในการใช้โปรตีนและไซโตคายน์ที่มีอยู่ในเซลล์และองค์ประกอบของเลือด ในงานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงคุณภาพของโครงเลี้ยงเซลล์โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากเลือดมนุษย์ 3 ชนิด ได้แก่ไครโอปรีซิพิเตท (Cryoprecipitate) พลาสมา (Plasma) และเกล็ดเลือดเข้มข้น (Concentrated platelet) โครงเลี้ยงเซลล์ที่ใช้ในการทดลองเตรียมโดยกระบวนการทำแห้งด้วยความเย็นของสารละลายผสมระหว่างผลิตภัณฑ์จากเลือดมนุษย์และสารละลายคอลลาเจน-ไคโตซานที่มีอัตราส่วน 70:30 (กลุ่มควบคุม) โดยที่โครงเลี้ยงเซลล์ที่ถูกปรับปรุงด้วยผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีความเข้มข้นของโปรตีนรวมจากสารปรับปรุงแตกต่างกัน 3 ค่า โครงเลี้ยงเซลล์ถูกเชื่อมโยงพันธะด้วยความร้อนภายใต้สภาวะสุญญากาศ (Dehydrothermal crosslink) จากการทดสอบลักษณะสมบัติทางกายภาพและทางกลพบว่า โครงเลี้ยงเซลล์ที่เติมสารปรับปรุงมีขนาดของรูพรุนอยู่ในช่วง 50-225 ไมโครเมตร ความเชื่อมต่อระหว่างรูพรุนเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของโปรตีนรวมที่สูงขึ้น โครงเลี้ยงเซลล์สามารถรับแรงกดทั้งในสภาวะเปียกและแห้งได้เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของโปรตีนที่ใช้ปรับปรุงในขณะที่เปอร์เซ็นต์การยืดตัวของโครงเลี้ยงเซลล์ลดลง โครงเลี้ยงเซลล์สามารถรับแรงดึงได้แตกต่างกันขึ้นกับชนิดและปริมาณความเข้มข้นของโปรตีนจากสารปรับปรุง ในการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพด้วยการทดสอบการเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ (Detroit 551) พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ที่เติมสารปรับปรุงสามารถกระตุ้นการยึดเกาะและการเพิ่มจำนวนได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่ากลุ่มควบคุม ผลดังกล่าวสามารถยืนยันได้ในการเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังหนู (L929) บนโครงเลี้ยงเซลล์คอลลาเจน-ไคโตซานและเจลาติน-ไคโตซาน และแผ่นใยโพลีโพรพิลีนไม่สานทอ (non woven polypropylene fabric, PP fabric) ที่ถูกปรับปรุงด้วยสารละลายผสมระหว่างคอลลาเจน-ไคโตซานและผลิตภัณฑ์จากเลือดมนุษย์มีประสิทธิภาพในการเหนี่ยวนำให้เซลล์ยึดเกาะและเพิ่มจำนวนบนแผ่นใยได้มากกว่าแผ่นใยที่เคลือบด้วยสารละลายคอลลาเจน-ไคโตซานเพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นในการทดลองปลูกถ่ายโครงเลี้ยงเซลล์คอลลาเจน-ไคโตซานลงในหนูทดลองพบว่า โครงเลี้ยงเซลล์ที่เติมสารปรับปรุงสามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์ย้ายที่เข้าสู่โครงเลี้ยงเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างชัดเจน และสามารถสังเกตเห็นการเกิดใหม่ของเส้นเลือดและคอลลาเจนขึ้นภายในโครงเลี้ยงเซลล์ โดยที่โครงเลี้ยงเซลล์ที่เติมเกล็ดเลือดเข้มข้นที่มีความเข้มข้นของโปรตีนของสารปรับปรุงเป็น 10.04% โดยน้ำหนัก มีความเหมาะสมที่สุดในการเหนี่ยวนำให้เซลล์ย้ายที่เข้าสู่โครงเลี้ยงเซลล์ ผลการทดลองเหล่านี้แสดงถึงความเป็นไปได้อย่างยิ่งในการใช้ผลิตภัณฑ์จากเลือดมนุษย์เพื่อปรับปรุงคุณภาพของโครงเลี้ยงเซลล์เพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อผิวหนัง
Other Abstract: New tissue formation needs growth factors to produce cell migration into the defect areas. Due to the cost of purified growth factors, we interest in using the proteins and cytokines present in cells and blood components. The aim of this study is using product derived from human blood component to modify tissue engineering scaffolds. Modified porous scaffolds were fabricated by freeze drying mixed solution of collagen/chitosan (70/30) with human cryoprecipitate, plasma or concentrated platelet followed by the crosslink process using dehydrothermal treatment (DHT). Series of scaffolds were prepared using these three human blood products at three different protein concentrations. The modified scaffolds had pore size in the range of 50-225 mm. With the increasing blood protein contents, the pore’s interconnectivity and the scaffold’s compressive modulus increased, however, their percent of elongation decreased. Their tensile strengths depend on types and concentrations of blood product, although swelling properties of modified scaffolds were not differ from control. Results from the in vitro culture of human dermal fibroblast cell line (Detroit 551) showed the scaffolds promoted cell initial attachment and proliferation. These effects were confirmed by other two in vitro tests, the L929 mouse fibroblast cultured on collagen/chitosan or gelatin/chitosan (70/30) scaffolds and on non-woven polypropylene fabrics (PP) coated with blending solutions of collagen/chitosan and human blood products. Results from the scaffolds implanted subcutaneously on wistar rats showed the scaffolds modified with concentrated platelet, contained 10.04% (wt/wt) protein from concentrated platelet, was most suitable for cell migration, neovascularization, and neocollagen production at the implanted sites. The results elucidated that human blood component products had high potential for applications in skin tissue engineering.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78599
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4870297421_2549.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)5.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.