Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78759
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์-
dc.contributor.authorวิทวัส เอี่ยมมาลีรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-11T07:17:51Z-
dc.date.available2022-06-11T07:17:51Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78759-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractธุรกิจต้องการต้นทุนที่ถูกต้องในการตัดสินใจที่จะเข้าสู่ตลาดใหม่เพื่อเพิ่มผลประกอบการภายใต้สภาวะการแข่งขันสูงซึ่งกิจการต้องการทราบต้นทุนแท้จริงของกระจก T4 เพื่อตัดสินใจว่าสามารถทำกำไรจากการเข้าตลาดชิ้นส่วนอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นตลาดใหม่ที่มีขนาดใหญ่หรือไม่ หรือเลือกส่งเสริมการขายกระจก T10 เพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งของกิจการ ทั้งนี้กิจการมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณการลงทุนใหม่ กิจการจึงต้องเลือกตัดสินใจโดยพื้นฐานของกำลังการผลิตที่เหลืออยู่มาก แต่ระบบการคำนวณต้นทุนปัจจุบันไม่สามารถให้ต้นทุนที่ถูกต้อง ของแต่ละผลิตภัณฑ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงความถูกต้องของการคำนวณต้นทุนกระบวนการการผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยการประยุกต์ระบบบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity Based Costing) ในการปรับปรุงระบบการคำนวณต้นทุนปัจจุบันที่ใช้วิธีการเฉลี่ยต้นทุนกระบวนการผลิตทั้งหมดด้วยปริมาณการผลิตรวมของทุกผลิตภัณฑ์ เพราะต้นทุนที่ได้ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยการวิจัยจะแบ่งกลุ่มต้นทุนตามกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรของกิจการพร้อมกับวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน (Cost Driver) หรือปัจจัยที่ทำให้เกิดต้นทุนของกิจกรรมนั้นๆ โดยแบ่งส่วนผลิต เป็น 5 กิจกรรม คือ ตัดกระจก, ฝนขอบ, เจาะรู, อบกระจก และ อบโซคกระจก และแบ่งส่วนสนันสนุนการผลิตเป็น 4 หน่วยงาน คือ ซ่อมบำรุงและวิศวกรรม, วางแผนการผลิต, ประกันคุณภาพ และจัดซื้อ แล้วจึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวผลักดันต้นทุน (Cost Driver) ของแต่ละกิจกรรมเพื่อนำมาคำนวณต้นทุนที่แท้จริงของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยนำมาเปรียบเทียบกับต้นทุนที่ได้จากระบบปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความก้าวหน้าทางการแข่งขันโดยการปรับปรุงกิจกรรมให้มีต้นทุนกิจกรรมที่เหมาะสมและปรับแผนการส่งเสริมการขายของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริง จากการคำนวณตามระบบบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity Based Costing) ได้ต้นทุนกระจก T4 ที่แท้จริงสูงขึ้นกว่าเดิม 700 บาทต่อหน่วยผลิตซึ่งมากกว่าราคาขายของตลาดใหม่โดยจะขาดทุนเพิ่ม 476 บาทต่อทุกๆ หน่วยผลิตที่ขายเพิ่ม กิจการจึงตัดสินใจส่งเสริมการขายกระจก T10 ที่ต้นทุนแท้จริงต่ำกว่าเดิม 135บาทต่อหน่วย จึงสามารถเพิ่มกำไรให้กับกิจการได้มากกว่ากระจก T4en_US
dc.description.abstractalternativeCompany needs the high accurate cost for business decision, as new market entry, in order to increase operating performance under high competition. Company need actual cost of T4 for profit analysis whether company should enter to Electronic-appliance industrial part market, as large new market or not. Otherwise company has to promote T10 as taking market share from other competitior. Besides company have the budget limitation for new investment and it need to utilize the huge remain capacity. However the current cost calculation could not provide the accurate cost by product. This research objective is the “process-cost calculation” accurate improvement of Tempered glass because business strategic decision needs this crucial information. The current cost-calculation method average all process cost to each product equally so it could not reflect actual cost from each product’ resource utilization. “Activity Based Costing” concept (ABC) will be applied to clearly separete the actual cost of each product. This research separate cost group by main activity that utilize business resource then analyze each activity’s Cost Driver. The production activities are separated into 5 groups (Cutting, Edging, Drilling, Temper and Heat Soak Test) while 4 production-support units are Eng & Maint, Planning, QA and Purchase. Cost Driver data of each activity is gathered to calculate each product actual cost then comparing with current cost calculation method to increase the advance competitiveness, suitable cost, by activity improvement. Hence sales promotion of each product will be adjusted based on each product’s profitability The T4 actual cost, calculated from “Activity Based Costing” concept (ABC), is higher than current cost around 700 Baht/ unit and also higher than the new-market price, resulting to additional loss 476 Baht / additional-sales unit. Company finally decided to promote the T10 as its actual cost is lower than current cost around 135 Baht/ unit so its profitability is higher than T4en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบัญชีต้นทุนกิจกรรมen_US
dc.subjectActivity-based costingen_US
dc.titleการจัดทำระบบบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม กรณีศึกษาโรงงานผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์en_US
dc.title.alternativeActivity based costing : a case study of temper glass factoryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4971516121_2551.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.