Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78810
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี-
dc.contributor.authorพันธ์ทิพา โห้ใย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2022-06-15T08:08:24Z-
dc.date.available2022-06-15T08:08:24Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78810-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำจัดน้ำมันหล่อเย็นโดยการดูดซับบนตัวดูดซับที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ตัวดูดซับที่เลือกใช้ในงานวิจัยนี้ทำมาจากเปลือกกุ้งซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมการผลิตกุ้งแช่แข็ง เรียกว่า ไคโตซาน และไคโตซานดัดแปร รวมทั้งหมด 3 ชนิด คือ 1.ไคโตซานบีด (C) 2.ไคโตซานผสมโซเดียมลอริลซัลเฟต (CS) 3.ไคโตซานผสมแมกนีเซียมเปอร์คลอเรต และโซเดียมลอริลซัลเฟต (CSM) งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของตัวแปรต่างๆ ที่มีต่อความสามารถในการดูดซับน้ำมันหล่อเย็นบนตัวดูดซับต่างๆ ได้แก่ เวลาที่ใช้ในการดูดซับ ค่าพีเอช ความเข้มข้นเริ่มต้นของน้ำมันหล่อเย็น น้ำหนักของตัวดูดซับ ชนิดของตัวดูดซับ และอุณหภูมิที่ใช้ในการดูดซับ โดยการทดลองจะเป็นการดูดซับแบบกะ จากผลการทดลองพบว่า ความสามารถในการดูดซับน้ำมันหล่อเย็นบนตัวดูดซับต่างๆ เรียงตามลำดับดังนี้ CSM มากกว่า CS มากกว่า C เวลาที่เหมาะสมในการดูดซับน้ำมันหล่อเย็นจะแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของตัวดูดซับ และความเข้มข้นเริ่มต้นของน้ำมันหล่อเย็น ตัวดูดซับทุกชนิดจะให้ผลการดูดซับน้ำมันหล่อเย็นในภาวะกรดได้สูงกว่าที่ภาวะกลางและสูงกว่าที่ภาวะด่าง ตามลำดับ ความสามารถในการดูดซับน้ำมันหล่อเย็นยังขึ้นกับความเข้มข้นเริ่มต้นของน้ำมันหล่อเย็น และน้ำหนักของตัวดูดซับ จากผลของอุณหภูมิทำให้ทราบว่า กระบวนการดูดซับน้ำมันหล่อเย็นบนตัวดูดซับ C, CS และ CSM เป็นกระบวนการดูดความร้อน นอกจากนี้ยังพบว่าไอโซเทิร์มของการดูดซับบนตัวดูดซับ C และ CS สอดคล้องกับไอโซเทิร์มแบบแลงเมียร์ ส่วนไอโซเทิร์มของการดูดซับบนตัวดูดซับ CSM สอดคล้องกับไอโซเทิร์มแบบฟรุนดลิช จากผลของเทอร์โมไดนามิกส์ ทำให้ทราบว่ากระบวนการดูดซับนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เอง เนื่องจากพลังงานกิบส์ของตัวดูดซับทั้ง 3 ชนิดมีค่าเป็นลบ ผลจากการวิเคราะห์ลักษณะของตัวดูดซับต่างสนับสนุนผลการทดลองen_US
dc.description.abstractalternativeThis aim of this research is to study an adsorption of cutting oil on biodegradable adsorbent. The adsorbent used in the work was made from a crustacean shell and called chitosan and modified chitosan. The adsorbents are chitosan bead (C), SDS-modified chitosan (CS), and SDS-Mg(ClO4)2- modified chitosan (CSM). Various parameters, which have an effect on adsorption capacity of cutting oil on adsorbents, were studied here. The parameters are contact time, pH, the initial concentration of cutting oil, dosage of adsorbent, kinds of adsorbent and temperature. All experiments were carried out in series of batch adsorption. The results show that the adsorption capacity of cutting oil on CSM is higher than CS and C, respectively. Equilibrium time is varied with kinds of adsorbents initial concentration of cutting oil. More amount of cutting oil can be adsorbed when the condition is in acidic. Initial concentration of cutting oil and dosage of adsorbent have an effect on adsorption capacity. Adsorption of cutting oil on C, CS, and CSM is an endothermic adsorption. Adsorption isoterm of C and CS fit very well with the Langmuir model while the adsorption isoterm of CSM fit very well with the Freundlich model. The result of thermodynamic elucidates that the adsorption process is spontaneous. The characteristic results also support the experimental results.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไคโตแซนen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดน้ำมันen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพen_US
dc.subjectChitosanen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Oil removalen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Biological treatmenten_US
dc.titleการประยุกต์ใช้ไคโตซานและไคโตซานดัดแปรในการดูดซับน้ำมันหล่อเย็นจากน้ำเสียen_US
dc.title.alternativeApplication of chitosan and modified chitosan in adsorption of cutting oil from wastewateren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4989144420_2551.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.